หนังสือพิมพ์ Saigon Times ฉบับวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา ได้รายงานข่าวในหัวข้อ “Mekong Delta farmers rush to grow Thai jackfruit” ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจเกี่ ยวข้องกับเกษตรกรจำนวนมากในบริ เวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงเปลี่ ยนจากการปลูกข้าวมาปลูกขนุนพั นธุ์ไทย เนื่องจากในช่วงสองปีที่ผ่ านมาขนุนพันธุ์ไทยมีราคาสูงขึ้ นขณะที่ราคาข้าวยังคงลดลงอย่ างต่อเนื่อง โดยข้าวพันธุ์ IR 50404 มีราคาขายกิโลกรัมละ 4,300 – 4,500 ด่ง (ประมาณ 0.19 ดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งสร้างรายได้ให้ เกษตรกรเฮกตาร์ละ 30 ล้านด่งต่อปี แต่ในขณะที่ขนุนสายพันธุ์ไทยมี ราคาขายกิโลกรัมละ 60,000 – 65,000 ด่ง (2.6 – 2.8 ดอลลาร์สหรัฐ) และสร้างรายได้ให้ เกษตรกรเฮกตาร์ละ 600 ล้าน – 1,200 ล้านด่งต่อปี (25,960 – 51,921 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี) [su_spacer size=”20″]
ดร. Luong Ngoc Trung Lap อดีต หัวหน้าฝ่ายวิจั ยการตลาดของสถาบันวิจัยผลไม้ ภาคใต้และหัวหน้าฝ่ายขายบริษั ทผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ การเกษตร Cat Tuong Agricultural Processing and Production กล่าวว่า ราคาขนุนที่สูงขึ้นทำให้ เกษตรกรท้องถิ่นโดยเฉพาะในจั งหวัดเหิวยาง ซอกจาง และนครเกินเทอ เปลี่ยนมาลงทุนปลูกขนุนพันธุ์ ไทยจำนวนมาก ซึ่งมีคุณภาพสูง เติบโตง่าย และเก็บรักษาได้นานกว่าเมื่ อเปรียบเทียบกับขนุนสายพันธุ์ เวียดนาม ทั้งนี้ ปัจจุบัน ร้อยละ 80 ของขนุนสายพันธุ์ไทยที่ปลู กในเวียดนามถูกส่งออกไปจีน ซึ่งมีความต้องการนำเข้าผลไม้ รวมถึงขนุนในปริมาณมาก อย่างไรก็ตามเวียดนามยังไม่มี นโยบายส่งเสริมการปลูกขนุนที่ชั ดเจนและยังไม่มีการวิจัยด้ านการตลาดรองรับ [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่าในปี 2561 เวียดนามส่งออกผักผลไม้มูลค่า 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.3 เมื่อเทียบกับปี 2560 โดยส่งออกไปยังจีนมากที่สุดถึ งร้อยละ 73 สหรัฐฯ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย ไทย และออสเตรเลีย ตามลำดับ ทั้งนี้ คาดว่าภายในปี 2563 เวียดนามจะสามารถส่งออกผลไม้มู ลค่ากว่า 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งผลไม้ (แก้วมังกร กล้วย เงาะ ลองกอง มะม่วง มังคุดและทุเรียน) คิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนสินค้าการเกษตรเวี ยดนามที่ส่งออกทั้งหมด นอกจากนี้ ในปัจจุบันเวียดนามมีบริษัทที่ ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกั บการแปรรูปผักและผลไม้ทั้งหมด 145 ราย มีกำลังการผลิต 8 แสนตันต่อปี และตั้งฐานการผลิตอยู่ในภาคใต้ จำนวน 71 ราย อย่างไรก็ดี โรงงานแปรรูปผักและผลไม้ยั งประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้ผลิตสินค้าได้เพียงร้อยละ 50 ของกำลังการผลิตจริง นอกจากนี้ เกษตรกรเวียดนามยังประสบปั ญหาผลิตภาพการผลิตต่ำ โดยสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เพียงร้อยละ 60 – 70 ของการเพาะปลูกทั้งหมด [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์