เมื่อระหว่างวันที่ 20 – 22 กรกฎาคม 2562 สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงธากา ได้นําคณะนักธุรกิจและผู้ประกอบการไทย จํานวน 22 บริษัท ประมาณ 50 คน เพื่อจัดแสดงสินค้าไทยในงาน Top Thai Brands 2019 ณ โรงแรม Pearl Continental เมืองการาจีโดยมีผู้ประกอบการไทยจากหลากหลายประเภทสินค้า อาทิ เครื่องสําอาง ผลิตภัณฑ์สมุนไพร อาหาร เครื่องใช้พลาสติก หลอดไฟ เตาแก๊ส กุญแจ อะไหล่ตกแต่งรถยนต์ กาวเคมี เครื่องสูบน้ำ เครื่องปั่นไฟ เครื่องจักรกลเกษตร รองเท้า อุปกรณ์ประมง ฟิวเจอร์บอร์ดสําหรับบรรจุภัณฑ์ และป้ายโฆษณา ฯลฯ
[su_spacer]
ในงานนนี้ นาย Junaid Ismail Makda ประธาน KCCI กล่าวว่า ในปี 2561 ปากีสถานนำเข้าสินค้าจากไทย มูลค่า 1,466 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 4.7 ในขณะที่มูลค่าการค้าระหว่างปากีสถาน – ไทย อยู่ที่ 1,250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2560 ร้อยละ 1.3 ทั้งนี้ ประธาน KCCI เห็นว่ายังมีช่องทางการค้าอีก มากมายที่จะเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกัน ตลอดจนการส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน และหากทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างกันได้เร็วเท่าไร ก็จะช่วยทําให้มูลค่าการค้าระหว่างกัน เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ประธาน KCCI คาดว่าปากีสถานจะได้ประโยชน์ในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดไทยเพิ่มขึ้นอีก 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
[su_spacer]
ในด้านกงสุลใหญ่ ณ เมืองการาจี กล่าวว่า ปากีสถานเป็นพันธมิตรทางการค้าที่สําคัญของไทย ในภูมิภาค เอเชียตะวันตกโดยปากีสถานเป็น 1 ใน 5 อันดับประเทศที่มีมูลค่าการค้าที่ดีกับไทย และกล่าวขอบคุณนักธุรกิจปากีสถานและ ประชาชนชาวปากีสถานที่ให้การสนับสนุนและตอบรับสินค้าไทยเป็นอย่างดีตลอดมา นอกจากประเด็นความร่วมมือทางการค้าระหว่าง ไทย – ปากีสถานแล้ว ยังได้กล่าวถึงความร่วมมือการท่องเที่ยวที่เห็นควรให้มีการผลักดันเพื่อให้เกิดความร่วมมือต่อไป โดยในแคว้นซินด์ มีสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่มีศักยภาพและเห็นควรรัฐบาลแคว้นซินด์สนับสนุนและส่งเสริม เช่น Mohin Jo Darro ในขณะที่ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของ นักท่องเที่ยวชาวปากีสถานและเป็นที่รู้จักอย่างดีของชาวปากีสถาน จึงเห็นควรสนับสนุนความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว และขยายความร่วมมือด้านการค้าระหว่างไทย – ปกส. ให้มากยิ่งขึ้น
[su_spacer]
นอกจากนี้ ตลอดระยะเวลาการแสดงสินค้าฯ ทั้ง 3 วัน ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักธุรกิจและชาวปากีสถานในเมืองการาจีที่เข้าเยี่ยมชมงานและซื้อสินค้าเป็นจํานวนมาก พร้อมทั้ง ค้าทางธุรกิจระหว่างนักธุรกิจไทยและปากีสถาน โดยผู้ประกอบการไทยบางรายกล่าวว่า การเดินทางมาร่วมงานแสดงสินค้าฯ ในครั้งนี้ สําหรับผู้ประกอบการไทยที่มีคู่ค้าปากีสถานในเมืองการาจีแล้วถือว่าเป็นการรักษาตลาดสินค้าไทยในเมืองการาจีและขยายโอกาสทางธุรกิจเพิ่มเติมในปากีสถาน ในส่วนของผู้ประกอบการไทยที่เดินทางมาร่วมงานแสดงสินค้าฯ ครั้งแรกถือว่าเป็นการมาสํารวจและหาลู่ทางขยายตลาดในเมืองการาจีซึ่งมีประชากรมากกว่า 20 ล้านคน และในปากีสถาน โดยรวม ซึ่งมีประชากรกว่า 200 ล้านคน ทําให้มีกําลังซื้อเป็นจํานวนมาก โดยรวมแล้วนับว่าเป็นประโยชน์ และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
[su_spacer]
ช่วงพิธีปิดงานแสดงสินค้าฯ นายสืบศักดิ์ฯ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า การจัดงานแสดงสินค้าฯ ในครั้งนี้ ประสบผลสําเร็จเป็นที่น่าพอใจ ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่สามารถขยายฐานธุรกิจของตนเองในเมืองการาจีได้ ในโอกาสนี้ ได้มีการทําความตกลงระหว่างผู้ประกอบการผลิตเตาแก๊สไทย (Lucky Flame) กับนักธุรกิจปากีสถาน เพื่อผลิตและจําหน่ายเตาแก๊สในปากีสถาน นอกจากนั้น ยังมีผู้ผลิตรองเท้าไทย (OT) ที่จะเข้ามาร่วมลงทุนกับนักธุรกิจไทย- ปากีสถานเพื่อขยายฐานธุรกิจในปากีสถานต่อไป
[su_spacer]
ข้อมูลเพิ่มเติม เมืองการาจีเป็นเมืองเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนที่สําคัญที่สุดของปากีสถาน ซึ่งทํารายได้ให้กับประเทศกว่าร้อยละ 65 แม้ว่า ถึงแม้ว่า คณะฯ ได้จัดแสดงและจําหน่ายสินค้าในช่วงหลังที่ปากีสถานเพิ่งเข้าโครงการ Economic Baitout ขอรับความช่วยเหลือจาก IMF เมื่อ 3 กรกฎาคม 2562 เนื่องจากเศรษฐกิจปากีสถานกําลังอยู่ในช่วยย้ำแย่ รัฐบาลปากีสถานโดย Federal Bureau of Revenue (FBR) กําลังออกมาตรการต่าง ๆ ในการจัดเก็บและขึ้นภาษี รวมทั้งขยายฐานการจัดเก็บภาษีสินค้านําเข้าจากต่างประเทศ อย่างไรก็ดี นักธุรกิจและชาวปากีสถาน ในเมืองการาจี ก็ได้เข้าร่วมงานฯ จับจ่ายใช้สอย ติดต่อธุรกิจและจับคู่ทางการค้ากับนักธุรกิจและ ผู้ประกอบการไทยจนมีผลสัมฤทธิ์เป็นที่น่าพอใจ
[su_spacer]
อีกทั้ง นักธุรกิจและผู้ประกอบการไทยมองว่าตลาดปากีสถานโดยเฉพาะเมืองการาจีเป็นตลาดที่น่าสนใจในหลากหลายผลิตภัณฑ์ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของไทยได้รับความเชื่อมั่นในเรื่องคุณภาพ ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ในการ นําเสนอสินค้าใหม่ ๆ อย่างไรก็ตาม มีความกังวลถึงสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันและแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลปากีสถาน ในเรื่องการจํากัดสินค้านําเข้าโดยการใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น การปรับขึ้นภาษีการขาย การกําหนดเงื่อนไขสินค้านําเข้าที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งทําให้คู่ค้าทางธุรกิจชาวปากีสถานเกิดความลังเลที่จะนําเข้าสินค้าเพิ่ม แต่ผู้ประกอบการไทยยังมีความเชื่อมั่นว่าอาจส่งผลกระทบในระยะสั้น ถึงกระนั้น ผู้ประกอบการไทยต่างพอใจกับการร่วมงานฯ และมองว่าเป็นโอกาสในการขยายฐานธุรกิจในปากีสถาน
[su_spacer]
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองการาจี