นายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ หนังสืมพิมพ์ The Economic Times ซึ่งเป็นสื่อท้องถิ่นเชิงธุรกิจแนวหน้า โดย นายกรัฐมนตรีอินเดียได้กล่าวถึง วิสัยทัศน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจอินเดียใน 5 ปีข้างหน้า
และมุมมอง/แนวทางในการกระตุ้นเศรษฐกิจ สรุปสาระสําคัญได้ ดังนี้
[su_spacer]
มุมมองเกี่ยวกับเศรษฐกิจอินเดียกําลังชะลอตัว นายกรัฐมนตรีอินเดียตระหนักว่าธุรกิจบางสาขากําลัง ชะลอตัวจริง โดยมีสาเหตุหลักจากการขาดแคลนสินเชื่อ และการปรับนโยบายของภาครัฐที่อาจสร้างความ กังวลต่อภาคธุรกิจ/ผู้บริโภคส่วนที่เกี่ยวข้อง สาเหตุที่ทําให้เศรษฐกิจชะลอตัว นายกรัฐมนตรีอินเดียมองว่าเป็นผลกระทบจากการดําเนินนโยบาย การคลังที่ผิดพลาดของรัฐบาลชุดก่อนหน้า ที่เน้นการปล่อยสินเชื่อแบบตามอําเภอใจ (indiscriminate tending) จนสร้างหนี้เสียจํานวนมาก ทั้งนี้ รัฐบาลชุดปัจจุบันได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการปฏิรูประบบ การธนาคารและปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งทําให้ภาคการธนาคารเคร่งครัดต่อการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นกว่าแต่ก่อน (และส่งกระทบไปยังการดําเนินธุรกิจในบางสาขา)
[su_spacer]
มุมมองของนายกรัฐมนตรีอินเดียต่อธุรกิจที่ซบเซา
(1) ปัญหานักลงทุนภายในประเทศไม่พร้อมลงทุน เห็นว่าเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ โดยการกระตุ้นการให้สินเชื่อ ซึ่งรัฐบาลได้ดําเนินการแล้ว นอกจากนี้ เชื่อว่าในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจะได้เห็น ปรากฏการณ์ที่ภาคเอกชนอินเดียเร่งขยายการลงทุนเนื่องจากปัจจุบันอัตราการใช้กําลังการผลิต (capacity utilization) ของภาคอุตสาหกรรมได้เติบโตกว่าร้อยละ 75
[su_spacer]
(2) ปัญหาภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ชะละตัว เห็นว่าการชะลอตัวจะเกิดขึ้นชั่วคราว แต่กลับเป็นประเด็นที่คนสนใจเพราะเป็นช่วงที่สินเชื่อขาดแคลนและรัฐบาลได้ประกาศนโยบายส่งเสริมการใช้ รถยนต์ไฟฟ้าไปพร้อมกัน ทั้งนี้ เชื่อว่าธุรกิจด้านยานยนต์จะฟื้นตัวอีกครั้ง และขอให้ผู้ประกอบการมั่นใจว่าธุรกิจรถยนต์ทั้งประเภทเครื่องยนต์สันดาปภายใน (เครื่องยนต์แบบเก่า) และรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะเติบโต ไปพร้อม ๆ ในอินเดียได้เพราะเป็นตลาดที่ใหญ่เพียงพอ และรัฐบาลจะดําเนินโยบายสนับสนุนอย่างครอบคลุม
[su_spacer]
(3) ปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ซบเซา รัฐบาลพยายามส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ให้ฟื้นตัวและเติบโตอย่างยั่งยืน นับตั้งแต่จัดตั้งหน่วยงานควบคุมการดําเนินการด้านอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Regulatory Authority – RERA) การลดหย่อนภาษีการผ่อนชําระเงินกู้ซื้อบ้าน การลดภาษี GST ให้ บ้านที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง การสร้างมาตรการกระตุ้นการเช่าบ้าน โดยรัฐบาลได้หารือร่วมกับทุกฝ่ายเพื่อ ส่งเสริมให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีกําไรในขณะที่บ้านก็มีราคาเข้าถึงได้
[su_spacer]
แนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น
นายกรัฐมนตรีอินเดียเชื่อว่าการปฏิรูประบบการธนาคาร ตามที่ได้กระทํา คือการแก้ปัญหาที่ถูกทางและจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนได้ต่อไป โดยในเบื้องต้น รัฐบาลจะกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการสร้างความคล่องตัวในการให้สินเชื่อ โดยได้เพิ่มเงินทุน 7 แสนล้านรูปีให้ ธนาคารของรัฐเพื่อกระตุ้นการให้สินเชื่อ และเพิ่มบทบาทของหน่วยงานการเงินที่มิใช่ธนาคาร โดยเห็นได้ว่า ในช่วงหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมา อัตราการให้สินเชื่อได้เริ่มฟื้นตัวแล้ว นอกจากนี้ รัฐบาลยังดําเนินมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจด้วยกลยุทธอื่น ๆ อาทิ การแปรรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ การเปิดให้ภาคเอกชนซื้อสินทรัพย์เก่า เพื่อลงทุนในโครงการสร้างพื้นฐานใหม่ของภาครัฐ (asset monetisation and asset recycling) การ แก้ปัญหาการคืนภาษีล่าช้า การเปิดโอกาสให้นักลงทุนกู้เงินจากตลาดการเงินระหว่างประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำ และการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ห่างไกลเพื่อเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ ประชาชนทุกกลุ่ม เป็นต้น
[su_spacer]
แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว
(1) วิสัยทัศน์ต่อเศรษฐกิจอินเดียในอีก 5 ปีข้างหน้า คือการทําให้เศรษฐกิจเติบโตด้วย การลงทุน (investment-led growth) ตั้งเป้าให้มีมูลค่าการลงทุน 100 ล้านล้านรูปีภายใน 5 ปี โดยจะ ส่งเสริมการลงทุนทั้งจากภายในและต่างประเทศ เปิดเสรีการส่งเสริม FDI ปรับกฎหมายแรงงานให้ไม่ซับซ้อน พัฒนา Ease of Doing Business ปฏิรูปสาขาพลังงาน ปรับปรุงแนวทางการสร้างรายได้และการลงทุน ในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ปฏิรูประบบการธนาคาร การประกันภัย และระบบเงินบํานาญเลี้ยงชีพ และ รับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีอินเดียยังให้ความเห็นต่อกรณีสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนว่าอินเดียไม่ได้ให้ความสําคัญกับโอกาสที่เกิดขึ้นสั้นๆ แต่สนใจการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอินเดียในระยะยาวผ่านการปฏิรูประบบต่าง ๆ มากกว่า
[su_spacer]
(2) การดึงดูดกระแสเงินลงทุนจากต่างชาติ นายกรัฐมนตรีนายกรัฐมนตรีอินเดียเชื่อมั่นในศักยภาพการดึงดูด FDI ของอินเดีย และจะพัฒนาให้อินเดียเป็นประเทศที่น่าลงทุนมากที่สุดในโลก โดยได้กล่าวถึงนโยบายตามที่ ประกาศไว้ในการแถลงแผนงบประมาณฯ ว่าจะเปิดกว้างให้ FDI ลงทุนในสาขาที่เคยถูกจํากัด เช่นด้าน การประกันภัย ลดการควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้าย (capital control) สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในการลงทุน ปรับ กฎระเบียบการเงินการคลัง/นโยบายด้านภาษี/การบริหารจัดการภาษีให้น่าเชื่อถือและคาดเดาได้ และพัฒนา คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐาน นอกจากนี้ ยังเน้นเชิญบริษัทระดับโลกให้ไปตั้งโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ในอินเดีย ในสาขาที่เป็นที่ต้องการและใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งรัฐบาลจะยกเว้นภาษีเงินได้ และให้สิทธิพิเศษ ทางภาษีแก่นักลงทุนในสาขาดังกล่าวด้วย
[su_spacer]
(3) การส่งเสริมการส่งออกเป็นส่วนประกอบสําคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ และเป็น ผลลัพธ์ของนโยบาย Make in India ทั้งนี้ จะเน้นเพิ่มรายได้เกษตรกรเป็นสองเท่าภายใน 2565 (ค.ศ. 2022) ด้วยการเพิ่มปริมาณการส่งออก และมองเกษตรกรเป็นผู้ส่งออกที่มีศักยภาพมากกว่าการเป็นเพียงผู้ผลิต ให้ความสําคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร โดยที่ผ่านมาได้จัดตั้ง mega food parks และเพิ่ม cold chain จํานวนมากขึ้นทั่วประเทศ ทั้งนี้รัฐบาลจะไม่กระตุ้นการส่งออกด้วยมาตรการจูงใจ (incentives) เท่านั้น แต่จะเน้นเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ส่งออกด้วย
[su_spacer]
(4) การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในเชิงพาณิชย์ รัฐบาลมอง ประเด็นการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของอุปกรณ์อัจฉริยะต่าง ๆ เทียบเท่ากับประเด็นการขอเข้าถึงทรัพย์สิน ส่วนบุคคล ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลกําลังพัฒนากรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อทั้งปกป้องข้อมูล และกระตุ้นการสร้าง ผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ที่อาจเกิดขึ้นต่อไป ทั้งนี้ เห็นว่าการแปรผลและการทําความเข้าใจข้อมูลจะช่วยสร้าง ระบบนิเวศเชิงธุรกิจและสร้างงานได้ และเชื่อว่าอินเดียจะสามารถพัฒนาขึ้นเป็นศูนย์กลางการวิจัยและ การเก็บรักษาข้อมูลได้ในที่สุด
[su_spacer]
(5) ประเด็นอื่น ๆ นายกรัฐมนตรีอินเดียพอใจในความสําเร็จของนโยบายภาษี Goods and Services Tax (GST) และจะพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยรณรงค์ให้ประชาชนชําระเงินด้วยระบบดิจิทัล มากขึ้น นอกจากนี้ ได้กล่าวแสดงความมั่นใจว่าจะสามารถพัฒนารัฐจัมมูร์และแคชเมียร์ให้เป็นแหล่งลงทุน ที่มีศักยภาพในหลากหลายสาขาได้ อาทิ การท่องเที่ยว การเกษตร IT การสาธารณสุข ซึ่งเริ่มมีนักลงทุนแสดง ความสนใจบ้างแล้ว
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี