เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 นาย Andrej Babis นายารัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐเช็กได้แถลงยุทธศาสตร์ด้านนวัตกรรม ระหว่างปี ค.ศ. 2019 – 2030 (Innovative Strategy of the Czech Republic 2019 – 2030) พร้อมทั้งแสดงความมุ่งมั่นที่จะนําพาเช็กให้ก้าวขึ้นสู่ความเป็นผู้นําด้านนวัตกรรมเช่นเดียวกับสวีเดน เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ และฟินแลนด์ภายในปี ค.ศ. 2030 [su_spacer size=”20″]
ปัจจุบัน ระบบเศรษฐกิจเช็กเป็นระบบเศรษฐกิจแบบตลาด (Market Economy) ที่เน้นการส่งออก การบริการด้านเทคโนโลยีการผลิตและนวัตกรรมเป็นหลัก โดยมีศักยภาพที่โดดเด่นอยู่ในอุตสาหกรรมด้านวิศวกรรม เทคโนโลยีขั้นสูง อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องจักรในการก่อสร้าง การผลิตเหล็ก อะไหล่และอุปกรณ์ด้านคมนาคม เคมีภัณฑ์ และเวชภัณฑ์ ซึ่งคิดเป็น 37.5% ของมูลค่าทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ศักยภาพใน ภาคบริการคือ การวิจัยเพื่อการพัฒนา การพัฒนาระบบ ICT และ Software เทคโนโลยีนาโน และชีววิทยาศาสตร์ (life science) ซึ่งคิดเป็น 60% ของมูลค่าเศรษฐกิจ ในขณะที่ผลผลิตทางเกษตรกรรมหลักคือ ธัญพืช น้ำมันพืช และ ฮอปส์ (Hops) ซึ่งคิดเป็น 2.5% ของมูลค่าทางเศรษฐกิจของเช็ก [su_spacer size=”20″]
เช็กได้รับการจัดอันดับจาก Economist Intelligence Unit ให้อยู่ในอันดับที่ 27 จากทั้งหมด 82 ประเทศ ในฐานะประเทศที่มีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี โดยพิจารณาจากศักยภาพทางนวัตกรรมผ่านตัวชี้วัด ได้แก่ การเข้าถึงอินเตอร์เน็ต โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจดิจิทัล e-government ความมั่นคงทางไซเบอร์ และการเปิดรับนวัตกรรม ซึ่งอยู่ในอันดับสูงที่สุดของประเทศในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกกลาง และจากสถิติการการลงทุนในปี ค.ศ. 2017 พบกว่า 1 ใน 3 ของการลงทุนจํานวน 106 โครงการ เป็นการลงทุนในโครงการ high-tech ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีและกิจกรรมเพื่อการวิจัยและพัฒนาโดยเป็นการลงทุนของบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น Siemens, Skoda Auto และ Deloitte [su_spacer size=”20″]
การแถลงยุทธศาสตร์ด้านนวัตกรรมของเช็ก ระหว่างปี ค.ศ. 2019 – 2030 (ซึ่งผ่านการรับรองโดย RVVI แล้วเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2562) โดยนายกรัฐมนตรีเช็ก เป็นการย้ำจุดยืนและวางเป้าหมายในการพัฒนาเช็กไปสู่การเป็นประเทศชั้นนําด้านนวัตกรรมประเทศหนึ่งในยุโรปภายในปี ค.ศ. 2030 โดยเสาหลักของแผนยุทธศาสตร์ประกอบด้วย 9 ด้าน ได้แก่ (1) Research and development funding and evaluation) (2) Innovation and Research Centers (3) Start-up and spin-off environment (4) Polytechnic Education (5) Digitisation (6) Mobility and Construction Environment (7) Intellectual Property (8) Smart Investment และ (9) Smart Marketing โดยแต่ละเสาหลักจะมีการกําหนดแนวทางการเริ่มดําเนินการภายใต้กรอบและวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ ซึ่งจะให้ความสําคัญกับการออกกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันไปสู่กันบรรลุเป้าหมายในปี ค.ศ. 2030 [su_spacer size=”20″]
ความมุ่งมั่นของเช็กในการจะบรรลุเป้าหมายการเป็นประเทศชั้นนําด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมภายในปี ค.ศ. 2030 สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาและเป็นประโยชน์กับประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนา EEC ตามนโยบายรัฐบาล โดยศักยภาพสําคัญ ได้แก่ [su_spacer size=”20″]
(1) อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต เช็กนับเป็นประเทศที่มีศักยภาพในด้านการผลิตรถยนต์เป็นอันดับที่ 16 ของโลก โดยปัจจุบันสามารถผลิตยานยนต์ได้เกิน 1 ล้านคันต่อปี หรือคิดเป็น 118 คันต่อประชากร 1,000 คน อุตสาหกรรมยานยนต์ของเช็กมีสัดส่วนประมาณ 25% ของมูลค่าอุตสาหกรรมของ ประเทศ คิดเป็นประมาณ 7.4% ของ GDP และก่อให้เกิดการจ้างงานประมาณ 150,000 อัตราภายในประเทศ นอกจากนั้น เช็กยังมีศักยภาพและมีความเชี่ยวชาญในการผลิตรถราง อะไหล่ และการซ่อมบํารุง กอปรกับในปัจจุบัน เยอรมนีซึ่งเป็นคู่ค้าที่สําคัญของเช็ก เริ่มประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอย รวมถึงปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างเช็ก – จีน ในประเด็นด้านความมั่นคงในกรณีบริษัท Huawei จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่ไทยน่าจะสามารถดึงดูดการลงทุนของบริษัท Skoda และบริษัทผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ในเช็กอีก 2 บริษัทคือ Hyundai Motor Manufacturing Czech และ Toyota Peugeot Citroen Automobile ซึ่งเริ่มปรับรูปแบบการผลิตไปสู่การประยุกต์ใช้นวัตกรรมการผลิตยานยนต์อัจฉริยะที่เน้นการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานไฟฟ้า ลดการปล่อยก๊าซพิษ และยานยนต์ไร้คนขับให้ไปลงทุนในประเทศไทย รวมทั้งดึงดูดให้บริษัทเหล่านี้ไปตั้งศูนย์การผลิตและกระจายสินค้าในประเทศไทยได้ในอนาคต [su_spacer size=”20″]
(2) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ และ (3) อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ อุตสาหกรรม อากาศยานนับเป็นอุตสาหกรรมหลักของเช็กตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยอากาศยานที่เช็กผลิตในช่วงแรกเป็นอากาศยานด้านการทหาร เช่น MiG-15 MiG19 และ MiG-21 และเครื่องบินฝึกบิน L29 L39 และ L59 โดย บริษัท Aero Vodochody ซึ่งเป็นผู้ผลิตอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในเช็กที่มีการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเช็กมีตลาดส่งออกสําคัญคือ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชณาจักร และเยอรมนี ซึ่งความร่วมมือและการค้ากับประเทศในภูมิเอเชียยังมีไม่มากนัก จึงนับเป็นโอกาสของไทยที่จะได้รับประโยชน์จากความเชี่ยวชาญศักยภาพในสาขานี้ โดยไทยควรมุ่งเน้นการดึงดูดการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์แบบครบวงจร การซ่อมบํารุงอากาศยาน การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการฝึกอบรมนักบินและลูกเรือทั้งในด้านนักบินทหารและนักบินพาณิชย์ รวมถึงการดึงดูดให้บริษัทด้านอากาศยานของเช็กไปตั้งศูนย์การผลิตและกระจายสินค้าในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน EEC [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปราก