เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2562 ศูนย์วิจัย SAFE (Sustainable Architecture for Finance in Europe) และ The Interdisciplinary Centre for East Asian Studies (Interdisziplinäre Zentrum für Ostasienstudien – IZO) มหาวิทยาลัยเกอเธ่ ได้จัดการบรรยายในหัวข้อ “The Economics of China’s New Era” ขึ้นที่มหาวิทยาลัยเกอเธ่ โดยเชิญ Prof. Dr. Justin Yifu Lin อาจารย์ประจํามหาวิทยาลัยปักกิ่ง และอดีต Chief Economist ประจํา World Bank มาบรรยาย โดยมีสาระสําคัญ ดังนี้ [su_spacer size=”20″]
จีนได้ปฏิรูปเศรษฐกิจมากว่า 40 ปี โดยในปี ค.ศ. 1970 จีนมีรายได้ต่อประชากร (GDP per capita) ประมาณ 147 ดอลลาร์สหรัฐฯ และเพิ่มเป็นประมาณ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 1978 มีมูลค่าการส่งออกเพียงประมาณร้อยละ 1 ของ GDP และมีมูลค่าการนําเข้าประมาณร้อยละ 6 ของ GDP โดยมีอัตราการบริโภคภายในประเทศประมาณร้อยละ 90 ของ GDP ในขณะที่ปี ค.ศ. 2018 GDP per capita ของจีนได้เพิ่มเป็น 9,740 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง (High Middle Income) โดยมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นลําดับที่ 2 ของโลก และคาดว่าจะกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลกภายในปี ค.ศ. 2030 [su_spacer size=”20″]
จีนเป็นประเทศเดียวในโลกที่ไม่เคยประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจตลอดระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา และสามารถรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี แม้ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกประสบภาวะวิกฤติ เนื่องจากจีนได้ดําเนินนโยบายปