สํานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์ ได้รายงานว่า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จํากัด (มหาชน) หรือ CPF เริ่มเดินหน้าธุรกิจการเกษตร และอาหารในแคนาดาอย่างเต็มตัว โดยเมื่อปลาย เดือนเมษายนที่ผ่านมาบริษัท CPF ได้เข้าซื้อหุ้นในกิจการของบริษัท Hylife ซึ่งประกอบธุรกิจการเลี้ยง และแปรรูป สุกรแบบครบวงจรรายใหญ่ของแคนาดาด้วยจํานวนเงิน 498 ล้านเหรียญแคนาดา หรือประมาณ 12,000 ล้านบาท ผ่านบริษัท CPF Canada Holdings Corp. การเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ทําให้ CPF กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ HyLife ในสัดส่วนร้อยละ 50.1 ส่วนหุ้นที่เหลือเป็นของบริษัท Itochu Corp. ของญี่ปุ่นซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ CPF อยู่แล้ว การเข้าครอบครองธุรกิจของ CPF ในบริษัท Hylife คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ภายใน 8 เดือนนับจากวัน ลงนามในสัญญาฯ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของแคนาดา รวมทั้งการยื่นแบบควบคุมการควบรวม ธุรกิจ (Merger Control Filing) และมีการปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อบังคับที่ระบุไว้ในสัญญาเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ CPF ยังมีแผนจะเข้าซื้อหุ้นส่วนที่เหลือทั้งหมดอีกร้อยละ 30 ในบริษัท Charoen Pokphan Food Canada (CPF Canada) ซึ่งดําเนินธุรกิจนําเข้า และส่งออกอาหารจากผู้ถือหุ้นรายอื่นเพื่อให้กลุ่ม CPF มีสัดส่วนการถือหุ้นทั้งหมด ของบริษัทฯ คิดเป็นมูลค่ารวม 3 แสนเหรียญแคนาดาหรือประมาณ 7 ล้านบาท [su_spacer size=”20″]
บริษัท HyLife ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1994 ที่รัฐแมนิโทบา เริ่มต้นจากการทําฟาร์มเลี้ยงสุกร จากนั้น จึงเริ่มขยายธุรกิจไปสู่การแปรรูป การผลิตอาหารสัตว์ บริษัทฯ ได้จําหน่ายเนื้อสุกรทั่วแคนาดา และสหรัฐฯ ก่อนจะ ขยายตลาดไปยังจีน และอีกกว่า 20 ประเทศทั่วโลก ปัจจุบันบริษัทฯ มีโรงงานแปรรูปเนื้อสุกรจํานวน 3 แห่ง ตั้งอยู่ที่แคนาดา 1 แห่ง และอีก 2 แห่งที่เม็กซิโก จากผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง และการมีผู้ร่วมทุนที่แข็งแกร่งจากญี่ปุ่น อย่าง Itochu Corp. ทําให้ HyLife กลายเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรแช่เย็นอันดับหนึ่งจากแคนาดาไปยังญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดระดับพรีเมี่ยม การลงทุนใน HyLife ครั้งนี้จะทําให้ CPF สามารถเข้าถึงฐานการผลิตที่มีต้นทุนต่ำ และมีความ มั่นคงทางชีวภาพสูง รวมถึงโอกาสในการเข้าสู่ตลาดทวีปอเมริกาเหนือในอนาคต และยังเป็นการเพิ่มศักยภาพ ของ CPF ในการเจาะตลาดพรีเมี่ยมในประเทศที่มีความสําคัญต่อยุทธศาสตร์ของบริษัทฯ นอกจากนี้ยังเป็นการเปิด โอกาสให้ CPF ได้รับความรู้เชิงเทคนิค เทคโนโลยีที่ทันสมัย และแนวปฏิบัติที่ดีในด้านต่างๆ อาทิ สูตรอาหารสัตว์ การพัฒนาปรับปรุงพันธุ์สัตว์ การบริหารจัดการฟาร์ม และการแปรรูปเนื้อสุกร เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
การเข้าไปลงทุนในแคนาดาของ CPF ครั้งนี้เป็นก้าวสําคัญที่น่าสนใจของอุตสาหกรรมการเกษตร และอาหารแปรรูปของไทยในภูมิภาคอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกลงทุน และสร้างฐานการผลิตใน แคนาดาแทนที่จะเป็นสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่กว่ามาก อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ อาจไม่ค่อยได้รับทราบกันมากนักก็คือ นอกจากแคนาดาจะเป็นประเทศที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก แล้ว ยังมีภาคการเกษตรที่ถือว่าใหญ่ และเข้มแข็งมาก ธุรกิจในภาคการเกษตรของแคนาดาในแต่ละปีมีมูลค่ารวม ประมาณ 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 6 ของ GDP มีการส่งออกสินค้าเกษตร มากกว่า 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในแต่ละปี นับเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรอันดับที่ 5 ของโลก สินค้าหลัก ได้แก่ ธัญพืช อาทิ ข้าวสาลี คาโนลา ถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ประมง ผลิตภัณฑ์นม เบเกอรี่ ผัก และผลไม้ เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ แคนาดายังเป็นประเทศที่มีความหลายหลายทางเชื้อชาติมากประเทศหนึ่งของโลก ในช่วง หลังที่ผ่านมาแคนาดามีนโยบายเปิดประเทศมากขึ้น เริ่มยอมรับความแตกต่างหลากหลายจากประเทศอื่นๆ มาก ขึ้นในทุกๆด้าน โดยเฉพาะด้านการค้า และการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศแคนาดามุ่งสร้างเสถียรภาพของ ประเทศในด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมให้เข็มแข็งมากขึ้น เนื่องจากตระหนักแล้วว่าขีดความสามารถในการ แข่งขันทางการเกษตร และอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศลดต่ำลงมากจากต้นทุนที่สูงขึ้น แคนาดาจึงจําเป็นต้องสร้างความหลากหลายให้กับประเทศในทุกๆด้าน ทั้งในด้านการผลิตด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความหลากหลายของประเภทสินค้าทั้งสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม และสินค้าบริการ เพิ่มความหลากหลาย ของประเทศคู่ค้าโดยลดการพึ่งพาแต่เพียงสหรัฐอเมริกาลง และสร้างพันธมิตรทางการค้าที่แน่นแฟ้นกับประเทศ อื่นๆ แคนาดาเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีทางด้านการเกษตร และการผลิตอยู่ในระดับสูง มีการควบคุมมาตรฐาน การผลิตสินค้าเกษตรในระดับสากลเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ หากสามารถส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยน เทคโนโลยี นวัตกรรมทางด้านการเกษตร และอุตสาหกรรมการผลิตกับผู้ประกอบการของไทยได้มากขึ้นจะทําให้เกิดการต่อยอด และนํานวัตกรรมสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในด้านการเกษตรและการผลิตในประเทศไทยมากขึ้น [su_spacer size=”20″]
จากเหตุผลต่างๆดังกล่าว แคนาดาจึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่น่าสนใจในการลงทุนสําหรับ ผู้ประกอบการไทยที่สนใจจะขยายธุรกิจไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนืออย่างยิ่ง นอกจากธุรกิจขนาดใหญ่อย่าง CPF แล้ว ผู้ประกอบธุรกิจการเกษตรขนาดกลางหรือขนาดเล็กก็น่าที่จะลองศึกษาข้อมูล และช่องทางในการประกอบ ธุรกิจในประเทศแคนาดาเพื่อหาโอกาสเพิ่มศักยภาพของตนในตลาดภูมิภาคอเมริกาเหนือต่อไป หรือหากผู้ ประกอบธุรกิจการเกษตรรายย่อยของไทยต้องการประกอบธุรกิจร่วมทุนกับนักลงทุนของแคนาดาในประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการเกษตรของตนก็มีความเป็นไปได้สูง ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ และอํานวยความสะดวกในการจับคู่ทางธุรกิจ และ สนับสนุนให้ผู้ประกอบการรายย่อยของไทยสามารถหาหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (Business Strategic Partners) เพื่อการประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกษตรกรของแคนาดามีระบบการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการด้านการเกษตร และวิธีดําเนินการที่ดี (Best Practices) เมื่อรวมกับเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ทันสมัย ทําให้เกษตรกรทั้งหมดของแคนาดาในปัจจุบันสามารถยกระดับการพัฒนาตนเองให้กลายสภาพไปเป็นนักธุรกิจ (entrepreneurs) มืออาชีพในด้านการเกษตร เหมาะสมที่เกษตรกรของไทยจะใช้เป็นรูปแบบในการพัฒนา และยกระดับเกษตรกรรมให้กลายเป็นธุรกิจที่สร้างความมั่นคงให้กับครอบครัว และเป็นหลักสําคัญในการพัฒนา ประเทศให้ก้าวไปสู่การเป็น Thailand 4.0 ได้อย่างสมบูรณ์ [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา