นับตั้งแต่ปี 2530 หลายประเทศทั่วโลกได้นําแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มา เป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เนื่องจากการนํานวัตกรรมและเทคโนโลยี
รวมเข้ากับอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Creative industries)
อาทิ ศิลปะ แฟชั่น งานฝีมือและหัตถกรรม การออกแบบ สร้างให้เกิดความโดดเด่นกับสินค้าและผลิตภัณฑ์ นอกจากจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ยังช่วยสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นอีกด้วย
[su_spacer]
ข้อมูลจากเว็บไซต์ UNCTAD (ลงวันที่ 7 ม.ค. 2562) ระบุว่า เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์สร้างมูลค่าให้กับ ตลาดโลกกว่า 208 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 6,448 พันล้านบาท) ในปี 2545 และสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น เป็นสองเท่าหรือคิดเป็น 509 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 15,779 พันล้านบาท) ในปี 2558 โดยจีนเป็น ประเทศที่มีการส่งออกผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ (Creative goods) มากที่สุดในช่วงระหว่างปี 2545 – 2558 จึง เห็นได้ว่าสินค้าและผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ถือเป็นกําลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สําคัญระดับโลก
[su_spacer]
ด้วยแนวความคิดที่เชื่อว่านวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์จะสามารถยกระดับสินค้าและบริการของ ไทยให้แข่งขันในระดับสากลได้ สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (สคส.) และ Taipei Cultural Foundation จึงร่วมกันจัดทําโครงการ Tai-Thai Design Collaboration โดยจับคู่ระหว่างนักออกแบบและ เจ้าของผลิตภัณฑ์จากไทยและไต้หวันจํานวน 2 คู่ พัฒนาเป็นผลงาน 2 ชิ้น ภายใต้ธีม Material in Motion ดังนี้
[su_spacer]
โปรเจค 5+5
5+5 มาจากการใช้เทคนิคด้านการปัก 5 อย่างจาก Ease Studio ผู้โดดเด่นด้านงานปักจากไทยร่วมกับการใช้เทคนิคด้านการพิมพ์ 5 ประการจาก Fab Craft ผู้พัฒนาเครื่องเซรามิกจากกระบวนการพิมพ์จากไต้หวัน โดยเป็นการนําวัสดุที่ต่างกันอย่างดินและเส้นใยสังเคราะห์มาคิดและทดลองจนผลิตได้เป็นวัสดุใหม่ซึ่งเป็นวัสดุโปร่งแสง ถือเป็นวัสดุใหม่ที่กําลังอยู่ระหว่างการพัฒนาไปสู่การผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในอนาคต
[su_spacer]
โปรเจค REC:a camera beyond cameras
การร่วมมือระหว่าง Paper Shoot ผู้ผลิตกล้องดิจิตอลกระดาษขนาดพกพา กับ THINKK Studio สตูดิโอออกแบบที่มีผลงานการออกแบบของตั้งแต่อุปกรณ์ตกแต่งขนาดเล็กไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในโรงแรม ร่วมกันปรับแต่งกล้องดิจิตอลให้เป็นมากกว่ากล้องถ่ายรูปแต่ให้กลายเป็นของใช้ในชีวิตประจําวัน โดยกล้องที่พัฒนาขึ้นนั้นได้ออกแบบให้มีขนาดพอเหมาะกับกับมือ จุดเด่นคือตัวกรอบของกล้องสามารถปรับเปลี่ยนได้ โดยทาง THINKK Studio ได้เลือกใช้วัสดุท้องถิ่นจากไทย เช่น ใบไม้แห้ง ใบกล้วย ผ้าไทย เป็นต้น มาออกแบบเป็นกรอบ นอกจากจะสวยแล้วยังเป็นการส่งเสริมวัสดุจากท้องถิ่นอีกด้วย ทั้งนี้จะมีการพัฒนาแนวคิดไปสู่กล้องวิดิโอในอนาคต
ปีนี้นับเป็นการจัดโครงการ Tai-Thai Design Collaboration Project ครั้งที่ 2 โดยนักออกแบบผู้ผ่าน การคัดเลือกได้เริ่มแลกเปลี่ยนความคิดและทํางานร่วมกันผ่านทางออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2562 จากนั้นจึง จัดแสดงผลงานต้นแบบที่ไต้หวันระหว่างวันที่ 5- 29 ก.ค. 2562 ณ Songshan Cultural and Creative Park (SCCP) ไทเป และจะจัดแสดงผลงานพร้อมขายในงานแสดงสินค้า Style 2019 ที่กรุงเทพมหานคร บริเวณ Taipei Pavilion ระหว่างวันที่ 7 – 21 ต.ค. 2562
[su_spacer]
สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย