นครแฟรงก์เฟิร์ตได้แสดงถึงเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางด้าน Fintech ในทวีปยุโรป จากบทความเรื่อง “การพัฒนาให้นครแฟรงก์เฟิร์ตและเขตไรน์-ไมน์ เป็นศูนย์กลางด้าน Fintech ในทวีปยุโรปของรัฐเฮสเซิน” ตามที่ปรากฏในนิตยสารหอการค้าและอุตสาหกรรม (IHK) นครแฟรงก์เฟิร์ต ประจําเดือน พ.ค. 2562 เขียนโดย ดร. Philipp Nimmermann ปลัดกระทรวงเศรษฐกิจ รัฐเฮสเซิน ซึ่งสรุปสาระสําคัญได้ว่า รัฐบาลรัฐเฮสเซินมีเป้าหมายพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินให้เติบโต โดยมุ่งหวังให้นครแฟรงก์เฟิร์ต และเขตไรน์-ไมน์ เป็นศูนย์กลางด้าน Fintech ของทวีปยุโรปภายในระยะเวลา 5 ปี ทั้งนี้ การเข้าตลาดหลักทรัพย์ DAX Index ของบริษัท wirecard ซึ่งเป็นบริษัทที่ดําเนินธุรกิจด้าน Fintech เมื่อปีที่ผ่านมา เป็นสิ่งบ่งชี้ถึงบทบาทที่สําคัญของเทคโนโลยีทางการเงิน โดยเฉพาะ Fintech ที่เติบโตขึ้นมาอยู่ในระดับเดียวกับธุรกิจด้านการเงินสาขาอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว อนาคตของธุรกิจด้านการเงินจึงมีแนวโน้มปรับรูปแบบเป็นดิจิทัล รัฐบาลรัฐเฮสเซินจึงตั้งใจผลักดันนครแฟรงก์เฟิร์ตในฐานะที่เป็นเมืองศูนย์กลางด้านการเงิน ให้เป็นผู้นําในการพัฒนาธุรกิจสาขานี้ ซึ่งจะส่งผลเชิงบวกทางเศรษฐกิจต่อทั้งรัฐเฮสเซ็นและเยอรมนีด้วย [su_spacer size =”20″]
การเป็นศูนย์กลางทางด้านการเงินของโลกจําเป็นต้องพัฒนาความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการเงินและการให้บริการ นครแฟรงก์เฟิร์ตจึงมีคุณสมบัติที่เหมาะสมอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลางด้านการธนาคารของยุโรปที่มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ก้าวหน้ารองรับการพัฒนาดังกล่าว ซึ่งการพัฒนาด้าน Fintech ของนครแฟรงก์เฟิร์ตและเขตไรน์-ไมน์ ได้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและสามารถดึงดูดกลุ่มสตาร์ทอัพใหม่ ๆ เข้ามามากขึ้น [su_spacer size =”20″]
แผนการผลักดันให้นครแฟรงก์เฟิร์ตและเขตไรน์-ไมน์ เป็นศูนย์กลางด้าน Fintech หลัก ๆ มีทั้งการออกนโยบายสนับสนุนผู้เป็นอัจฉริยะและผู้มีความคิดสร้างสรรค์ การสร้างเครือข่าย การสนับสนุนทางการเงิน และการทําให้แนวคิดที่มีความโดดเด่นต่าง ๆ สามารถปรับเปลี่ยนเป็นการดําเนินธุรกิจเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งแนวทางทั้งหมดดังกล่าวจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้นครแฟรงก์เฟิร์ตและเขตไรน์-ไมน์ ทั้งนี้ ฝ่ายการเมือง ภาคธุรกิจ และฝ่ายวิชาการจําเป็นต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยแนวทางดังกล่าวเป็นกระบวนการแบบเปิดกว้าง ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ได้ ดังนั้น การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในอนาคตจึงเป็นสิ่งจําเป็น [su_spacer size =”20″]
การก่อตั้ง TechQuatier เมื่อ 2 ปีครึ่งที่ผ่านมาสําหรับให้บริการกลุ่มสตาร์ทอัพในเรื่องของพื้นที่ทํางานที่น่าสนใจและราคาย่อมเยา โปรแกรมที่หลากหลาย โอกาสการสร้างเครือข่ายและแลกเปลี่ยนข้อมูล การเข้าถึง กลุ่มผู้ลงทุน และการให้คําแนะนําปรึกษา นับเป็นก้าวแรกที่สําคัญของเส้นทางไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้าน Fintech ที่สําคัญในระดับสากล และสิ่งสําคัญที่สุดที่ทําให้ TechQuatier แตกต่างจากศูนย์ทางธุรกิจแห่งอื่น ๆ คือ การทําหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มให้สถาบัน/ธุรกิจการเงิน สาขาเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสถาบันวิชาการในเขตสามารถทํางานร่วมกันได้ [su_spacer size =”20″]
แนวความคิดของ TechQuatier ได้รับความสนใจอย่างรวดเร็ว และปัจจุบันได้รับการสนับสนุนหลักจากภาคธุรกิจการเงินที่มีชื่อเสียงและกลุ่มบริษัทให้คําปรึกษาแนะนําด้านธุรกิจในนครแฟรงก์เฟิร์ตและสตาร์ทอัพมากกว่า 150 ราย โดยเฉพาะสตาร์ทอัพด้าน Fintech ที่ใช้บริการของ TechQuatier เป็นจํานวนมาก ซึ่งในปี ค.ศ. 2018 TechQuatier ได้มีการจัดงานและนิทรรศการต่าง ๆ มากกว่า 250 งาน [su_spacer size =”20″]
ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า นครแฟรงก์เฟิร์ตได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของภาคการธนาคารยุโรปแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะความมุ่งหวังที่จะขึ้นมาแทนที่กรุงลอนดอนภายหลัง BREXIT ซึ่งพื้นฐานที่สําคัญของโลกของภาคการเงินและการธนาคารแห่งอนาคต คือ การพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีทางการเงิน ดังนั้น การที่รัฐบาลรัฐเฮสเซินมีเป้าหมายในการผลักดันให้นครแฟรงก์เฟิร์ต และเขตไรน์-ไมน์ เป็นศูนย์กลางด้าน Fintech ในทวีปยุโรปภายในระยะเวลา 5 ปี จึงนับเป็นเป้าหมายที่สําคัญในการสร้างพื้นฐานให้นครแฟรงก์เฟิร์ตก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการเงินของยุโรปได้อย่างแท้จริง [su_spacer size =”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต