อุตสาหกรรมการบินพลเรือนของจีนกำลังเร่งก้าวสู่ยุคดิจิทัล โดยประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ยกระดับการบริการ และลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา โดยคาดการณ์สภาพของอุปกรณ์การบินด้วย Big data ระหว่างให้บริการผู้โดยสารในเที่ยวบินต่อเนื่อง [su_spacer size=”20″]
ในเดือนมกราคม 2561 สำนักงานการบินพลเรือนจีนได้ประกาศนโยบายเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคล โดยมองว่า “อินเทอร์เน็ต” เป็นแรงผลักดันในการเปลี่ยนแปลงประสบการณ์การโดยสารเครื่องบิน ซึ่งตั้งแต่นั้นมาสายการบินจีนภายในประเทศก็ไม่เข้มงวดต่อการใช้อุปกรณ์สื่อสารบนเครื่องบิน นอกจากนี้ ในเดือนพฤศจิกายน 2561 บริษัท Commercial Aircraft และบริษัท Alibaba ได้ร่วมกันเปิดตัว “Wang Jian Large Aircraft Workshop” เพื่อผลักดันการใช้เทคโนโลยี อาทิ อินเทอร์เน็ต การประมวลผล cloud-computing/ big data/ และ AI ในอุตสาหกรรมการบิน [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ได้คาดการณ์ว่า จีนจะเป็นตลาดการบินพลเรือนที่ใหญ่ที่สุดในโลกภายในปี 2563 โดยจากข้อมูลของ Civil Aviation Administration of China (CAAC) ระบุว่า ในปี 2561 อุตสาหกรรมการบินพลเรือนของจีนทำสถิติสูงสุดใหม่ด้วยเที่ยวบินมากกว่า 10 ล้านเที่ยวบิน มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 610 ล้านคน หรือร้อยละ 10.9 จากปี 2560 และการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 หรือ 7.385 ล้านเมตริกตัน และล่าสุด สายการบิน China Southern ได้เริ่มให้บริการการเลือกที่นั่งออนไลน์สำหรับเที่ยวบินภายในประเทศทั้งหมด รวมถึงตั๋วเครื่องบินอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้กระดาษ ซึ่งไม่เพียงแต่เพิ่มความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสาร แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย โดยสายการบิน China Southern ระบุว่า 1 สัปดาห์หลังเปิดให้บริการดังกล่าว มีผู้โดยสารประมาณร้อยละ 75 ในเส้นทางภายในประเทศเลือกที่นั่งผ่านช่องทางออนไลน์ [su_spacer size=”20″]
สำหรับแอปพลิเคชัน China Southern e-Travel นั้นเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ดิจิทัลของสายการบินฯ ซึ่งรวมบริการทั้งหมดไว้ในโทรศัพท์มือถือ ขณะที่สายการบิน Cathay Pacific และสายการบิน Cathay Dragon ก็ใช้การบริการแบบไร้กระดาษแล้วเช่นกัน ตั้งแต่ตุลาคม 2561 [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้