จากงานสัมมนา M&A Forum 2019 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2562 ที่นครโฮจิมินห์ สถานการณ์ธุรกิจการควบรวมกิจการ (M&A) ในเวียดนาม ได้มีการควบรวมกิจการสะสมในระยะเวลา 10 ปี รวมมูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในปี 2561 มีมูลค่า 7.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มชะลอตัวลงในปี 2562 โดยพบว่ามีการควบรวมกิจการเพียง 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ลดลงถึงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า ถึงสิ้นปี 2562 ธุรกิจควบรวมกิจการในเวียดนามจะมีมูลค่า 6.8-7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยภาคธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของประชากรได้แก่ ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค การค้าปลีก อสังหาริมทรัพย์ โทรคมนาคม เวชภัณฑ์และการศึกษา รวมถึงการลงทุนในภาคธนาคารมากขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ วงสัมมนาในปีนี้ให้ความสําคัญกับบทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของบริษัทที่ปรึกษาในธุรกิจ M&A ซึ่งนาย Dang Quyet Tien ผู้อำนวยการกรมการเงินธุรกิจ (Corporate Finance Department) กระทรวงการคลังของเวียดนาม เห็นว่า บริษัทที่ปรึกษาต่างชาติที่มีประสบการณ์ที่จะสามารถช่วยให้คําแนะนําเกี่ยวกับการปรับนโยบายภาครัฐเพื่อให้สามารถดึงดูดนักลงทุนในธุรกิจ M&A มากขึ้น ประกอบกับเวียดนามมีศักยภาพเนื่องจากมีเศรษฐกิจที่กําลังเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีประชากรในวัยหนุ่มสาวจํานวนมาก ทั้งนี้ ผู้บริโภคมีกําลังซื้อสูง รวมถึงผู้ประกอบการตลอดจนธนาคารมีความเข้าใจและความชํานาญในการดําเนินธุรกิจกับคู่ค้าต่างชาติมากขึ้น โดยนักลงทุนต่างชาติมิได้มองเวียดนามเป็นตลาดใหม่สําหรับการ M&A อีกต่อไป หากแต่ต้องการให้รัฐบาลปรับนโยบายให้เอื้อต่อนักลงทุนต่างชาติและต้องการลงทุนในบริษัทที่เติบโตอย่างมีศักยภาพและมีความโปร่งใส
[su_spacer]
นอกจากนี้ อุปสรรคที่ท้าทายของการลงทุนในธุรกิจ M&A คือ ขั้นตอนการดําเนินงานในการ M&A ของภาครัฐไม่ชัดเจนและไม่เอื้อต่อการลงทุนของต่างชาติ รัฐวิสาหกิจเวียดนามมีกําไรต่ำ และรัฐบาลเวียดนามที่ไม่มีการนําเสนอนโยบายดึงดูดการลงทุนใหม่สําหรับนักลงทุน อย่างไรก็ดี สภาแห่งชาติเวียดนามกําลังพิจารณา กฎหมายสินทรัพย์ฉบับใหม่ (Law on Securities) ซึ่งจะรวมถึงการอํานวยความสะดวกทางการเงินสกุลต่างประเทศ การใช้วิธี Book-banking ในการขายรัฐวิสาหกิจ และความชัดเจนเกี่ยวกับเพดานสัดส่วน การครอบครองหุ้นโดยชาวต่างชาติ ตลอดจนระเบียบสําหรับ Initial Public Offering (IPO) และ Public Offer to Purchase (POP) ผู้ปฏิบัติ อาจกล่าวได้ว่า เวียดนามยังเป็นตลาดที่ค่อนข้างใหม่เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ทําให้บริษัทเวียดนามไม่มีการเตรียมพร้อมและความรู้ในการ M&A โดยเฉพาะในการเตรียมเอกสารและกระบวนการ โดยบริษัทเวียดนามมักต้องการดําเนินการซื้อขายอย่างรวดเร็วด้วยราคาสูง ซึ่งเป็นไปได้ยากสําหรับบริษัทต่างชาติ เนื่องจาก ให้ความสําคัญเรื่องความโปร่งใสและต้องมีการตรวจสอบเอกสาร รวมถึงชี้แจงและหารือกับหุ้นส่วนก่อน เช่น บริษัทญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ทั้งนี้ ธุรกิจเวียดนามหลายบริษัทที่มี brand value สูงประสบปัญหามูลค่าธุรกิจตกต่ำภายหลังจากบริษัทต่างชาติเข้าซื้อ เนื่องจากในกระบวนการ M&A มักมุ่งแก้ปัญหาความซับซ้อนด้านที่ดินและแรงงานเป็นหลักก่อนจนลืมให้ความสําคัญกับการรักษา brand ดังนั้น จึงควรให้ความสําคัญกับ brand value หลังการ M&A มากขึ้น ดังตัวอย่าง กรณีบริษัท Sabeco และ Auchan ที่ยังคงใช้ชื่อเดิมหลังจากการ M&A
[su_spacer]
ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็นในกรณี บริษัท Thai Beverage ที่ได้ M&A ของบริษัท Sabeco ด้วยมูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้รับคําชื่นชมจากบริษัทที่ปรึกษาต่างชาติว่า มีความสามารถและความเข้าใจในการดําเนินธุรกิจจนสามารถ M&A ในประเทศไทย ฮ่องกง และเวียดนามได้จํานวนมาก นอกจากนี้ รายการ M&A ที่โดดเด่นในปี 61-62 ได้แก่
[su_spacer]
(1) บริษัท SK Group บริษัท Vingroup และ บริษัท Masan ในเดือนกันยายน 2561 โดย SK Groupสัญชาติเกาหลีใต้ได้ซื้อหุ้นร้อยละ 9.5 ของ บริษัท Masan มูลค่า 470 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2562 บริษัทฯ ซื้อหุ้นของบริษัท Vingroup และบริษัท VinCommerce ภายใต้เครือ Vingroup มูลค่าทั้งหมด 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
[su_spacer]
(2) บริษัท Saigon Co.opและ บริษัท Auchan เมื่อเดือนมิถุนายน 2562 ร้านค้าปลีก Saigon Co.op ได้เข้าซื้อกิจการร้านค้าปลีกและระบบจําหน่ายสินค้าออนไลน์ของบริษัท Auchan Retailสัญชาติฝรั่งเศษ โดยไม่ได้เปิดเผยมูลค่าไว้
[su_spacer]
(3) บริษัท Vingroup บริษัท Fivimart และ บริษัท Hanhwa ในเดือนกันยายน 2561 บริษัท VinCommerce ภายใต้บริษัท Vingroup ได้เข้าซื้อกิจการร้านค้าปลีก Fivimart ร้อยละ 100 และเปลี่ยนชื่อเป็น VinMart ทั้งหมด หลังจากที่ ร้าน Fivimart สิ้นสุดสัญญากับบริษัท AEON ซึ่งมีผลการดําเนินการขาดทุนตลอดช่วง 4 ปีที่ผ่านมา และต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2562 บริษัท Hanhwa Asset Management ได้ซื้อหุ้นส่วนในบริษัท Vingroup จํานวน 84 ล้านหุ้น มูลค่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
[su_spacer]
(4) บริษัท Mitsui และ บริษัทMinh Phu ในเดือนมิถุนายน 2562 บริษัท MPM Investmentsภายใต้บริษัทMitsui สัญชาติญี่ปุ่นได้ซื้อหุ้นของบริษัท Minh Phu Seafood จํานวน 60 ล้านหุ้น ทําให้บริษัท Mitsui มีหุ้นส่วนใน บริษัท Minh Phu ทั้งหมด ร้อยละ 35.1
[su_spacer]
(5) บริษัท Taisho และ บริษัท Hau Giang Pharmaceutical ในเดือนเมษายน 2562 บริษัท Taisho บริษัทผู้ผลิตเวชภัณฑ์ชั้นนํา 1 ใน 5 อันดับต้นสัญชาติญี่ปุ่นได้ซื้อหุ้นของบริษัท Hau Giang Pharmaceutical (DHG) จํานวน 20.6 ล้านหุ้น ทําให้บริษัท Taisho มีหุ้นส่วนในบริษัท DHG ร้อยละ 50.78 เนื่องจากเห็นศักยภาพการเติบโตของตลาดผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในเวียดนามต่างจากตลาดในญี่ปุ่นที่กําลังหดตัว ในขณะที่หุ้นส่วนใหญ่ของบริษัท DHG อีกหนึ่ง บริษัท ได้แก่ บริษัท State Capital Investment Corporation มีหุ้นส่วนที่ร้อยละ 43.3
