รัฐบาลดูไบ/ยูเออีอนุญาตให้นั กลงทุนต่างชาติสามารถลงทุ นนอกเขต Free Zone และสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจในสั ดส่วน 100% ได้แล้วในประเภทอุตสาหกรรม 13 ด้าน
โดยครอบคลุมธุรกิจ 122 แขนงตามกฎหมายใหม่ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจการค้ าขายออนไลน์ โลจิสติกส์ และธุรกิจบันเทิงจะเติบโตขึ้นอี กมาก
[su_spacer]
โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ รัฐบาลดูไบ/ยูเออีได้ยกเลิกกรณี ที่บริษัทต่างชาติต้องได้รั บใบอนุญาตประกอบธุรกิ จในเขตเศรษฐกิจเสรีลง ส่งผลให้นักธุรกิจต่างชาติในด้ านต่าง ๆ เช่น การค้าขายออนไลน์ และการให้บริการ web TV streaming เป็นต้น สามารถทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น ซึ่งผู้ได้รับประโยชน์ในครั้งนี้ ยังรวมไปถึงผู้ ประกอบการในระบบเศรษฐกิจแบบดั้ งเดิม เช่น การผลิต สินค้า การก่อสร้าง รวมทั้งธุรกิจค้าขาย (trading) ซึ่งเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจยู เออีในยุคก่อน
[su_spacer]
การดำเนินนโยบายดังกล่าวของรั ฐบาลดูไบ/ยูเออี ยังสอดคล้องกับนโยบายในการปฏิรู ปเรื่องวีซ่า ซึ่งไม่จำกัดเพียงวีซ่าของผู้ เข้าเมืองใหม่ แต่ยังรวมถึงผู้ที่พำนั กและทำงานอยู่ในดูไบ/ยูเออีอยู่ ก่อนแล้ว และจะทำให้นักธุรกิจและนักลงทุ นต่างชาติในปัจจุบันต่างได้รั บผลประโยชน์ไปด้วย สิ่งที่น่าสนใจ คือ รัฐบาลยูเออีได้นำธุรกิจบันเทิง เช่น ธีมพาร์ค และอื่น ๆ เข้ามาอยู่ในสิทธิประโยชน์เหล่ านี้ด้วย ซึ่งเรื่องนี้จะทำให้สามารถลดต้ นทุนการทำธุรกิจใหม่ ๆ ในยูเออีได้อีกมาก ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรั พย์เห็นว่าธุรกิจก่อสร้างในดู ไบ/ยูเออียังสามารถดึงดู ดความสนใจจากต่างชาติได้เสมอ โดยเฉพาะหากนักลงทุนต่างชาติ มองเห็นโอกาสในการเป็นเจ้าของธุ รกิจได้ 100% นอกจากนี้ เรื่องนี้จะดึงดูด FDI และการลงทุนเข้ามาในดูไบ/ยูเออี ได้อีกด้วย รวมทั้งการเพิ่มกิ จกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักธุรกิ จท้องถิ่นที่กำลังต่อสู้กั บความท้าทายทางเศรษฐกิจในช่วงนี้ และจะดึงให้ธุรกิจปรับปรุงไปสู่ การแข่งขันได้มากขึ้น ซึ่งการลงทุนจากต่ างประเทศจะทำให้ดึงผู้เล่ นรายใหม่ ๆ มาสู่ตลาด
[su_spacer]
อนึ่ง เป็นที่สังเกตว่ารัฐบาลดูไบ/ยู เออีปัจจุบันมีเป้าหมายในการปฏิ รูปกฎหมาย ระเบียบ และลดหรือยกเลิกค่าธรรมเนี ยมในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ รวมทั้งปรับปรุงกลไกทางเศรษฐกิ จให้ทันสมัยมากขึ้นและสอดรั บการเป็นเมืองที่ทันสมัยที่สุ ดของโลกอาหรับหรือ MENA ในอนาคต ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งเสริมธุ รกิจ Startups และการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี และการปรับปรุงภาคราชการให้ สอดคล้องกับสังคมยุค disruption รวมไปถึงการปรับปรุงอันดับ ease of doing business และดัชนีต่าง ๆ ในระดับโลกให้สูงขึ้น