นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย ได้ประกาศแนวทางเศรษฐกิจใหม่ที่จะนํามาใช้แทนวิสัยทัศน์ 2020 ของมาเลเซีย รายละเอียดเกี่ยวกับการประกาศแนวทางเศรษฐกิจใหม่ บนพื้นฐานของหลักการ “ความมั่งคั่งร่วมกัน (Shared Prosperity)” โดย แนวทางเศรษฐกิจดังกล่าวมีเป้าหมายหลัก 3 ประการ ได้แก่ 1) การลด ความเหลื่อมล้ำของรายได้ 2) การสร้างระบบเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าบนพื้นฐานของความรู้และคุณค่า โดยประชาชนมาเลเซีย ในทุกระดับมีส่วนร่วม และ 3) การทําให้มาเลเซีย เป็นระบบเศรษฐกิจชั้นนําของเอเชีย เพื่อไปสู่เป้าหมายสูงสุดคือการทําให้ประชาชนมาเลเซีย ทุกคน ไม่ว่าจะเชื้อชาติหรือชนชั้นใด และไม่ว่าจะอยู่ ในเมืองหรือชนบท มีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีภายในปี ค.ศ. 2030 [su_spacer size=”20″]
ยุทธศาสตร์เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวมี 7 ด้าน ได้แก่ 1) การปรับโครงสร้างของระบบนิเวศทางธุรกิจและอุตสาหกรรมให้รองรับอนาคตด้วยการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 2) การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจดิจิทัลและส่งเสริมอาชีพที่ใช้ทักษะสูง 3) การส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพในการเติบโต และการเปลี่ยนแปลงมาเลเซียจากประเทศผู้บริโภคไปเป็นผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานสากล 4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการปรับปรุงตลาดแรงงานและอัตราค่าจ้าง 5) การช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้น้อยบนพื้นฐานของความต้องการ(need-based) และการพัฒนาศักยภาพในการช่วยเหลือตัวเองให้หลุดพ้นจากความยากจน 6) การลดความแตกต่างของระดับการพัฒนาระหว่างเมืองกับชนบท ระหว่างรัฐต่าง ๆ และระหว่างมาเลเซียตะวันออกกับมาเลเซียตะวันตก และ 7) การพัฒนาต้นทุนและกลไกทางสังคมให้สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการสร้างสังคมแห่งความรู้ประชาชนขยันและอดทน และมีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน แนวทางเศรษฐกิจใหม่ดังกล่าวจะไม่วัดความสําเร็จจากการเติบโตของ GDP แต่จะวัดจากความยากจนที่ลดลง และการกระจายความมั่งคั่งไปสู่ประชาชนมาเลเซียทุกคนอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม [su_spacer size=”20″]
แนวทางเศรษฐกิจใหม่ดังกล่าวจะถูกนํามาใช้แทนวิสัยทัศน์ 2020 ของมาเลเซีย ซึ่งไม่ประสบ ความสําเร็จ โดย นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย วิจารณ์ว่ามีแต่จะทําให้ประเทศเป็นหนี้มากขึ้นจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นการจ้างแรงงานทักษะต่ำ นอกจากนั้น กิจการจํานวนมากยังตกอยู่ในมือของทุนต่างชาติและความเจริญกระจุกตัวอยู่เฉพาะในเมืองใหญ่ โดยรัฐบาลมาเลเซียจะรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในทุกระดับเพื่อปรับปรุงและพัฒนารายละเอียดของแนวทางเศรษฐกิจใหม่ดังกล่าวก่อนบรรจุในแผนพัฒนาประเทศฉบับที่ 12 (ค.ศ. 2021-2025) และ 13 (ค.ศ. 2026-2030) ต่อไป [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย ได้ใช้โอกาสในการกล่าว special address ครั้งนี้เรียกการสนับสนุน จากประชาชนด้วย โดย 1) ผลงานที่ผ่านมา โดยเฉพาะการกอบกู้ประเทศจากการทุจริตของรัฐบาล ที่แล้ว และการปฏิบัติตามนโยบายที่หาเสียงไว้ 2) ชี้แจงในส่วนที่ยังทําไม่สําเร็จว่า ความเสียหาย ที่รัฐบาลที่แล้วสร้างไว้มากเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะต่อสถานะการคลังของประเทศ ทําให้รัฐบาล ต้องจัดลําดับความสําคัญใหม่ และยังไม่สามารถปฏิบัติตามนโยบายที่หาเสียงไว้ได้ทั้งหมด และ 3) โจมตี พรรค PAS และ UMNO ว่าพยายามเล่นการเมืองเพื่อประโยชน์ของตัวเอง โดยอ้างการปกป้องคนเชื้อชาติ มลายูและศาสนาอิสลาม พร้อมทั้งเรียกร้องให้หยุดการกระทําดังกล่าว รวมทั้งการเลือกใช้คําว่า Shared Prosperity น่าจะมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้เกิดความรู้สึก เป็นธรรมและโอกาสที่เท่าเทียมระหว่างคนเชื้อชาติต่าง ๆ ใน นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าสนใจติดตาม ต่อไปคือการนําหลักการดังกล่าวไปปฏิบัติ โดยไม่กระทบต่อนโยบายภูมิบุตร ซึ่งยังเป็นส่วนหนึ่งของ นโยบายพรรคร่วม PH เพื่อรักษาฐานเสียงคนมลายู [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์