“ผิงเสียง” เป็นเพียงเมืองเดียวของจีนที่มี “เส้นทางรถไฟระหว่างประเทศ” เชื่อมกับประเทศสมาชิกอาเซียน ถึงสถานี Gia Lam ในกรุงฮานอยของเวียดนาม ซึ่งนอกจากการขนส่งผู้โดยสารแล้ว ปัจจุบัน กว่างซีและเวียดนามกำลังพัฒนาเส้นทางรถไฟดังกล่าวสำหรับการขนส่งตู้สินค้าอีกด้วย [su_spacer size=”20″]
การขนส่งตู้สินค้า (ตู้ธรรมดา) ด้วยรถไฟระหว่างประเทศเริ่มขึ้นเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2560 ในเส้นทางรถไฟขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ “นครหนานหนิง-กรุงฮานอย” นับเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกในแวดวงโลจิสติกส์จีนกับอาเซียนในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศด้วยระบบราง [su_spacer size=”20″]
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2562 ได้มีการเปิดเส้นทางรถไฟขนส่ง “ตู้คอนเทนเนอร์เย็น” หรือ Reefer Container เป็นครั้งแรกในเส้นทางกว่างซี (ผิงเสียง)-เซี่ยงไฮ้ ซึ่งนับเป็นอีกปรากฎการณ์ใหม่ของการขนส่งสินค้าด้วยระบบรางเพื่อกรุยทางสู่การขนส่งทางรถไฟระหว่างประเทศในอนาคต [su_spacer size=”20″]
ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเส้นทางรถไฟขนส่ง “ตู้ Reefer” กว่างซี(ผิงเสียง)-เซี่ยงไฮ้ มีดังนี้
- เที่ยวขบวนรถไฟที่ 79990 จำนวน 25 โบกี้
- สินค้าหลัก คือ แก้วมังกรและลำไย
- รวมระยะทาง 2,331 กิโลเมตร
- ใช้เวลาการขนส่งราว 70 ชั่วโมง (เกือบ 3 วัน) สามารถย่นระยะเวลาลงกว่า 50 ชั่วโมงเมื่อเทียบการขนส่งด้วยรถไฟสินค้าธรรมดา
- เป็นการขนส่งแบบ Door to Door จากศูนย์โลจิสติกส์ด่านรถไฟผิงเสียง ถึงสถานีปลายทางเซี่ยงไฮ้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายสินค้า
- ระยะแรกจะวิ่งให้บริการเดือนละ 2 เที่ยว เมื่อทุกอย่างลงตัวจะเพิ่มเป็นเดือนละ 15 เที่ยว
- มีบริษัท Guangxi Ningtie International Logistics Co., Ltd. เป็นผู้ให้บริการเส้นทางรถไฟดังกล่าว [su_spacer size=”20″]
ตามรายงาน เร็ว ๆ นี้ จะมีการเพิ่มเส้นทางไปถึงสถานีเจียซิงตะวันออก ในมณฑลเจ้อเจียง และยังวางแผนขยายเส้นทางรถไฟไปถึงสถานีกรุงปักกิ่งและนครเจิ้งโจวของมณฑลเหอหนาน [su_spacer size=”20″]
ในส่วนของเส้นทางระหว่างประเทศ กว่างซีมีแผนพัฒนาความร่วมมือกับเวียดนามเพื่อขยายเส้นทางจากกรุงฮานอย ลงไปถึงนครโฮจิมินห์ และเชื่อมกับรถไฟ China-Europe Railway Express เพื่อเชื่อมอาเซียน-จีน-ยุโรปเข้าด้วยกันอีกด้วย [su_spacer size=”20″]
ข้อสังเกตคือ สินค้าผลไม้ล็อตแรกจากเวียดนามที่ขนส่งด้วยรถไฟไม่ได้วิ่งตรงจากประเทศเวียดนามแต่อย่างใด เนื่องจากด่านรถไฟผิงเสียงยังไม่ได้รับการอนุมัติจากส่วนกลางให้เป็นด่านนำเข้าผลไม้จากต่างประเทศ (กำลังรออนุมัติ) โดยสินค้าเหล่านี้ลำเลียงด้วยรถบรรทุกมาผ่านพิธีการที่ด่านโหย่วอี้กวาน เพื่อมาขึ้นรถไฟที่ศูนย์โลจิสติกส์ด่านรถไฟผิงเสียงก่อนจะวิ่งตรงไปยังนครเซี่ยงไฮ้ [su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ดี การขนส่งในครั้งนี้เป็นความเคลื่อนไหวสำคัญที่เมืองผิงเสียงใช้กรุยทางให้ด่านรถไฟผิงเสียงเป็นด่านนำเข้าผลไม้จากต่างประเทศในอนาคต [su_spacer size=”20″]
ประโยชน์จากเส้นทาง “กว่างซี(ผิงเสียง)-เซี่ยงไฮ้” คือ การบุกเบิกช่องทางการขนส่งและโลจิสติกส์ทางรางที่จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมโยงงานขนส่งโลจิสติกส์ระหว่างจีนกับอาเซียนให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ ระบบรางยังเป็นเครื่องมือการขนส่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ค้าสามารถขยายช่องทางการค้าและลดความแออัดของด่านโหย่วอี้กวานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมเวลาในการขนส่งได้ค่อนข้างตรงเวลา ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายน้อยลง และสินค้ามีความเสียหายน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการขนส่งทางบก (ถนน) [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง