เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2562 นครลอสแอนเจลิสได้มีการจัดงาน World Trade Week Kickoff Breakfast ครั้งที่ 93 จัดโดยคณะกรรมการ World Trade Week และ LA Area Chamber of Commerce มีผู้เข้าร่วมประมาณ 850 คน โดยมีนาง Nina Hachigian รองนายกเทศมนตรีนครลอสแอนเจลิส เป็นตัวแทนนาย Eric Garcetti นายกเทศมนตรีฯ กล่าวเปิดงานด้วยการระบุสถิติต่าง ๆ ของท่าเรือและท่าอากาศยานนครลอสแอนเจลิสในปี 2561 ที่แสดงให้เห็นว่า นครลอสแอนเจลิสเป็นเมืองท่าที่สําคัญที่สุดในฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ และเป็นเมืองที่มีประสิทธิผลสูงสุด (most productive) ในประเทศ
[su_spacer]นอกจากนี้ นครลอสแอนเจลิสยังตั้งเป้าที่จะเป็นเมือง carbon-neutral หรือเมืองที่สามารถกําจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เท่ากับปริมาณก๊าซที่ปล่อยออกมา หรือเรียกได้ว่ามีระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2050 อย่างไรก็ดี ลอสแอนเจลิสยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม และต้องพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน (โดยยกตัวอย่าง โครงการปรับปรุงท่าอากาศยาน LAX ด้วยงบประมาณ 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง การเปลี่ยนรถเมล์ทุกคันให้เป็นรถไฟฟ้า และการเพิ่มสถานีบริการชาร์จไฟฟ้า) และต้องลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ให้มากขึ้นเพื่อให้ สามารถแข่งขันระดับโลกได้
[su_spacer]ทั้งนี้ ภายในงานยังมีพิธีมอบรางวัล ซึ่งผู้จัดได้มอบรางวัลผู้ส่งออกดีเด่น (Export Achievement Award) ให้แก่ (1) บริษัท DimEye Corp. ผู้ให้บริการตรวจวัดพื้นที่แบบ 3 มิติ ด้วยเทคโนโลยีการรังวัดด้วยภาพดิจิทัลและเลเซอร์ ในพื้นที่ที่ยากแก่การเข้าถึง เช่น ใต้ทะเลลึก หรือพื้นที่เสี่ยงภัย และ (2) บริษัท Frazier Aviation ผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องบิน นอกจากนี้ ยังมีรางวัลการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศดีเด่น (FDI Award) ซึ่งได้มอบให้แก่ (1) บริษัท California Steel Industries, Inc. (บริษัทร่วมทุนของญี่ปุ่นและบราซิล) ผู้ผลิตเหล็ก แผ่นม้วน และเป็นผู้นําเข้าวัตถุดิบเหล็กแท่งรายใหญ่ที่สุดในมลรัฐแคลิฟอร์เนียโดยน้ำหนัก และ (2) สายการบิน Turkish Airlines
[su_spacer]การสัมมนาภายในงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็นทิศทางระบบเศรษฐกิจและการค้าของโลก นาย Udo Lange ประธานบริษัท FedEx Trade Networks Transportation and Brokerage กล่าวว่า หลักการวิเคราะห์สภาพตลาดโลกที่ตนเห็นว่าดีกว่า SWAT analysis ก็คือ PEST analysis (Political, Economic, Social, Technology) โดยยกตัวอย่างปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ บริบททางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และความสําคัญของเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
[su_spacer](1) blockchain ซึ่งจะปฏิวัติ (revolutionize) รูปแบบการดําเนินธุรกิจในโลกอนาคต โดยจะช่วยให้สามารถติดตาม (track) ทุกความเคลื่อนไหวระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ช่วยยืนยันความถูกต้องและความปลอดภัยของสินค้า และสร้าง accountability ได้ตลอดทั้งห่วงโซ่แห่งคุณค่า (value chain)
[su_spacer](2) เทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ขายไม่ต้องขนส่งหรือทําคลังสินค้าบางชนิด (เช่น อะไหล่) อีกต่อไป แต่ผู้ซื้อสามารถซื้อแบบ/หามิติ ของอะไหล่ชิ้นนั้นจากระบบ cloud และสั่งพิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติแทน ซึ่งหากผู้ประกอบการไม่รู้จักปรับตัวและนําเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ ก็อาจเสี่ยงที่จะต้องสูญเสียทางธุรกิจ
[su_spacer]นาย Jonathan Woetzel ผู้อำนวยการสถาบัน McKinsey Global Institute ของบริษัท McKinsey & CO. เป็นผู้ดําเนินรายการในการอภิปรายเป็นคณะเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัตน์และห่วงโซ่แห่งคุณค่า และการรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก โดยนาย Woetzel เห็นว่า การค้าโลกในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมากจากเมื่อยุคปี 2000 โดยการค้าสินค้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มลดลง (ส่วนหนึ่งเป็นเพราะจีนสามารถผลิตและบริโภคสินค้าที่ผลิตได้ภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น) และสินค้าส่วนใหญ่ที่ตลาดต้องการคือสินค้าเทคโนโลยี และสินค้าคุณภาพสูงที่มีการทํา R&D มาเป็นอย่างดี มากกว่าสินค้าจากแรงงานราคาถูก (ร้อยละ 80 ของมูลค่าการค้าสินค้าในตลาดโลกเป็นการค้าขายกันเอง ระหว่างประเทศที่มีค่าแรงสูง) ทั้งนี้ สิ่งที่เพิ่มขึ้นมากคือการค้าบริการระหว่างประเทศ (สูงขึ้นจากเมื่อ 20 ปีก่อนราวร้อยละ 60)
[su_spacer]ทั้งนี้ คณะผู้อภิปรายเห็นตรงกันว่า สิ่งที่สร้างและกําลังจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้การค้าโลก ได้แก่
[su_spacer](1) การค้าออนไลน์ (e-Commerce) ซึ่งทําให้ทั้ง supplier ผู้ขาย และผู้ให้บริการ ต้องเพิ่มความเร็วขึ้นในทุกขั้นตอน
[su_spacer](2) เทคโนโลยี blockchain ซึ่งจะสร้างความโปร่งใสให้การค้าโลกทั้งระบบ
[su_spacer](3) ความตื่นตัวเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทําให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และส่งผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้นตามไปด้วย โดยยกตัวอย่างท่าเรือลอสแอนเจลิสที่ตั้งเป้าว่าจะเป็นท่าเรือที่ใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ (zero-emissions port equipment) ภายในปี ค.ศ. 2030 แต่ข้อริเริ่มดังกล่าวก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายกว่า 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งท่าเรือฯ อาจต้องไปเรียกเก็บทางอ้อมจากบริษัทที่มาใช้บริการ
[su_spacer]สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส