โครงการก่อสร้างทางด่วนนครหลวงเวียงจันทน์ หมายเลข 1 (เขตเศรษฐกิจเฉพาะบึงธาตุหลวง – ดงหมากคาย) จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างและมีกำหนดแล้วเสร็จ 30 เดือน (ปี 2564) รวมมูลค่าการก่อสร้างกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 1,716 พันล้านกีบ มีระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี และสามารถต่ออายุสัมปทานได้ 20 ปี [su_spacer size=”20″]
นายพึดสะพา พูมมะสัก ประธานบริษัท เอเชียลงทุน พัฒนา และก่อสร้างจำกัดผู้เดียว ผู้ลงทุนและรับเหมาก่อสร้างโครงการฯ กล่าวว่า โครงการพัฒนาทางด่วนจะเป็นหนึ่งในเครื่องมือการลงทุนของรัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในรูปแบบการก่อสร้างและส่งมอบ (BOT) ทั้งนี้ หากโครงการแล้วเสร็จจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรของถนนไกสอน พมวิหาน และถนนกำแพงเมือง ซึ่งเป็นถนนสายหลักของนครหลวงเวียงจันทน์ได้มากกว่าร้อยละ 40 และยังสามารถสร้างงานให้คนลาวได้เป็นจำนวนมาก [su_spacer size=”20″]
ส่วนด่านเก็บเงินมีจำนวน 2 จุด คือจุดที่ 1 บริเวณทางเข้า – ออก เขตเศรษฐกิจเฉพาะบึงธาตุหลวง และจุดที่ 2 อยู่บริเวณบ้านร่องสุพาบก่อนถึงถนน 450 ปี และสถานีรถไฟ โดยมีทางขึ้นและลงจำนวน 8 จุด คือ (1) เขตเศรษฐกิจบึง – ธาตุหลวง (จุดเริ่มต้น) (2) บริเวณตลาดหัวขัว (3) บริเวณเมืองดอนจำปา (บ้านโพนพะเนาออกสู่ถนนไกสอน พมวิหาน) (4) บริเวณตลาดอานจี (บ้านหนองเหนียง) (5) บริเวณถนน 450 ปี (บ้านโชกใหญ่และนาแค) (6) บริเวณบ้านไซ (สถานีรถไฟ) (7) ถนน 13 ใต้ (บ้านไซสะหว่าง) และ (8) บริเวณบ้านดงหมากคาย (จุดสิ้นสุด) [su_spacer size=”20″]
สำหรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างฯ มีทั้งหมด 689 แปลง (เมืองไซเสดถา 510 แปลง เมืองไซ – ทานี 179 แปลง) ส่วนบ้านมี 159 หลัง (เมืองไซเสดถา 115 หลัง เมืองไซทานี 44 หลัง) ซึ่งมีทั้งในเขตสงวนของรัฐ รวมมูลค่าการชดเชยทั้งหมด 452 พันล้านกีบ (52.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ภายหลังการลงนามสัญญาครั้งนี้ บริษัทผู้รับเหมาจะร่วมกับคณะรับผิดชอบจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยเพื่อให้ประชาชนเข้ามาติดต่อรับค่าชดเชยโดยจะชำระเข้าบัญชีโดยตรงของเจ้าของที่ดินและคาดว่าจะใช้เวลาในการไกล่เกลี่ยและเวนคืน 120 วัน [su_spacer size=”20″]
โครงการก่อสร้างฯ เป็นโครงการที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรแออัด โดยที่ผ่านมานครหลวงเวียงจันทน์ได้มีความพยายามที่จะหานักลงทุนที่มีประสิทธิภาพ มีฐานะทางการเงินที่ดีเพื่อเข้ามาลงทุนพัฒนาโครงการดังกล่าว ต่อมาได้มีบริษัท เอเชียลงทุน พัฒนา และก่อสร้างจำกัดผู้เดียว ซึ่งเป็นบริษัทลงทุนภายในประเทศร้อยละ 100 และบริษัท China North Industries Corporation ของจีน ได้เสนอเข้ามาสำรวจ ออกแบบ และศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนพัฒนาโครงการดังกล่าว ด้วยรูปแบบการลงทุนรูปแบบ PPP และได้ลงนามบทบันทึกความเข้าใจร่วมกันเมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2559 [su_spacer size=”20″]
หลังจากการสำรวจเป็นเวลา 2 ปี พบว่า นครหลวงเวียงจันทน์ยังขาดประสบการณ์ในการลงทุนในรูปแบบ PPP และงบประมาณที่จะเข้ามาร่วมถือหุ้นในโครงการก่อสร้างฯ จึงได้รายงานผลการสำรวจแก่รัฐบาล สปป. ลาว และเสนอขอเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนจากรูปแบบ PPP มาเป็นการลงทุนในรูปแบบ BOT ซึ่งบริษัทผู้รับเหมาจะเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด จากนั้นได้มีประกาศจากสำนักงานนายกรัฐมนตรีแห่ง สปป. ลาว ฉบับเลขที่ 205/หสนย. ลงวันที่ 7 ก.พ. 2562 เห็นชอบให้นครหลวงเวียงจันทน์ลงนามสัญญาสัมปทานโครงการก่อสร้างฯ ในรูปแบบ BOT ร่วมกับบริษัท เอเชียลงทุน พัฒนา และก่อสร้างจำกัดและบริษัท China North Industries Corporation ทั้งนี้ พิธีลงนามดังกล่าวได้จัดขึ้นเมื่อต้นเดือน เม.ย. 2562 ที่ผ่านมา ระหว่างนายพูขง บันนะวง หัวหน้าแผนกแผนการ [su_spacer size=”20″]
และการลงทุน นครหลวงเวียงจันทน์ กับนายพึดสะพา พูมมะสัก ประธานบริษัท เอเชียลงทุน พัฒนา และก่อสร้างจำกัดผู้เดียว และผู้แทนของบริษัท China North Industries Corporation โดยมีนายสินละวง คุดไพทูน เจ้าครองนครหลวงเวียงจันทน์ รองรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์