ตามรายงานผลงานรัฐบาลมหานครฉงชิ่ง โดยนายถัง เหลียงจื้อ นายกเทศมนตรีมหานครฉงชิ่ง ในการประชุมสภาผู้แทนประชาชนมหานครฉงชิ่งสมัยที่ 5 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2562 มีผลการพัฒนาเศรษฐกิจของมหานครฉงชิ่งในปี 2561 และเป้าหมายการพัฒนาในปี 2562 ดังนี้ [su_spacer size=”20″]
เศรษฐกิจของฉงชิ่งโดยรวมของปี 2561 มูลค่า GDP ของปี 2561 อยู่ที่ 2,036,319 ล้านหยวน เติบโตขึ้นร้อยละ 6 แบ่งเป็นอุตสาหกรรมการเกษตรมูลค่า 137,827 ล้านหยวน ขยายตัวร้อยละ 4.4 อุตสาหกรรมการผลิตมีมูลค่า 832,879 ล้านหยวน ขยายตัวร้อยละ 3 และอุตสาหกรรมบริการ มีมูลค่า 1,065,613 ล้านหยวน ขยายตัวร้อยละ 9.1 โดยการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมหลักที่สําคัญของมหานครฉงชิ่ง “6+1” สาขา มีดังนี้ [su_spacer size=”20″]
(1) Electronics manufacturing industry เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 [su_spacer size=”20″]
(2) Material industry เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 [su_spacer size=”20″]
(3) Chemical industry and medicine manufacturing industry เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 [su_spacer size=”20″]
(4) Equipment manufacturing industry เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 [su_spacer size=”20″]
(5) Consumer goods industry เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 (6) Energy industry เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 และ [su_spacer size=”20″]
(6) Auto manufacturing ลดลงถึงร้อยละ 17.3 [su_spacer size=”20″]
รัฐบาลฯ รายงานสภาวะเศรษฐกิจและสังคมว่า มีเสถียรภาพ ก้าวหน้า และมั่นคงขึ้น โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ [su_spacer size=”20″]
(1) อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 4.7 โดยรัฐบาลฯ ได้เพิ่มอาชีพให้คนในเมือง 753,000 คน
(2) มีเสถียรภาพด้านราคา โดยดัชนีราคาผู้บริโภคอยู่ที่ร้อยละ 2 และดัชนีราคาผู้ผลิตอยู่ที่ร้อยละ 2.1
(3) มีเสถียรภาพทางการเงิน โดย ระดับความเสี่ยงทางการเงินของธนาคารและสถาบันการเงินของประเทศอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งรัฐบาลฯ ได้ให้ธนาคารเอกชนเพิ่มเงินทุนสํารองเพื่อป้องกันความเสี่ยงทางการเงินเป็นจํานวน 500,000 ล้านหยวน
(4) การค้าระหว่างประเทศ ยอดมูลค่าการนําเข้าส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 และยอดมูลค่าการค้าด้านบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7
(5) การลงทุนจากต่างประเทศ เติบโตร้อยละ 43.8 ยอดมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศอยู่ที่ 10,270 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(6) การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นร้อยละ 7
(7) การลงทุนภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 [su_spacer size=”20″]
การพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ อุตสาหกรรมอัจฉริยะ การวิจัยและการพัฒนามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดย [su_spacer size=”20″]
(1) อุตสาหกรรมอัจฉริยะ บรรลุเป้าหมาย มียอดจําหน่าย 464,000 ล้านหยวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2
(2) ค่าใช้จ่ายสําหรับการวิจัยและการพัฒนาโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 มีสัดส่วนร้อยละ 1.95 ของ GDP ท้องถิ่น
(3) มูลค่าของอุตสาหกรรมใหม่เชิงกลยุทธ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 และอุตสาหกรรม high-tech เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7
(4) มูลค่าของอุตสาหกรรมบริการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1
(5) มีการจดทะเบียนบริษัทหรือผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น 412,000 ราย
(6) การลงทุนจากภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 มียอดเงินลงทุนตามสัญญาที่ 1 ล้านล้านหยวน [su_spacer size=”20″]
ในแง่ของผลตอบแทนทางเศรษฐกิจดีขึ้น เนื่องจาก [su_spacer size=”20″]
(1) วิสาหกิจขนาดใหญ่มีกําไร 121,900 ล้านหยวน โดยมีอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ลดลงร้อยละ 1.5
(2) ผลิตภาพแรงงาน (Labour productivity) อยู่ที่ 328,000 หยวนต่อคน
(3) รายได้สาธารณะอยู่ในสถานการณ์ที่ดีขึ้น โดยรายได้จากภาษีมีสัดส่วนร้อยละ 70.8 ของรายได้ทั้งหมด
(4) รายได้ประชากรหลังหักภาษีของชาวเมืองและชาวชนบทโดยเฉลี่ยต่อคนปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 และ 11.1 ตามลําดับ และ
(5) สัดส่วนคนจนลดลงร้อยละ 0.7 [su_spacer size=”20″]
โดยในปี 2562 นี้ รัฐบาลมหานครฉงชิ่งตั้งเป้าหมายให้ GDP เติบโตขึ้นเท่ากับปี 2561 ที่ร้อยละ 6 ให้ภาคการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 อัตราการบริโภคค้าปลีกในพื้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 รายได้ประชากรหลังหักภาษีโดยเฉลี่ยต่อคนปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 ควบคุมอัตราการว่างงานให้ไม่เกินร้อยละ 5.5 ควบคุมดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ไม่เกินร้อยละ 3 และดําเนินการตามเป้าหมายการจัดการคุณภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการประหยัดพลังงานตามนโยบายประหยัดพลังงานแห่งชาติต่อไป [su_spacer size=”20″]
ภารกิจสําคัญของมหานครฉงชิ่งในปี 2562 ได้แก่ [su_spacer size=”20″]
(1) มุ่งมั่นให้มหานครฉงชิ่งเกิดการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ โดยจะผลักดันการกิจการขจัดความยากจน โดยสัดส่วนคนจนจะต้องลดลง ตั้งเป้าหมายให้คนยากจน 100,000 คน ใน 4 อําเภอต้องหลุดพ้นจากสถานะความยากจน และยังมุ่งมั่นผลักดันภารกิจการป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อม ขจัดมลภาวะทางอากาศ ทางน้ำ และทางดิน นอกจากนั้น ยังจะดําเนินมาตรการที่ช่วยให้เกิดเสถียรภาพทางการเงิน [su_spacer size=”20″]
(2) ผลักดันให้เกิดการปฏิรูป โดยเฉพาะโครงสร้างการผลิตในอุตสาหกรรมที่สําคัญ การปฏิรูปทางการเงิน การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ และสนับสนุนการเจริญเติบโตของภาคเอกชน [su_spacer size=”20″]
(3) ผลักดันให้เกิดการยกระดับของอุตสาหกรรมการผลิต ให้มีความทันสมัยขึ้น ผลิตสินค้าคุณภาพมากขึ้นโดยใช้นวัตกรรม รวมถึง การบูรณาการของอุตสาหกรรมภาคการทหารและอุตสาหกรรมภาคพลเรือน นําโดย Big data intelligent [su_spacer size=”20″]
(4) ดําเนินมาตรการเพิ่มความต้องการภายใน ส่งเสริมการลงทุนที่มีประสิทธิผล ผลักดันความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนกับต่างประเทศ รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมการบริการให้ทันสมัย [su_spacer size=”20″]
(5) ส่งเสริมและผลักดันเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ วางแผนการก่อตั้งโครงการเมืองวิทยาศาสตร์แห่ง มหานครฉงชิ่ง ส่งเสริมความร่วมมือด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของมหานครฉงชิ่งกับสถาบันอุดมศึกษาที่ขึ้นชื่อทั้งในและต่างประเทศ [su_spacer size=”20″]
(6) ส่งเสริมความร่วมมือกับนอกมณฑล (มณฑลอื่น และต่างประเทศ) เปิดรับความร่วมมือทุกมิติ ผลักดันให้มีส่วมร่วมในการพัฒนา OBOR และเขตเศรษฐกิจฉางเจียง / เขตเศรษฐกิจแยงซีเกียง [su_spacer size=”20″]
(7) ยืนหยัดให้การสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาด้านการเกษตรและการพัฒนาของชนบท [su_spacer size=”20″]
(8) ดําเนินการแผนงานยกระดับการพัฒนาของตัวเมืองอย่างต่อเนื่อง เร่งการยกระดับคุณภาพของตัวเมืองทางด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ระบบนิเวศ และชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมือง [su_spacer size=”20″]
(9) ผลักดันการก่อสร้างระบบนิเวศและการรักษาสิ่งแวดล้อมและการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างต่อเนื่อง [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า ภาวะเศรษฐกิจของมหานครฉงชิ่งมีความชะลอตัวลงอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของมหานครฉงชิ่งเมื่อปี 2560 ซึ่ง GDP ยังอยู่ที่ร้อยละ 9.3 นับเป็นการปรับลดลงมาอย่างฮวบฮาบ แสดงถึงผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญ และมีหลายปัจจัยที่แสดงถึงความเสี่ยงของภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของมหานครฉงชิ่ง ซึ่งการที่ GDP ลดลงมามากขนาดนี้ นอกจากจะเป็นผลมาจากการลดการลงทุนจากภาครัฐแล้ว ตัวเลขการผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสําคัญที่คอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของมหานครฉงชิ่งมาตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านมากลับมีการผลิตที่ลดลงถึงร้อยละ 17.3 เนื่องจากความต้องการซื้อภายในประเทศที่ลดลงอย่างมาก [su_spacer size=”20″]
การพัฒนาโครงสร้างทางอุตสาหกรรมยังคงต้องดําเนินการต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลดกําลังการผลิตส่วนเกินให้สอดคล้องกับสภาพตลาดที่ความต้องการภายในลดลง ซึ่งรัฐบาลมหานครฉงชิ่งเองก็คงตระหนักในข้อนี้ดี ทำให้ในปี 2561 จึงยังคงมีนโยบายที่เน้นการวิจัยและพัฒนาให้มากขึ้น เพื่อให้มหานครฉงชิ่งหลุดพ้นจากภาพของการรับจ้างผลิตหรือการผลิตที่ขาดนวัตกรรม นอกจากนั้น รัฐบาลฯ เองน่าจะตระหนักดีว่าการพัฒนาบุคลากรก็ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้ที่จะทําให้การปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนามหานครฉงชิ่งสําเร็จตามเป้าหมาย จึงมีความพยายามที่ออกมาตราการที่สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง [su_spacer size=”20″]
การปรับเปลี่ยนผู้นําสูงสุดของมหานครฉงชิ่งมาเป็น นายถัง เหลียงจื้อ ที่มีวิสัยทัศน์ในการบริหารที่กว้างไกล และได้รับการคาดหวังจากรัฐบาลกลางนั้นยังไม่เพียงพอที่จะทําให้มหานครฉงชิ่งมีการพัฒนาในระดับที่คาดหวังได้ เนื่องจากไม่ใช่เพียงเฉพาะปัจจัยพื้นฐานภายในเท่านั้นที่มีความสําคัญ โดยเฉพาะความเสี่ยงทางการเงินที่รัฐบาลกลางพยายามพยุงด้วยการอัดฉีดทุนสํารองเข้าไปเสริมในภาคการธนาคาร แต่ปัจจัยภายนอกที่กําลังคุกคามจีนอยู่ขณะนี้อย่างสงครามการค้าจีน – สหรัฐนั้น รัฐบาลฯ ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่ามันได้เริ่มส่งผลกระทบที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนจีนและนักลงทุนต่างชาติในมหานครฉงชิ่ง รวมไปถึงประชาชนชาวมหานครฉงชิ่งเอง [su_spacer size=”20″]
มหานครฉงชิ่งได้พยายามสร้างความเป็นผู้นําด้านการเชื่อมโยงการค้าการขนส่งกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับ 8 มณฑลทางภาคตะวันตก (กว่างซี กุ้ยโจว กานซู ซิงไห่ ยูนนาน ซินเกียง เสฉวน และหนิงเซี่ย) โดยร่วมมือกับสิงคโปร์ สร้างทางเชื่อมทางทะเลและพื้นดินระหว่างประเทศขึ้น (International Land Sea Trade Corridor) ผ่านท่าเรือ Beihai ของเขตปกครองตนเองกว่างซีออกสู่ทะเล และเชื่อมต่อภาคพื้นดินด้วยรถไฟและถนน โดยเชื่อมั่นว่าจะสามารถทําให้การขนส่งสินค้าไปมาระหว่างมณฑลและเขตปกครองตนเองในภูมิภาคตะวันตกของจีนกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กระทําได้ภายใน 7 วันหรือน้อยกว่านั้น นอกจากนี้ มหานครฉงชิ่งยังคงได้ตั้งศูนย์นําเข้าและส่งออกพืชผักและผลไม้อาเซียนเพื่อสร้างจุดเด่นในการเป็นประตูเข้าสู่อาเซียนแข่งกับมณฑลต่าง ๆ ทางตอนใต้และตะวันตกของจีน [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเฉิงตู