ในปีงบประมาณ 2562 รัฐบาลปากีสถาน สามารถลดการขาดดุลการค้าลง (Trade Deficit) จำนวน 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ธนาคารชาติปากีสถาน (State Bank of Pakistan – SBP) ปล่อยให้เงินรูปีฯ อ่อนค่าลงมากกว่าร้อยละ 26 (1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 1.60 รูปีฯ) และ รัฐบาลกลางปากีสถานปรับขึ้นภาษีอากรควบคุม (Regulatory Duty) และนำมาตรการที่มิใช่ภาษีมาใช้ (Non-Tariff Barrier) เพื่อควบคุมการนำเข้าสินค้า แต่อย่างไรก็ตามพบว่าสถิติการขาดดุลการค้าก็ยังไม่ได้ลดลงเพราะการบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ ข้างต้นแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะปริมาณการนำเข้าเครื่องจักรกลที่ใช้สำหรับโครงการระเบียง เศรษฐกิจ จีน – ปากีสถาน (China – Pakistan Economic Corridor – CPEC) ที่ลดลงด้วย หลังจากโครงการ CPEC ระยะแรกสิ้นสุดลง จึงเห็นว่านโยบายการลดปริมาณการนำเข้าของรัฐบาลยังไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร ทั้งนี้จากรายงานของ Pakistan Bureau of Statistics (PBS) พบว่า การนำเข้าเครื่องจักรกลเพื่อใช้ในโครงการ CPEC ลดลงจำนวน 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 45
[su_spacer]
มาตรการจำกัดการนำเข้าสินค้าส่งผลกระทบต่อการนำเข้ากลุ่มสินค้าประเภทอาหารและยานพาหนะ รวม 2 ประเภท ลดลงจำนวน 1.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ในปีงบประมาณที่ผ่านมา ปากีสถานนำเข้าสินค้าประเภทอาหารจำนวน 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่การนำเข้าสินค้าประเภทยานพาหนะอยู่ที่ 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันปากีสถานต้องพึ่งพาน้ำมันปรุงอาหารจากการนำเข้า เช่น น้ำมันปาล์มมีการนำเข้ามากที่สุดจากมาเลเซีย ในขณะที่โรงงานประกอบรถยนต์ในปากีสถานต้องพึ่งพาการนำเข้าอะไหล่และชิ้นส่วนรถยนต์จาก ต่างประเทศ ถึงประมาณร้อยละ 40 – 50 เนื่องจากยังไม่สามารถผลิตในประเทศได้ทั้งหมด
[su_spacer]
Dr. Hafiz Pasha นักเศรษฐศาสตร์ชาวปากีสถาน กล่าวว่านโยบาย ต่าง ๆ ที่บังคับใช้เพื่อลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account Deficit) ยังไม่มีประสิทธิภาพพอ เช่น การลดค่าเงินรูปีฯ ที่สามารถลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า เหตุใดรัฐบาลปากีสถานตั้งเป้าลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในปีงบประมาณ 2563 จำนวน 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการลดค่าเงินรูปีฯ มากกว่า Dr. Pashaประเมินว่า รัฐบาลปากีสถานต้องลดค่าเงินรูปีฯจนถึงร้อยละ 45 ภายในปีงบประมาณ 2563 (1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 200 รูปีฯ) เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวน 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund – IMF) คาดการณ์ว่าก่อนสิ้นปีงบประมาณปัจจุบันค่าเงินรูปีฯ จะอยู่ที่ 172.53 รูปีฯ ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
[su_spacer]
อย่างไรก็ตาม Dr. Pasha กล่าวเพิ่มเติมว่า อัตราการส่งออกที่เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 เพื่อให้ บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 26.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นปรากฏการณ์ในเชิงบวก ทั้งนี้ รัฐบาลปากีสถาน จำต้องลดการนำเข้า ให้น้อยกว่า 52 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อจะได้รับประโยชน์ของเป้าหมายภาคต่างประเทศ
[su_spacer]
นักเศรษฐศาสตร์บางรายเห็นว่า รัฐบาลปากีสถาน พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อกอบกู้เศรษฐกิจประเทศให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤต ถึงอย่างไรก็ตามความพยายามดังกล่าวไม่ควรทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุน เพราะมาตรการบางอย่างอาจส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม และภาวะเงินเฟ้อจะทำให้กำลังซื้อลดลง ดังนั้นหากการส่งออกไม่เป็นไปตามเป้าที่รัฐบาลวางไว้ แม้จะลดค่าเงินรูปีฯลงอย่างต่อเนื่องแล้วก็ตาม จะส่งผลให้เกิดสภาวะความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ และจะทำลายความเชื่อมั่นของภาคเอกชน ทำให้สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและอยู่ในภาวะวิกฤติต่อไป ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าการส่งออกอาจจะไม่สามารถขยายตัวอย่างเต็มรูปแบบได้ภายในระยะเวลา 2-3 ปี ในขณะที่การลดค่าเงินรูปีฯ จะส่งผลดีต่อการลดการนำเข้าสินค้า แต่ไม่สามารถจะช่วยให้การส่งออกขยายตัวขึ้นได้ ดังนั้นการขาดดุลการชำระเงิน (Balance Payment Deficit) และผลเสียที่จะตามมาก็ยังคงมีอยู่
[su_spacer]
โดยในปีงบประมาณ 2562 ประเภทสินค้านำเข้า 3 อันดับแรกที่ปากีสถานนำเข้ามากที่สุดคือเครื่องจักรที่ใช้ในโครงการ CPEC น้ำมันเชื้อเพลิง และก๊าซ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่รัฐบาลจะลดหรือจำกัดการนำเข้า เพราะเป็นสินค้าที่ปากีสถานไม่สามารถผลิตในประเทศเพื่อทดแทนได้
[su_spacer]
โดยในเอกสารข้อตกลงระหว่าง รัฐบาลปากีสถาน และ IMF ระบุว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของปากีสถานต้องยกเลิกข้อจำกัดด้านบริหาร (Administrative Restriction) ที่เคยบังคับใช้เพื่อสนับสนุนดุลชำระเงิน (Balance of Payment) นอกจากนี้รัฐบาลปากีสถานก็ตกลงที่จะยกเลิกภาษีอากรควบคุม (Regulatory Duty) ที่บังคับใช้กับสินค้านำเข้าระดับกลาง (Intermediate Goods) สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) และ สินค้าหรูหรา (Luxury Goods) ดั้งนั้น ในช่วงที่ปากีสถานได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF รัฐบาลปากีสถานจะไม่สามารถนำมาตรการที่เข้มงวดมาใช้กับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือบังคับใช้มาตรการการนำเข้าที่เข้มงวดเพื่อดุลการชำระอีกต่อไป
[su_spacer]
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองการาจี