ด้วยเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2562 สํานักพิมพ์ The Straits Times ได้ลงบทความ “Consumers less loyal to brands now, Survey finds” และสํานักพิมพ์ The Business Times ได้ลงบทความ “Brand disloyalty the new normal for Spore consumers” โดยสรุปได้ว่า บริษัท Nielsen ได้จัดทําแบบสํารวจพฤติกรรมผู้บริโภคและพบว่า ผู้บริโภคชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะทดลองสินค้ายี่ห้อใหม่ๆ มากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับ 5 ปีที่ผ่านมา โดยผู้บริโภคชาวสิงคโปร์จะไม่มีการซื้อสินค้ายี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งหรือที่เรียกว่า Brand disloyalty เป็นจำนวนมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีสินค้าและบริการที่หลากหลาย รวมถึงผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้สะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะผ่านช่องทางออนไลน์หรือร้านค้าปลีก[su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ จากแบบสํารวจพบว่า 3 ใน 5 หรือร้อยละ 61 ของผู้บริโภคชาวสิงคโปร์จะถูกโน้มน้าวให้ทดลองใช้สินค้ายี่ห้อใหม่ๆ แม้จะมียี่ห้อเดิมที่ถูกใจอยู่แล้ว และร้อยละ 28 ของผู้บริโภคชาวสิงคโปร์ชอบที่จะทดลองสินค้าชนิดใหม่ๆ โดยปัจจัยสําคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนยี่ห้อสินค้าและบริการของชาวสิงคโปร์คือ สินค้ามีความคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป คิดเป็นร้อยละ 78 และมีโปรโมชั่นลดราคาร้อยละ 73 รวมถึง ปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลลดหลั่นลงมาคือ ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน คิดเป็นร้อยละ 66 นอกจากนี้ จากแบบสํารวจพบว่าผู้บริโภคชาวสิงคโปร์ยังคงเชื่อคําแนะนําจาก ครอบครัวหรือเพื่อนในการเลือกซื้อและใช้สินค้าอย่างมาก[su_spacer size=”20″]
หมวดสินค้าที่กลุ่มผู้บริโภคชาวสิงคโปร์มีการเปลี่ยนแปลงยี่ห้อมากที่สุด ได้แก่ (1) กลุ่มสินค้าช็อกโกแลตและคุ้กกี้ ร้อยละ 52 (2) กลุ่มสินค้านมและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนม ชีส โยเกิร์ต และเนย ร้อยละ 50% (3) กลุ่มสินค้าแชมพูและครีมนวดผม ร้อยละ 49 (5) กลุ่มสินค้ากาแฟและชา ร้อยละ 48 และ(6) กลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณ ร้อยละ 47 ทั้งนี้ นาย Garick Kea หัวหน้าฝ่ายผู้บริโภคของบริษัท Nielsen สิงคโปร์ กล่าวว่า กลุ่มธุรกิจที่ต้องการให้ผู้บริโภคมี Brand Loyalty ต่อสินค้าของตนจะต้องให้ความสําคัญกับความสะดวกในการซื้อของผู้บริโภค ตลอดจนสร้างโปรโมชั่นใหม่ๆ อยู่เสมอ ในทางเดียวกันแนวโน้มทั่วโลกของระดับ Brand disloyalty ได้เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยมีเพียงร้อยละ 8 ของผู้บริโภคทั่วโลกเท่านั้นที่กล่าวว่าตนมี Brand Loyalty[su_spacer size=”20″]
ในมุมมองของประเทศไทย การที่ชาวสิงคโปร์ต้องการทดลองสินค้ายี่ห้อใหม่ๆ มากขึ้นนั้น เป็นโอกาสของกลุ่มผู้ประกอบการไทยที่จะนําสินค้าเข้าไปขายในตลาดสิงคโปร์ ตีตลาดให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมของชาวสิงคโปร์ได้ เนื่องจาก ชาวสิงคโปร์มีอํานาจในการซื้อ (purchasing power) สูง หากสินค้าไทยมีคุณภาพที่ดีและคุ้มค่ากับราคา แน่นอนว่าชาวสิงคโปร์ก็พร้อมที่จะจ่าย จนอาจทำให้สินค้านั้นเป็นนิยมได้[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์