[su_spacer]
(6) บริษัท Vinamilk และ บริษัท GTNfoods ในเดือนมิถุนายน 2562 บริษัท Vinamilk ผู้ผลิตสินค้าจากนมโคชั้นนําของเวียดนามได้ซื้อหุ้นในบริษัท GTNfoods จํานวน 90.06 ล้านหุ้น เป็นมูลค่า 50.87 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทําให้ปัจจุบัน บริษัท Vinamilk ถือหุ้นส่วนในบริษัท GTNfoods อยู่ร้อยละ 38.34 เพื่อขยายส่วนแบ่งการตลาดให้มากขึ้น
[su_spacer]
(7) บริษัทSojitz และ The PAN Group เมื่อเดือนกันยายน 2561 บริษัทThe PAN Group ได้ขายหุ้น 13.4 ล้านหุ้น ให้แก่ บริษัท Sojitz Group สัญชาตญี่ปุ่นเป็นมูลค่า 35.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้บริษัท Soitz กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดที่ร้อยละ 10 เพื่อยกระดับการกระจายสินค้าอาหารและการเกษตรสําหรับตลาดภายในประเทศและไปยังต่างประเทศ
[su_spacer]
(8) บริษัท Gelex และบริษัทViglacera ในเดือนมีนาคม 2562 กระทรวงโยธาธิการ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุดของบริษัทผลิตกระเบื้อง Viglacera ได้ขายหุ้นจํานวน 69 ล้านหุ้น มูลค่า 69.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่ บริษัทGelex ทําให้ ปัจจุบัน บริษัท Gelex ถือหุ้นส่วนใน บริษัท Viglacera ทั้งหมดร้อยละ 25
[su_spacer]
นอกจากนี้ ภาครัฐเวียดนามเห็นว่าการ M&A จะช่วยส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและบูรณาการ สู่ เศรษฐกิจโลก และจะช่วยรัฐบาลเวียดนามลดภาระทางงบประมาณในการถือครองหุ้นในรัฐวิสาหกิจและทําให้ภาครัฐมีรายได้มากขึ้นในการนําเม็ดเงินมาอัดฉีดโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญที่ล่าช้า โดยตั้งแต่ปี 2559 รัฐบาลเวียดนามได้ขายรัฐวิสาหกิจไปแล้ว 8.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาประเมินว่า ภาคธุรกิจที่จะเติบโตสูงในอนาคต ได้แก่ สุขภาพ อาหารและเครื่องดื่ม จึงเป็นโอกาสในการขยายตลาดในเวียดนามของนักลงทุนไทยผ่านการ M&A ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา เกาหลีใต้ขึ้นมาเป็นผู้ลงทุนด้านการ M&A รายใหญ่ที่สุดในเวียดนามแทนที่ประเทศไทย (ไทยเป็นลําดับที่ 1 ในปี 2560) โดยในปี 2561 การควบรวมกิจการของเกาหลีใต้มีมูลค่า 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีโครงการ M&A ใหญ่ คือ บริษัท SK Group ซื้อหุ้นบริษัท Vingroup และ Masan มูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 470 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลําดับ ทั้งนี้ เวียดนามเป็นประเทศจุดหมายการ M&A เชิงมูลค่าเป็นอันดับที่ 2 ของอาเซียน รองจากไทย และคาดว่าในปี 2562 จะมีมูลค่า 6.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
[su_spacer]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์