การเสวนาเรื่อง “Fake News, Hoaxes, and Food Labeling, How “free from” Mislead Consumers” เกี่ยวกับกระแสต่อต้านน้ำมันปาล์มในอิตาลี จัดโดยสถาบัน For Free Choice Instituteณ ที่ทําการสภาผู้แทนราษฎร ณ ประเทศอิตาลี กรุงโรม โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิได้ลงความเห็นไว้ โดยศาตราจารย์ Pietro Paganini อาจารย์ประจํามหาวิทยาลัย John Cabot University กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ติดฉลาก “ปราศจาก…” มีปริมาณประมาณร้อยละ 18.6 ของผลิตภัณฑ์อาหารทั้งหมดหรือประมาณ 11,345 ผลิตภัณฑ์ คิดเป็นมูลค่า 6.8 พันล้านยูโรในตลาด EU โดยในปี 2560 สินค้าที่ติดฉลาก “ปราศจาก…” ในEU สามารถทํายอดขายได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.7 คาดว่าเป็นผลมาจากการประชาสัมพันธ์ว่าสินค้าที่มีฉลาก “ปราศจาก…” ดีต่อสุขภาพ ในแง่การตลาด Label is the king เนื่องจากสามารถดึงดูดความสนใจผู้บริโภคและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ[su_spacer]
ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่มีฉลาก “ปราศจาก…” มีนัยว่าดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมซึ่งในกรณีนี้รวมถึงผลิตภัณฑ์ปราศจากน้ำมันมันปาล์มด้วย ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ตลาด EU มีกระแสเกี่ยวกับอาหารและสุขภาพเพิ่มขึ้น มีการเผยแพร่ข่าวด้านลบเกี่ยวกับน้ำมันปาล์มทั้งในสื่อประเภทต่าง ๆ แต่ทว่าการเผยแพร่ข่าวนั่น ไม่มีมูลหรือหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มายืนยันส่งผล ให้ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำมันปาล์มทํายอดขายสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อกระแสจางลงอัตราการเพิ่มของยอดขายก็ลดลงตาม โดยในปี 2558 ถึง 2559 ยอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 ในปี 2559 และ2560 ยอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 และในขณะที่ปี 2560 และ2561 ยอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 ซึ่งจะเห็นได้ว่าข่าวข้ออ้างเกี่ยวกับโทษของน้ำมันปาล์มอาจไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องหรือในระยะยาว[su_spacer]
อีกทั้ง ในช่วงเวลาดังกล่าว การนําเข้าน้ำมันปาล์มของอิตาลีได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2561 การนําเข้าน้ำมันปาล์ม สําหรับการบริโภคลดลงร้อยละ 18 ทั้งนี้ การนําเข้าน้ำมันปาล์มเพื่อการบริโภคจากอินโดนีเซียในช่วงปี 2557 ถึง 2561 ลดลงร้อยละ 60 ในขณะที่ช่วงปี 2560 ถึง 2561 การนำเข้าน้ำมันปาล์มเพื่อการบริโภคจากมาเลเซียลดลงประมาณร้อยละ 40 ทั้งนี้ จากการสํารวจการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐประมาณ 180 โครงการ ในเทศบาลท้องถิ่น 100 แห่งและใน โรงแรม 100 แห่งพบว่า มีการระบุในเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้างว่าต้องการสารทดแทนของสารบางประเภท เช่น ถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม เนื่องจากต้องการให้มีปริมาณไขมันอิ่มตัวน้อยลง ดังนั้น ในช่วงเวลานั่นอิตาลีจึงลดหรืองดปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มไปโดยปริยาย มากกว่านั่น เมื่อมีการสํารวจความเห็นเกี่ยวกับเรื่องน้ำมันปาล์มพบว่า ในปี 2560 ถึง 2561 ประชาชนอิตาลีให้ความเห็นว่าน้ำมันปาล์มไม่ดี นอกเหนือจากการตกเป็นเป้าหมายของสงครามการค้าระหว่างประเทศ น้ำมันปาล์มยังทำให้เกิดการถกเถียงทางวิชาการ โดยมีการอ้างว่า น้ำมันปาล์มมีส่วนทำให้ก่อมะเร็ง มีไขมันอิ่มตัวมากกว่าน้ำมันอื่น ๆ แต่เมื่อมีผลการศึกษาวิจัยออกมาพบว่าไขมันอิ่มตัวไม่ได้ต่างกับน้ำมันประเภทอื่น ๆ มาก ข้ออ้างต่อมาที่นํามาใช้โจมตีน้ำมันปาล์มจึงเกี่ยวข้องกับการทําลายสิ่งแวดล้อมมากขึ้น[su_spacer]
