หลังจากที่ไต้หวันผ่านกฎหมายอนุญาตให้กลุ่มเพศทางเลือกหรือ LGBT (Lesbian, Gay, Bisexual, and Transgender) จดทะเบียนสมรสกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา
ไต้หวันคาดว่ากฎหมายดังกล่าวจะส่งผลด้านดีต่อไต้หวันในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งในด้านการเพิ่มผลผลิต การจ้างงาน และการลดความเครียดในสถานที่ทำงาน โดยเชื่อว่าการเปิดกว้างและการยอมรับความหลากหลายทางเพศในสังคมจะช่วยให้ไต้หวันมีความน่าดึงดูดต่อการประกอบอาชีพและการทำธุรกิจ
[su_spacer]
ในช่วงก่อนหน้าการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ มีบริษัทไต้หวัน องค์กรต่างชาติ และบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกจำนวนกว่า 20 บริษัท ได้แถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) ให้การสนับสนุนและผลักดันร่างกฎหมายฉบับนี้ อาทิ กูเกิล (Google) ไมโครซอฟท์ (Microsoft) แอร์บีเอ็นบี (Airbnb) เป็นต้น โดยบริษัทเหล่านี้เห็นว่า หลังจากไต้หวันได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จะทำให้สินค้าผลิตในไต้หวันมีปริมาณลดน้อยลงและความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจชะงักลง ในปี 2557 รัฐบาลจึงออกกลยุทธ์ใหม่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างมูลค่าทางอุตสาหกรรม (high value industries) ด้วยการดึงดูดผู้เชี่ยวชาญต่างชาติและสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาคเพื่อผลักดันไต้หวันเข้าสู่ตลาดเศรษฐกิจโลกอย่างแท้จริง
[su_spacer]
หนึ่งในกำลังสำคัญที่จะผลักดันการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของไต้หวันคือการให้สิทธิและเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกับกลุ่ม LGBT เพราะความหลากหลาย การมีส่วนร่วม การให้เกียรติ ความเท่าเทียม และการไม่เลือกปฏิบัติ จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้บริษัทแข็งแรงและเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ จากข้อมูลในแถลงการณ์ร่วม การจดทะเบียนสมรสกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายจะมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของไต้หวันได้ใน 3 ด้าน ดังนี้
[su_spacer]
ข้อแรก กระตุ้นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ในบริษัท
เป้าหมายในการสร้างมูลค่าทางอุตสาหกรรม (high value industries) และเป็น The Asia Silicon Valley ของไต้หวันจำเป็นต้องมีสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนด้านนวัตกรรม (innovation ecosystem) จากการศึกษาของ US cities พบว่า LGBT เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ ทั้งในเชิงของผู้ประกอบการรุ่นใหม่และผู้ที่มีความสนใจทางอุตสาหกรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านการสร้างมูลค่าทางอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น การเปิดกว้างให้ LGBT มีส่วนร่วมและมีเสรีในการแลกเปลี่ยนทางความคิด วัฒนธรรม และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไต้หวันประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมาย
[su_spacer]
ข้อสอง ความเสมอภาคในการแต่งงานช่วยลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ
ปัจจุบันไต้หวันประสบปัญหาอัตราการเกิดน้อยลงและก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจึงทำให้มีผลผลิตแห่งชาติ (National Productivity) ลดลง การเปิดให้เพศทางเลือกแต่งงานกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งแสดงถึงการยอมรับความแตกต่างในสังคมจะสามารถดึงดูดคนเข้ามาอยู่อาศัยและทำงานในไต้หวัน อันจะนำไปสู่อัตราการจ้างงานที่มากขึ้นและส่งผลให้อัตราการผลิตเพิ่มมากขึ้นด้วย
[su_spacer]
จากการวิจัยของ Deloitte พบว่า การที่ไต้หวันอนุมัติความเท่าเทียมของ LGBT อย่างเป็นทางการ ทำให้กลุ่มเพศทางเลือกมีคุณภาพชีวิตที่เท่าเทียมกับคนอื่นในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะการศึกษา การใช้ชีวิต และความมั่นคงทางการเมือง สิ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะดึงดูดแรงงานเข้ามาทำงานในไต้หวันเพิ่มมากขึ้นและสนับสนุนให้ไต้หวันเป็นตลาดแรงงานที่ไร้พรมแดน (Global Market) ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
[su_spacer]
นอกจากนี้การเปิดกว้างทางเพศยังทำให้ไต้หวันเป็นที่จับตาในการลงทุนของบริษัทต่างชาติ โดยข้อมูลของ The Pew Global Attitudes Survey with FDI data ยังพบว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment – FDI) จะเพิ่มมากขึ้นหากคนในสังคมยอมรับกลุ่มเพศทางเลือกมากขึ้น
[su_spacer]
ข้อสาม LGBT ช่วยให้บริษัททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
[su_spacer]
กลุ่ม LGBT มักเป็นกลุ่มที่สร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานได้เป็นอย่างดี จึงช่วยเสริมสร้างบรรยากาศในที่ทำงาน ทั้งนี้ ก่อนหน้าการผ่านกฎหมายให้กลุ่มเพศทางเลือกจดทะเบียนสมรสได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ธุรกิจในไต้หวันได้ถูกจัดให้เป็นบริษัทที่มีความชื่นชอบน้อยที่สุดอันดับ 3 ในด้านสภาพแวดล้อมทางการทำธุรกิจ เนื่องจากพนักงานกลุ่มเพศทางเลือกไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้นอกที่ทํางาน ดังนั้น การได้รับการยอมรับในสังคมอย่างเป็นทางการจะส่งผลให้บุคคลทั้งที่เป็น LGBT และไม่ได้เป็น ต้องการสมัครงานในบริษัทไต้หวันมากขึ้น โดยจากการศึกษาของ Center for Talent Innovation 2016 พบว่า ร้อยละ 72 ของบุคคลที่เป็นตลาดแรงงานข้ามชาติต้องการจะทำงานในบริษัทที่มีการยอมรับในความแตกต่างและเปิดกว้างต่อเพศทางเลือก