ภายหลังที่ประเทศจีนชูนโยบายใช้รถไฟและเรือเป็นโมเดลขยายการขนส่งสินค้าไปยังอาเซียน ผ่านเส้นทางขนส่งสินค้าทางบกและทางทะเลสายใหม่ (New International Land-Sea Trade Corridor- ILSTC) ซึ่งร่วมสร้างโดยมณฑลในภูมิภาคจีนตะวันตกและสิงคโปร์ โดยจะเชื่อมโยงประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์เข้าไปด้วยนั้น เส้นทางขนส่งสินค้าเส้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของระเบียงการค้าระหว่างประเทศทางบกและทางทะเลแห่งใหม่ (New International Land-Sea Trade Corridor) ภายใต้กรอบแผนงานริเริ่มการเชื่อมต่อเชิงยุทธศาสตร์จีน-สิงคโปร์ (ฉงชิ่ง) (中新 (重庆) 战略性互联互通示范项目) โดยผลักดันให้นครฉงชิ่งเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าและใช้ท่าเรือในเขตฯ กว่างซีจ้วงเป็นประตูสู่ท่าเรือทั่วโลก
[su_spacer]
โดยเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2562 มณฑลส่านซีได้ลงนามข้อตกลงร่วมเป็นสมาชิกรายที่ 9 หลังจากที่นครฉงชิ่ง เขตฯ กว่างซีจ้วง มณฑลกุ้ยโจว มณฑลกานซู มณฑลชิงไห่ เขตฯ ซินเจียงอุยกูร์ มณฑลยูนนาน เขตฯ หนิงเซี่ยหุย ทยอยร่วมลงนามกันไปก่อนหน้านี้ เพื่อขยายโอกาสการขนส่งสินค้าโดยอาศัย “เส้นทางมุ่งลงใต้” ของมณฑลส่านซี นอกจากนี้ ยังสามารถยกระดับภาพลักษณ์อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของมณฑลส่านซี และสานต่อเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการขนส่งและกระจายสินค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของจีนตะวันตก เช่นเดียวกับที่เขตโลจิสติกส์นานาชาตินครซีอาน (Xi’an International Trade and Logistic Park : ITL) ที่เมื่อ 25 มี.ค. 2562 ได้เปิดตัวเส้นทางการขนส่งสินค้าทางบกและทะเล โดยร่วมมือกับท่าเรือหนิงโป มณฑลเจ้อเจียง และท่าเรือชิงต่าว มณฑลซานตง และยังได้ร่วมทุนกับ Tangshan Port Group จากมณฑลเหอเป่ย เปิดให้บริการการขนส่งผ่านทางบกและทะเล
[su_spacer]
นายเซี่ยง หัว รองประธานสถาบันวิจัยการพัฒนาโลจิสติกส์สมัยใหม่ฉงชิ่ง ได้เคยกล่าวไว้ว่าการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรของระเบียงการค้าระหว่างประเทศทางบกและทางทะเลแห่งใหม่ (New International Land-Sea Trade Corridor) ของมณฑลส่านซี จะช่วยลดช่องว่างข้อจำกัดในด้านการขนส่ง เนื่องจากมณฑลส่านซีไม่ได้รับอานิสงส์จากแม่น้ำฉางเจียง (แม่น้ำแยงซี) ที่มีขนาดใหญ่และลึกพอสำหรับการเดินเรือสมุทร สิ่งนี้ทำให้อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของมณฑลส่านซีเสียเปรียบในด้านการแข่งขันกับนครฉงชิ่งและมณฑลเสฉวน จึงจำเป็นต้องพึ่งพารถไฟในการขนส่งออกสินค้าเป็นหลัก การเข้าร่วมข้อตกลงในครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการส่งออกของมณฑลส่านซีได้มากขึ้น
[su_spacer]
โดยตั้งแต่เดือน เม.ย. 2560 – เดือน มี.ค. 2562 มีการขนส่งผ่านเส้นทางขนส่งสินค้าทางบกและทางทะเลสายใหม่แล้ว 901 เที่ยว เชื่อมโยง 166 ท่าเรือใน 71 ประเทศทั่วโลก อาทิ สิงคโปร์ เวียดนาม ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนี เป็นต้น มีมูลค่ารวมของสินค้าต่างประเทศ (Total value of foreign trade products) 430 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีมูลค่าสะสมของสินค้าจากในประเทศ (Cumulative value of domestic trade goods) 2,310 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
[su_spacer]
นอกจากนี้ สถิติตั้งแต่เดือน มี.ค. 2561 – ธ.ค. 2561 พบว่ามีการขนส่งในเส้นทางสำคัญๆ อาทิ (1) เส้นทางการขนส่งนานาชาติฉงชิ่ง – ฮานอย เวียดนาม ไปแล้ว 55 เที่ยว โดยแบ่งเป็นการขนส่งขาไป (ส่งออก) 6 เที่ยว และการขนส่งขาเข้า (นำเข้า) 49 เที่ยว และ (2) เส้นทางการขนส่งสินค้านานาชาติฉงชิ่ง – อาเซียน (28 เม.ย. 2559 – 8 เม.ย. 2562) 861 เที่ยว มูลค่ารวม 834.19 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
[su_spacer]