สมาคมร้านอาหารแห่งชาติ (National Restaurant Association) ในสหรัฐอเมริกาได้สอบถามเชฟมืออาชีพที่เป็นสมาชิกสมาคมเชฟ American Culinary Federation เพื่อสำรวจว่าในปี 2562 นี้ มีเทรนด์อาหารและเครื่องดื่มใดบ้างที่มาแรง [su_spacer size=”20″]
70% ของกลุ่มตัวอย่างเชฟเลือกให้เทรนด์การปรุงอาหารแบบไม่สร้างขยะ (zero-waste cooking) เป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงเป็นอันดับต้น ๆ ตามมาด้วยเทรนด์ของอาหารที่มีแรงบันดาลใจจากสูตรอาหารจากหลากประเทศทั่วโลก และเทรนด์ของอาหารที่มีพืชผักเป็นส่วนประกอบหลัก [su_spacer size=”20″]
คุณฮัดสัน เรย์ลี รองประธานอาวุโสฝ่ายงานวิจัยของสมาคมร้านอาหารแห่งชาติกล่าวว่า “รายงานเทรนด์ยอดนิยมประจำปีของสมาคมเราสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคกำลังตามเทรนด์การอยู่ร่วมกันในสังคม เราเห็นมุมมองรักษ์โลกและความสนใจในรสชาติอาหารจากทั่วทุกมุมโลก รวมไปถึงเทรนด์สุขภาพของอาหารเด็กและการสรรหาวัตถุดิบใหม่ ๆ ที่ใช้ในการทำอาหาร” [su_spacer size=”20″]
ผลสำรวจชี้ว่าชาวอเมริกันกำลังอยากเห็นอาหารที่นอกจากจะมีประโยชน์แล้วยังรักษ์โลกด้วย อาหารที่ทำจากพืชผักหรือเน้นผักเป็นหลักจะไม่ได้มีเพียงเพื่อคนที่รับประทานมังสวิรัตอีกต่อไป อันที่จริงแล้ว 3 ใน 15 เทรนด์อาหารที่มาแรงคือ ไส้กรอกและเบอร์เกอร์ที่ทำจากผัก อาหารที่ทำจากผักหรือเน้นผักเป็นหลัก และโปรตีนจากพืช นอกจากนี้ เทรนด์การใช้วัตถุดิบที่ปลูกเอง ซึ่งรวมไปถึงร้านอาหารที่ปลูกพืช ผัก ผลไม้ในสวนหรือดาดฟ้าของร้าน ก็เป็นหนึ่งใน 10 อันดับแรกของเทรนด์ที่มาแรง [su_spacer size=”20″]
เทรนด์อาหารที่มาแรงในปี 2562
- เครื่องดื่มผสมกัญชา (ในหลายรัฐ กัญชายังเป็นสิ่งผิดกฎหมาย หากไม่ใช่ในทางการแพทย์)
- อาหารผสมกัญชา (ในหลายรัฐ กัญชายังเป็นสิ่งผิดกฎหมาย หากไม่ใช่ในทางการแพทย์)
- การทำอาหารแบบไม่สร้างขยะ (Zero-waste cooking)
- อาหารเช้าที่มีแรงบันดาลใจจากสูตรอาหารจากหลากประเทศทั่วโลก
- อาหารเด็กที่มีแรงบันดาลใจจากสูตรอาหารจากหลากประเทศทั่วโลก
- อาหารที่ใช้วัตถุดิบจากสวนที่ปลูกเอง (Hyper-local)
- เนื้อสัตว์ส่วนใหม่ ๆ
- อาหารที่ทำจากผักหรือเน้นผักเป็นหลัก
- อาหารจานด่วนจากฝีมือเชฟ (Chef-driven fast-casual concepts)
- เหล้าที่กลั่นในโรงกลั่นของท้องถิ่นหรือเหล้าที่กลั่นอย่างประณีต [su_spacer size=”20″]
การทำอาหารแบบไม่สร้างขยะ (Zero-waste cooking)
การใช้เศษอาหาร พืชผักที่มีตำหนิ ส่วนที่ปกติตัดทิ้งและอาหารที่เหลือมาสร้างให้เป็นอาหารจานใหม่ให้น่ารับประทาน นับว่ามาแรงเป็นอันดับ 3 ของปีนี้ เชฟหลายท่านหันกลับมามองวัตถุดิบหรืออาหารที่เคยทิ้งเป็นแค่ขยะแล้วเอากลับมารังสรรค์เป็นอาหารจานใหม่ เช่น ใช้ผงกาแฟบดมาทำเป็นไอศกรีมรสกาแฟ และใช้ก้นหัวผักกาดมาทำเป็นผัดผัก เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
อาหารที่มีแรงบันดาลใจจากสูตรอาหารจากหลากประเทศทั่วโลก
เป็นเทรนด์ที่มาแรงตั้งแต่ปี 2561 อาหารเช้าที่มีแรงบันดาลใจมาจากอาหารจากหลากหลายประเทศทั่วโลกมาแรงเป็นอันดับ 4 ในปีนี้ ตามมาด้วยอาหารเด็กที่มีแรงบันดาลใจมาจากอาหารจากหลากประเทศทั่วโลก [su_spacer size=”20″]
อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีแรงบันดาลใจมาจากสูตรของหลากประเทศนั้นเป็นเทรนด์ที่มาแรงในทุกหมวดหมู่ของอาหารและเครื่องดื่ม เช่น โซดาจากอิสราเอลที่เรียกว่ากาซอซ (gazoz) มาแรงเป็นอันดับ 2 ในหมวดหมู่เครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอลล์ หรือไอศครีมม้วน (ไอศครีมผัด) จากประเทศไทยก็มาเป็นที่ 1 ในหมวดขนมหวาน นอกจากนี้ อาหาร เครื่องเทศ และเครื่องปรุงจากแอฟริกาเหนือ แอฟริกาตะวันออก (เอธิโอเปีย) และแอฟริกาตะวันตกก็มาแรงในหลากหลายหมวดหมู่ด้วยเช่นกัน เชฟหลายคนกล่าวถึงอาหารจากแอฟริกาเหนือ เช่น ทาจีน (tajine) และฟูลล์ (fuul) เป็นอาหารต่างชาติที่มาแรงที่สุดในตอนนี้ [su_spacer size=”20″]
เนื้อสัตว์ส่วนใหม่ ๆ
เช่น เนื้อหัวไหล่ เนื้อส่วนใกล้กระดูกสันหลังที่มีลักษณะคล้ายหอยนางรม (oyster steak) หรือเนื้อเมอร์ล็อต (เนื้อส่วนขาหลัง) แม้ว่าจะลดความนิยมลงมาเล็กน้อยหลังจากที่มาแรงเป็นอันดับต้น ๆ มาเป็นเวลา 2 ปีต่อเนื่อง ขณะที่เชฟมองว่าเมนูที่เคยเป็นที่นิยมอย่างข้าวโอ๊ตข้ามคืน (overnight oats) ค็อกเทลโป๊ยกั๊ก และ เทรนด์การใช้เพร็ตเซลเป็นส่วนผสมของขนมเป็นเทรนด์ที่มาและจากไปแล้ว [su_spacer size=”20″]
สิ่งเหล่านี้นับเป็นตัวอย่างของเทรนด์อาหารที่น่าสนใจและอาจนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยของเราได้ เนื่องจากในบางเทรนด์ เช่น การทำอาหารแบบไม่สร้างขยะ จะทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของอาหารมากขึ้นและส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จากอาหารในทุกส่วนประกอบของวัตถุดิบได้อย่างแท้จริง ซึ่งนับเป็นการช่วยรักษาโลกของเราได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ เทรนด์การใช้สูตรอาหารจากทั่วโลกก็นับเป็นโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการไทยหลาย ๆ รายให้เร่งเตรียมสินค้าให้มีมาตรฐานพร้อมต่อการส่งออกวัตถุดิบไปยังสหรัฐฯ [su_spacer size=”20″]
ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์
กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสหรัฐฯ