พัฒนาการทางเศรษฐกิจของยูกันดาในปี 2561 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5.3 โดยพื้นฐานเศรษฐกิจยังคงพึ่งพาการเกษตรเป็นหลัก ในสินค้าส่งออกร้อยละ 50 เป็นสินค้าเกษตร (คิดเป็นร้อยละ 25 ของ GDP) และประชากรร้อยละ 70 ของประเทศประกอบอาชีพเกษตรกรรม ขณะเดียวกัน ภาครัฐบาลได้สนับสนุนอุตสาหกรรม โดยคาดการณ์ว่าปี 2561 ภาคอุตสาหกรรมการผลิตจะเติบโต ร้อยละ 6.2 อันเป็นผลจากนโยบายพัฒนากําลังการผลิตกระแสไฟฟ้า และการเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ของ รัฐบาล ขณะที่ภาคบริการจะเติบโตร้อยละ 7.3 และการก่อสร้างจะเติบโตร้อยละ 12.5 [su_spacer size=”20″]
ความท้าทายสําคัญประการหนึ่งของยูกันดาคือการเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล รัฐบาลจึงเน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมของประเทศ เพื่อให้เชื่อมกับท่าเรือสําคัญของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีทางเลือก 2 แห่งคือเชื่อมกับท่าเรือมอมบาซา (Mombasa) ของเคนยา หรือท่าเรือ Dar es Salaam ของแทนซาเนีย ซึ่งปัจจุบัน ยูกันดาให้ความสําคัญกับเส้นทางเชื่อมท่าเรือมอมบาซา (ตามเส้นทาง Northern Corridor) โดยอยู่ระหว่างการแสวงหาเงินทุนในการก่อสร้างทางรถไฟรางมาตรฐานจากเมือง Mataba (บริเวณชายแดนเคนยา) ไปยังกรุงกัมปาลา โดยเส้นทางดังกล่าวจะเชื่อมกับไปยังท่าเรือมอมบาซาของเคนยา อย่างไรก็ดี ยูกันดายังไม่สามารถบรรลุการเจรจาเรื่องเงินกู้กับ Export-Import Bank of China ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเจรจาเรื่องเงินกู้เส้นทาง Nairobi-Naivasha-Kisumu ของเคนยา ที่จะเชื่อมต่อมายัง Malaba ยังไม่สําเร็จ ทั้งนี้ หากสร้างแล้วเสร็จ รัฐบาลคาดการณ์ว่าการขนส่งทางรถไฟจะลดต้นทุนการผลิตได้ถึงร้อยละ 30 [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ ยูกันดาค้นพบแหล่งน้ำมันดิบเมื่อปี 2549 โดยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2560 แทนซาเนียและยูกันดา ได้บรรลุข้อตกลงการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันจากเมือง Hoima ในยูกันดา ไปยัง Chongoleani เมือง Tanga ของแทนซาเนียซึ่งเป็นทางออกสู่ทะเล โดยการก่อสร้างน่าจะแล้วเสร็จในปี 2562 และจะสามารถผลิตน้ำมันได้ในปี 2564 ในส่วนของแก๊สธรรมชาติ แทนซาเนียมีแหล่งแก๊สธรรมชาติอยู่ที่เกาะ Songosongo และเมื่อ 25 สิงหาคม 2561 แทนซาเนียและยูกันดาลงนามความตกลงก่อสร้างท่อส่งแก๊สเพื่อลําเลียงแก๊สธรรมชาติไปยังยูกันดา ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จจะเป็นท่อส่งแก๊สข้ามพรมแดนเส้นทางแรกของแอฟริกาตะวันออก [su_spacer size=”20″]
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในปีที่ผ่านมา ยูกันดาถูกวิพากษ์วิจารณ์จากประเทศตะวันตก โดยเฉพาะ EU ในประเด็นสิทธิมนุษยชนในหลายโอกาส จากกรณีการจัดการกับผู้ร่วมชุมนุมประท้วงช่วงการเลือกตั้งซ่อมที่ Arua เมื่อเดือนสิงหาคม 2561 รวมทั้งการดําเนินการของรัฐบาลต่อนาย Robert Kyagulanyi (หรือ Bobi Wine) นักการเมืองอิสระที่ความนิยมกำลังเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อการให้ความช่วยเหลือจาก EU ที่มีต่อยูกันดา [su_spacer size=”20″]
ในด้านการค้าและการลงทุน อิทธิพลของจีนในยูกันดามีมากเช่นเดียวกับหลายประเทศในแอฟริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นแหล่งเงินกู้ที่มีเงื่อนไขน้อย เมื่อเทียบกับเงินกู้จากแหล่งอื่น ๆ [su_spacer size=”20″]
ด้านความสัมพันธ์กับประเทศไทย ไทยกับยูกันดามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันค่อนข้างน้อย โดยส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะความร่วมมือทางวิชาการ ผ่านการให้ทุนฝึกอบรมและทุนการศึกษาในหลักสูตรต่าง ๆ ของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ [su_spacer size=”20″]
ในด้านการค้าและการลงทุนระหว่างยูกันดากับไทย ยังคงมีอย่างจํากัด โดยในปี 2561 ช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม มูลค่าการส่งออกของไทยไปยูกันดามีจํานวน 14.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการนําเข้าสินค้าจากยูกันดามาไทยมีจํานวน 3.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อนึ่ง อุปสรรคสําคัญของการค้ากับยูกันดาคือการเป็นตลาดขนาดเล็ก และต้นทุนค่าขนส่งซึ่งมีอัตราที่สูง เนื่องจากเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเลและระบบโลจิสติกส์ยังไม่ดี [su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ดี เนื่องจากยูกันดาเป็นประเทศที่พึ่งพาเกษตรกรรมเป็นหลักเช่นเดียวกับไทย จึงอาจแสวงหาความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในสาขาเกษตรกรรมเพิ่มเติมที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการเผยแพร่เครื่องมือ/เครื่องจักรกลการเกษตรขนาดเล็กที่ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในยูกันดาได้ [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี