สืบเนื่องจากรายงานปฏิกิริ ยาของมาเลเซียต่อกระแสต่อต้านน้ำ มันปาล์มในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลั งจากคณะกรรมาธิการยุโรปเห็ นชอบร่างกฎเกณฑ์เพิ่มเติม (Delegated Act) เรื่องการประเมินความเสี่ ยงของเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยจัดให้เชื้อเพลิงชีวภาพที่ ผลิตจากน้ำมันปาล์มอยู่ในกลุ่ มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการทํ าลายป่าในช่วงวันที่ 19-21 มีนาคม 2562 หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นมาเลเซี ยหลายฉบับ ได้แก่ Bernama, New Straits Times, Malaysiakini และ The Star ได้ลงข่าวเกี่ยวกับปฏิกิริ ยาและท่าทีของนายกรัฐมนตรี มาเลเซีย สรุปได้ว่า รัฐบาลมาเลเซียจะพิจารณาตอบโต้ สหภาพยุโรป หากมีมาตรการที่ไม่เป็นธรรมต่ อสินค้าน้ำมันปาล์ม โดยได้มีหนังสือแจ้งผู้นํ าประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปเพื่อชี้ แจงความจําเป็นที่มาเลเซี ยอาจจะต้องดําเนินมาตรการตอบโต้ สหภาพยุโรปแล้ว [su_spacer size=”20″]
ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมกราคม 2562 นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้มีหนั งสือถึงประธานาธิบดีฝรั่งเศส แจ้งว่ามาเลเซียจะพิจารณาระงั บการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรี ระหว่างมาเลเซียกับสหภาพยุ โรปและจะออกมาตรการกีดกันสินค้ านําเข้าจากฝรั่งเศสเพื่อตอบโต้ การที่สภาผู้แทนราษฎรฝรั่ งเศสได้มีมติถอดน้ำมันปาล์ มออกจากรายการเชื้อเพลิงชี วภาพที่ได้รับแรงจูงใจทางภาษี โดยจะมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2563 [su_spacer size=”20″]
รวมถึงที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศมาเลเซี ยได้ออกแถลงการณ์แสดงความห่วงกั งวลเกี่ยวกับเรื่องข้างต้นเป็ นระยะ ๆ โดยเน้นว่า
(1) การต่อต้านการใช้น้ำมันปาล์ มจะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ ของชาวมาเลเซียกว่า 2 ล้านคนที่มีอาชีพเกี่ยวข้องกั บอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม
(2) การห้ามใช้น้ำมันปาล์มขัดกับหลั กการของ WTO เนื่องจากไม่มีพืชน้ำมั นประเภทอื่นตกเป็นเป้าเหมือนน้ำ มันปาล์ม
(3) ข้ออ้างที่ว่าน้ำมันปาล์มเป็ นสาเหตุหลักของการทําลายป่าไม่ มีมูลความจริงและมีงานวิจัยระบุ ว่ามีสินค้าประเภทอื่นที่ส่ งผลต่อการทําลายป่าสูงกว่าน้ำมั นปาล์ม
(4) มาเลเซียมีพื้นที่ป่าร้อยละ 55.3 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าที่ได้ให้คํามั่นไว้ ในการประชุม Rio Earth Summit 1992 และมาเลเซียมุ่งเน้นการผลิตน้ำ มันปาล์มโดยคํานึงถึงความยั่งยื น [su_spacer size=”20″]
อนึ่ง ในช่วงเดือนที่ผ่านมามีการประท้ วงของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศั ยอยู่ในพื้นที่ใกล้อุทยานแห่ งชาติ Mulu รัฐ Sarawak เพื่อต่อต้านบริษัทเพาะปลูกปาล์ มน้ำมันขนาดใหญ่ซึ่งกำลังตัดต้ นไม้เพื่อเตรียมการเพาะปลูกปาล์ มน้ำมัน อย่างไรก็ดี ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2562 มีรายงานว่าทางการมาเลเซียได้มี คำสั่งระงับใบอนุญาตตัดไม้ ของบริษัทในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์