นาย Giacomo Bandini ผู้อำนวยการสถาบัน Competere ได้นําเสนอผลการศึกษาวิจัยหัวข้อ “ปราศจากน้ำมันปาล์มแต่ไขมันอิ่มตัวสูงขึ้นและยั่งยืนน้อยลง” โดยต้องการหาคำตอบว่า น้ำมันปาล์มมีไขมันอิ่มตัวมากกว่าและยั่งยืนน้อยกว่าน้ำมันประเภทอื่น ๆ จริงหรือไม่ จึงได้ทําการศึกษาเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ปราศจากน้ำมันปาล์มจํานวน 96 ชนิด 10 ประเภท และผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ด้าน Sustainabilityจาก IUCN WWF FAOและ UN จํานวน 25 ฉบับ โดยผลการวิจัยสรุปได้ว่า ข้อสมมุติฐานที่ใช้โจมตีน้ำมันปาล์มไม่เป็นความจริงทั้ง 2 ประการ จึงแสดงให้เห็นว่าการติดฉลากผลิตภัณฑ์ว่า “ปราศจากน้ำมันปาล์ม”เป็นการหลอกลวงผู้บริโภค และการใช้น้ำมันอื่นทดแทนน้ำมันปาล์มอาจส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า นอกจากนี้ น้ำมันปาล์มยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจในประเทศผู้ส่งออก เนื่องจาก ช่วยกระจายรายได้ให้ผู้ที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นผู้ประกอบการระดับเล็กและระดับกลาง จึงถือว่าเข้าข่ายในเป้าหมาย Sustainable Development Goals ของ UN ถึง 5 ข้อ ได้แก่ ข้อที่ 1 2 4 8 และ 13 อีกด้วย[su_spacer]
ในด้านของ นาง Maria Vincenza Chiriacd สถาบัน Euro-Mediterranean on Climate Change ได้นําเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของทางเลือกโภชนาการ โดยได้สนับสนุนให้มีการทําเกษตรกรรมแบบยั่งยืนและลดอัตราการสิ้นเปลืองอาหาร และในเรื่องของฉลากประเภท “ปราศจาก…” ถือเป็นข้อมูลที่ผิดเพราะส่วนใหญ่แล้วผลิตภัณฑ์ “ปราศจาก” ย่อมหมายถึงการทดแทนส่วนประกอบบางอย่างด้วยส่วนประกอบอีกอย่าง แต่สิ่งที่มาทดแทนนั้นย่อมมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ หากปลูกปาล์มน้ำมันด้วยวิธีดั้งเดิมจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก แต่หากปลูกด้วยวิธีแบบยั่งยืนจะไม่ต้องตัดไม้ทําลายป่าและลดการใช้ปุ๋ยและเคมี[su_spacer]
นาง Margot Logman เลขาธิการ European Palm Oil Alliance (EPOA) ได้นําเสนอหัวข้อ “Empower consumers, not confuse” โดยแนะนํา European Palm Oil Alliance ซึ่งเป็นองค์กรที่มีประเทศสมาชิกผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันปาล์มต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรปและเอเชีย โดย EPOA เชื่อว่าน้ำมันปาล์ม แบบยั่งยืนเป็นส่วนประกอบสําคัญที่จะป้อนอาหารให้แก่ประชากรโลก สนับสนุนความหลากหลายทางชีวภาพ ช่วยพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจรวมถึงเป็นปัจจัยร่วมในการเข้าถึงเป้าหมาย Sustainable Development Goats ด้วย โดย EPOA จะช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในตลาดน้ำมันปาล์มให้เป็นแบบยั่งยืนในยุโรปและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของน้ำมันปาล์มในฐานะส่วนประกอบอาหาร[su_spacer]
โดยประเทศสมาชิก EPOA มีหลักการที่จะส่งเสริมน้ำมันปาล์มชนิด certified sustainable palm oil (RSPO) และสนับสนุน Supply Chain ที่สามารถสืบย้อนได้ อย่างครบถ้วน (fully traceable) ซึ่งเป้าหมายเหล่านี้ต้องได้รับ คณะรัฐมนตรีจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในอิตาลีมีทัศนคติด้านลบต่อน้ำมันปาล์มอันเป็นผลมาจากข้อมูลที่ผิด EPOA จึงทําสื่อให้ความรู้ประเภทต่าง ๆ ผ่านสื่อออนไลน์และช่องทางอื่น ๆ เพื่อรณรงค์ให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับน้ำมันมันปาล์ม โดยในปี 2560 น้ำมันปาล์มสําหรับอาหารร้อยละ 74 ได้รับ RSPO โดย EPOA แล้ว และได้ตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2563 จะมีการใช้น้ำมันปาล์มแบบยั่งยืนร้อยละ 100 ในยุโรป รวมถึงน้ำมันปาล์มที่นําเข้ามาในยุโรปร้อยละ 99 ต้องสามารถสืบย้อนกลับไปหาแหล่งผู้ผลิตได้ และร้อยละ 84 จะต้องผลิตภายใต้นโยบาย NDPE (No Deforestation, No Peat, No Exploitation) ด้วย ในประเด็นการคว่ำบาตรเลิกใช้น้ำมันปาล์มอาจทําให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี เนื่องจากการติดฉลาก “Palm Oil Free”น่าจะเปลี่ยนเป็นฉลาก “Sustainable Palm Oil”มากกว่า[su_spacer]
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม เผยว่า มาเลเซียและอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีส่วนได้ส่วนเสียสูงเช่นเดียวกับในหลาย ๆ เมืองหลวงของยุโรป เนื่องจากมาเลเซียเป็นตัวตั้งตัวตีในการรวมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อผลักดันการรักษาผลประโยชน์ในอิตาลี โดยล่าสุดเอกอัครราชทูตของมาเลเซียได้มีหนังสือเชิญเอกอัครราชทูตไทยเข้าร่วมการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของเอกอัครราชทูต ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อหารือท่าที่ร่วมกัน[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม