เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2562 นายทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรี สปป. ลาว ได้รายงาน ผลการดําเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมแห่งชาติและแผนงบประมาณแห่งรัฐ 4 เดือน การคาดการณ์ 6 เดือนแรกของปี และแนวโน้มในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2562 ต่อที่ประชุมสภาแห่งชาติลาว ชุดที่ 8 สมัยสามัญ ครั้งที่ 7 ว่า ภาพรวมการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของ สปป. ลาว อยู่ในระดับร้อยละ 6.5 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการเติบโตที่สูง เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค แต่เติบโตในอัตราที่ช้าลงเมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณการผลิตด้านพลังงานและแร่ธาตุลดลง รวมทั้งการเกษตร ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ส่วนด้านการบริการยังคงมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว
[su_spacer]
การลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศของ สปป. ลาว ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2562 (ม.ค. – พ.ค.) มีจํานวน 1,266 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 4,735 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการนําเข้าเงินทุนจริงผ่านระบบ ธนาคาร การนําเข้าวัสดุอุปกรณ์มูลค่า 1,090 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 37.8 ของแผนการที่กําหนดไว้
[su_spacer]
นายสุลิยน พิลาวง หัวหน้ากรมการนําเข้าและส่งออก กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าแห่ง สปป. ลาว (เทียบเท่า อธ.) ได้รายงานว่า มูลค่าการนําเข้าและส่งออกของ สปป. ลาว ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2562 (ม.ค. – เม.ย.) มีมูลค่า รวม 3,662 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา และคิดเป็นร้อยละ 32.4 ของแผนการ ประจําปี ประกอบด้วย การส่งออกมูลค่าประมาณ 1,338 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันใน ปีที่ผ่านมา และคิดเป็นร้อยละ 35.1 ของแผนการประจําปี สินค้าส่งออกสําคัญ ได้แก่ หมวดไฟฟ้า แร่ธาตุ (แร่ทอง ทองคํา เกลือ) สินค้าอุตสาหกรรม (ชิ้นส่วนกล้องถ่ายภาพ จักรเย็บผ้า กระดาษ บุหรี่ น้ำตาล) และสินค้าเกษตรกรรม (มันสําปะหลัง กล้วย ยางพารา กาแฟ เนื้อวัว เนื้อควาย) และการนําเข้ามูลค่าประมาณ 1,520 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันในปีที่ผ่านมา และคิดเป็นร้อยละ 30 ของแผนการประจําปี สินค้าที่นําเข้าสําคัญ ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง พาหนะ และอะไหล่ อุปกรณ์เครื่องจักร และวัสดุภัณฑ์ (เหล็ก ปูนซีเมนต์) โดยมีตลาดนําเข้าและส่งออกจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ไทย จีน และเวียดนาม
[su_spacer]
การควบคุมเงินตรา นายสอนไซ สิดพะไซ ผู้ว่าการธนาคารแห่ง สปป. ลาว ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อ เฉลี่ยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2562 (ม.ค. – พ.ค.) อยู่ที่ร้อยละ 1.90 (โดยธนาคารแห่ง สปป. ลาว กําหนดในแผนงานให้ต่ำกว่า ร้อยละ 5) และตามการรายงานของสถาบันค้นคว้าเศรษฐกิจแห่งชาติ (NIER) ระบุว่าในปี 2562 คาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อจะยังคง เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3 เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกอาจจะเพิ่มขึ้น ส่วนแนวโน้มของราคาสินค้าอื่นๆ ในตลาดโลกยังอยู่ ในระดับเดิม ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อเทียบเงินกีบกับเงินดอลลาร์สหรัฐเฉลี่ยช่วง 5 เดือนแรกของปี 2562 (ม.ค. – พ.ค.) อ่อนค่า ร้อยละ 2.01 และเงินกีบเทียบเงินบาท อ่อนค่าร้อยละ 3.81 เมื่อเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงสิ้นปี 2561 ด้านส่วนต่างของอัตราของธนาคารและตลาดแตกต่างกันเฉลี่ยอยู่ในระดับร้อยละ 2.33 สําหรับเงินกีบและเงินดอลลาร์สหรัฐ และร้อยละ 0.89 สําหรับเงินกีบและเงินบาท
[su_spacer]
พลังงานและเหมืองแร่ นายคํามะนี อินทิลาด รมต. ก. พลังงานและบ่อแร่แห่ง สปป. ลาว รายงาน ว่า ปัจจุบัน สปป. ลาว มีแหล่งผลิตไฟฟ้าจํานวน 63 แห่ง มีกําลังการผลิตติดตั้ง 7,213 เมกะวัตต์ และสามารถผลิตกระแสไฟฟ้า ได้ 37,000 ล้านกิโลวัตต์ – ชม. ต่อปี ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2562 (ม.ค. – เม.ย.) สปป. ลาว สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 7,590 ล้านกิโลวัตต์ ชม. มูลค่าประมาณ 3,750 พันล้านกีบ (ประมาณ 432 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา ซึ่งสามารถปฏิบัติตามแผนงานได้ร้อยละ 22.6 (แผนงาน 33,874 ล้านกิโลวัตต์ – ชม. มูลค่า 16,575 พันล้านกีบ ประมาณ 1.91 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทั้งนี้ สามารถส่งออกได้เพียง 5,740 ล้านกิโลวัตต์ – ชม.มูลค่า 334 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา และคิดเป็นร้อยละ 23 ของแผนงาน (แผนงาน 25,625 ล้านกิโลวัตต์ – ชม. มูลค่า 1,451 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) สําหรับเหมืองแร่สามารถผลิตแร่ธาตุได้ 3,199 พันล้านกีบ (368 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ) คิดเป็นร้อยละ 26.9 ของแผนงาน (แผนงาน 11,864 พันล้านกีบ ประมาณ 1.36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
[su_spacer]
การท่องเที่ยว กรมพัฒนาการท่องเที่ยว ก. แถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยวแห่ง สปป. ลาว ระบุว่า สถิตินักท่องเที่ยวในช่วง 3 เดือนของปี 2562 (ม.ค. – มี.ค.) มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว สปป. ลาว จํานวนทั้งสิ้น 1,062,377 คน ลดลงร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา และนายบ่อแสงคํา วงดาลา รมต. ก. แถลงข่าวฯ แห่ง สปป. ลาว ได้รายงาน ต่อที่ประชุมสภาแห่งชาติลาว ชุดที่ 8 สมัยสามัญ ครั้งที่ 7 ว่า สถิตินักท่องเที่ยวจีนเข้ามา สปป. ลาว ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2562 มีจํานวน 259,205 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา
[su_spacer]
นโยบายและมาตรการเศรษฐกิจสําคัญของ สปป. ลาว
รัฐบาลสปป.ลาวได้พยายามในการแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนให้เป็นไปตาม 8 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของคําสั่งนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1. เร่งแก้ไขหนี้สินคุมเครือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน และระหว่างภาคเอกชนกับธนาคารพาณิชย์
2. จัดหาแหล่งเงินทุนใหม่เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ธนาคาร พร้อมทั้งปรับอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขการกู้เงินเพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่การดําเนินธุรกิจ
3. มีนโยบายในการสนับสนุนด้านเงินทุนและนโยบายด้านภาษีอากรต่อธุรกิจที่รัฐบาลส่งเสริม เช่น ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ ตลอดจนธุรกิจดิจิทัล ธุรกิจที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัดและรักษาสิ่งแวดล้อม
4. ลดขั้นตอนการขออนุญาตลงทุนให้รวดเร็ว
5. แก้ไขระเบียบการนําเข้า-ส่งออกสินค้า ตลอดจนลดรายจ่ายค่าธรรมเนียมต่างๆ
6. รับประกันการปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย และพันธะสัญญาต่างๆ ที่ลงนามแล้ว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน
7. ส่งเสริมการผลิตสินค้าและบริการให้มีความแข็งแกร่งและต่อเนื่อง
8. ส่งเสริมการพัฒนาด้านวัฒนธรรม-สังคม แก้ไขความทุกข์ยากของประชาชน ปรับปรุงระบบการบริหารรัฐให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมาย
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์