เว็บไซต์สํานักข่าว Frankfurter Neue Presse (FNP) ได้เผยแพร่ข้อมูลธุรกิจให้บริการทางการแพทย์ถึงบ้านในประเทศเยอรมนี สรุปสาระสำคัญดังนี้ [su_spacer size=”20″]
บ. Alpha-Arzte ตั้งอยู่ในเขตไรน์ ไมน์ รัฐเฮสเซิน ได้ริเริ่มการดําเนินธุรกิจให้บริการทางการแพทย์ถึงที่บ้านผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ และมีเป้าหมายดําเนินธุรกิจให้ครอบคลุมทั้งเยอรมนี โดยในปีแรก (ค.ศ. 2017) ทีมแพทย์จํานวน 15 คน เปิดให้บริการในนครแฟรงก์เฟิร์ตและเมืองใกล้เคียง ต่อมาในปี ค.ศ. 2018 ได้ขยายการบริการไปยังเมืองเป็นแบร์กและเมืองใกล้เคียง ในเขตรัฐไบเอิร์น รวมถึงนครฮัมบูร์ก และในปีนี้ (ค.ศ. 2019) จะขยายการบริการเพิ่มเติมในเมืองโคโลญ เมืองดีสเซลดอร์ฟ นครมิวนิก และกรุงเบอร์ลินอีกด้วย โดยให้บริการการแพทย์ในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ เวชปฏิบัติทั่วไป อายุรศาสตร์ กุมารเวช โรคหู จมูก และคอ โรคทางเดินปัสสาวะ โรคกระดูกและข้อ [su_spacer size=”20″]
บ. Alpha-Arzte ได้แนวคิดในการดําเนินธุรกิจจากการที่คนไข้/ผู้ป่วยต้องรอคิวพบแพทย์นานมาก ไม่ว่าจะเป็นที่คลีนิกหรือที่แผนกฉุกเฉินในโรงพยาบาลต่าง ๆ อีกทั้งแพทย์ส่วนใหญ่มักไม่เดินทางไปบริการคนไข้ถึงบ้าน ดังนั้น กลุ่มผู้ใช้บริการหลักของ บ. Alpha-Arzte จึงเป็นกลุ่มคนที่มีเวลาน้อยหรือมีอุปสรรคในการเดินทาง รวมถึงบุคคลที่มีประกันสุขภาพเอกชน เนื่องจากสามารถขอเงินค่ารักษาพยาบาลคืนได้ทั้งหมด โดยการใช้บริการ บ. Alpha-Arzte จะมีค่าใช้จ่ายประมาณครั้งละ 180 ยูโร และในอนาคตจะขยายรูปแบบโดยการใช้แอพพลิเคชั่นนัดหมายแพทย์ รวมถึงการใช้ระบบโทรศัพท์แบบเห็นภาพ (Video call) ในการตรวจอาการหรือให้คําปรึกษาแก่คนไข้อีกด้วย [su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ดี แพทยสมาคมและแพทยสภาของเยอรมนี ตั้งข้อสังเกตว่า วิธีการดําเนินธุรกิจของ บ. Alpha-Arzte ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งตามระเบียบการประกอบวิชาชีพของแพทย์โดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะต้องประกอบอาชีพในเขตที่กําหนด/ที่ตนได้รับอนุญาตเท่านั้นและไม่อนุญาตให้แพทย์เดินทางไปรับงานตามใจชอบ นอกจากนี้ ทั้งสององค์กรยังมีความเห็นว่า ระบบความคุ้มครองสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลไม่มีสิ่งใดบกพร่อง เนื่องจากมีมาตรการรองรับอย่างทั่วถึง อาจเป็นไปได้ว่าคนไข้/ผู้ป่วยต้องใช้เวลารอแพทย์หรือรอคิวนัดหมายบ้าง แต่ทุกคนจะได้รับการรักษาพยาบาลแน่นอน ดังนั้น ธุรกิจของ บ. Alpha-Arzte จึงเป็นการหาเงินโดยให้ประชาชนซื้อความสะดวกสบายมากกว่า อย่างไรก็ดี ทั้งสององค์กรไม่มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องตามกฎหมายของรูปแบบการดําเนินธุรกิจหรือคอยควบคุมสิทธิในวิชาชีพแพทย์ [su_spacer size=”20″]
ธุรกิจการบริการด้านสุขภาพออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่น (Mobile Health Apps – mHealth) ในยุโรปกําลังขยายตัว และคาดว่าในปี ค.ศ. 2019 จะมีมูลค่าประมาณ 9,000 ล้านยูโร โดยเดนมาร์กเป็นตลาดที่มีการขยายตัวของ mHealth มากที่สุด ในขณะที่เยอรมนียังคงมีปัจจัยบวกและลบสําหรับการขยายตัวของธุรกิจ mHealth โดยปัจจัยบวกคือ เยอรมนีมีจํานวนบริษัทที่ทําการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์จํานวนมาก มีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความสามารถและเป็นที่ยอมรับในระดับโลก ปัจจุบันบุคลากรทางการแพทย์มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการทํางานและชีวิตประจําวันสูง รวมทั้งมีแนวโน้มนําเสนอบริการทางการแพทย์และคําปรึกษาทางการแพทย์ผ่านระบบออนไลน์สูงด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่มสตาร์อัพ แต่มีข้อจํากัดด้านข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดี อาจเป็นจุดแข็งในอนาคต เมื่อสามารถปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ เนื่องจากเยอรมนี ให้ความสําคัญกับความปลอดภัยในการให้บริการทางการแพทย์และห่วงกังวลต่อผลกระทบ ข้อผิดพลาด และความรับผิดชอบที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ [su_spacer size=”20″]
ตลาด mHealth ของเยอรมนีมีศักยภาพและโอกาสขยายตัวมากที่สุด เนื่องจากเยอรมนีเป็นตลาดธุรกิจด้านสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป โดยมีการใช้จ่ายรวมประมาณปีละ 3 แสน 2 หมื่นล้านยูโร ซึ่งยังไม่รวมค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพ (wellness) และการออกกําลังกายโดยคนเยอรมันใช้จ่ายสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ อาทิ วิตามิน อาหารเสริม อุปกรณ์สวมใส่เพื่อสุขภาพ (wearables) เฉลี่ยคนละ 900 ยูโรต่อปี รวมไปถึงคนเยอรมันประมาณร้อยละ 30 (และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี) ใช้อุปกรณ์สวมใส่เพื่อสุขภาพ นาฬิกาอัจฉริยะ และโทรศัพท์ [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต