ในช่วงปลายปี 2561 ที่ผ่านมา หลาย ๆ ท่านที่อยู่ในแวดวงธุรกิจระหว่างประเทศคงเคยได้ยินคำว่า United States – Mexico – Canada Agreement (USMCA) ที่เกิดขึ้นโดยเป็นข้อตกลงทางการค้าใหม่ที่สหรัฐฯ พยายามแก้ไขรายละเอียดการนำเข้าส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในกลุ่มชาติสมาชิกอเมริกาเหนือ ทดแทนข้อตกลงทางการค้า North American Free Trade Agreement (NAFTA) ฉบับเดิม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าข้อตกลงทางการค้าใหม่ได้ลงนามไปเรียบร้อยเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว แต่ภาคธุรกิจส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ ต่างก็ยังไม่เห็นด้วย [su_spacer size=”20″]
ประธานาธิบดี Donald Trump อ้างว่าข้อตกลงการค้า USMCA ที่ตนทำกับแคนาดาและเม็กซิโกคือชัยชนะของเกษตรกรสหรัฐฯ โดยข้อตกลงทางการค้าฉบับใหม่นี้จะเปิดตลาดเม็กซิโกและแคนาดาให้แก่สินค้าเกษตรและแรงงานอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ซึ่งจะสร้างรายได้จำนวนมากให้แก่แรงงานเกษตรกรและแรงงานอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ขณะเดียวกัน เม็กซิโกและแคนาดาที่เป็นแหล่งอุปทานเหล็กและอลูมิเนียมที่สำคัญของสหรัฐฯ กลับไม่ประสบความสำเร็จในการต่อรองเพื่อให้สหรัฐฯ ยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าของตน [su_spacer size=”20″]
ภาคธุรกิจหลายรายแสดงท่าทีไม่คาดหวังกับผลประโยชน์ของข้อตกลงการค้าฉบับใหม่นี้มากนัก เพราะแม้ว่าข้อตกลง USMCA จะช่วยเกษตรกรสหรัฐฯ ให้เข้าถึงตลาดผลิตภัณฑ์นมของแคนาดา รวมถึงเปิดตลาดให้กับรถยนต์ที่มีการประกอบในสหรัฐฯ มากขึ้น แต่ภาคธุรกิจสหรัฐฯ ยังคงเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนด้านการค้า ผลจากการตอบโต้จากรัฐบาลต่างชาติด้วยการขึ้นภาษีสินค้าสหรัฐฯ อาทิ เม็กซิโกซึ่งเป็นตลาดส่งออกใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ได้ขึ้นภาษีสินค้าสหรัฐฯ ไปที่ร้อยละ 25 [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ Trump กำลังส่งเสริมนโยบายการใช้ภาษีนำเข้าเป็นเครื่องมือในการต่อรองด้านการค้าและแสดงท่าทีให้เห็นชัดเจนว่าจะยังคงใช้กลยุทธสร้างข้อกีดกันทางการค้าอยู่ต่อไปเพื่อบีบประเทศต่าง ๆ ให้ยินยอมทำในสิ่งที่สหรัฐฯ ต้องการ โดยยืนยันว่ากลยุทธของตนกำลังช่วยประเทศสหรัฐฯ และผู้ผลิตโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมเหล็ก และจากการหาเสียงในวันที่ 9 ตุลาคม 2561 Trump ได้กล่าวว่า อุตสาหกรรมเหล็กสหรัฐฯ กำลังฟื้นตัวกลับมาอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ในขณะที่ภาคธุรกิจจำนวนมากเริ่มรู้สึกถึงผลกระทบของกลยุทธที่เป็นมุมมองด้านเดียวของ Trump ที่ตั้งเป้าช่วยเหลืออุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ทางธุรกิจของนักธุรกิจสหรัฐฯ ที่ต้องพึ่งห่วงโซ่อุปทานของโลกและตลาดของสินค้าสหรัฐฯ ในอีกหลายประเทศ [su_spacer size=”20″]
ภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากมาตรการของ Trump คือ อุตสาหกรรมเครื่องดื่มและอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งต้องพึ่งพาอลูมิเนียมและเหล็กจากต่างชาติจำนวนมากเป็นวัสดุในการผลิตกระป๋องและรถยนต์ ตัวอย่างภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ อาทิ บริษัท PepsiCo. ระบุว่า ราคาอลูมิเนียมนำเข้าจากแคนาดาในเดือนนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้กำไรของบริษัทฯ ลดลง จึงจำเป็นต้องขึ้นราคาสินค้าและลดประมาณการรายได้ของปี ส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัทฯ ตกลงทันที หรือกรณีที่ผู้บริหารบริษัท Ford Motor Company กล่าวว่า ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากภาษีโลหะแต่เพียงอย่างเดียวจะทำให้กำไรของบริษัทฯ ลดลงถึง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐโดยประมาณ ทั้งนี้ สมาคมอะลูมิเนียมแห่งสหรัฐฯ (Aluminum Association) ระบุว่า จนถึงเดือนมิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา การนำเข้าสินค้าอลูมิเนียมที่ตกอยู่ภายใต้อัตราภาษีใหม่ลดลงร้อยละ 7.7 และการนำเข้าเหล็กลดลงถึงเกือบร้อยละ 10 [su_spacer size=”20″]
แม้ว่าเป้าหมายของการแก้ไขสนธิสัญญา NAFTA คือความพยายามที่จะนำอัตราการผลิตกลับคืนสู่สหรัฐฯ ด้วยการเปลี่ยน “rules of origin” ในการผลิตสินค้ารถยนต์ แต่การกระทำดังกล่าวอาจจะเพิ่มค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ผลิตรถยนต์และผู้บริโภคในข้อตกลงใหม่กำหนดให้รถยนต์ที่ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าสหรัฐฯ จะต้องมีส่วนประกอบส่วนใหญ่มาจากแหล่งผลิตที่มีอัตราค่าจ้างแรงงานไม่น้อยกว่าประเทศในอเมริกาเหนือ ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนรถยนต์เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ผลิตในสหรัฐฯ สูญเสียความสามารถในการแข่งขันกับบริษัทรถยนต์ที่มีการผลิตในประเทศอื่น ๆ [su_spacer size=”20″]
ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์
กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส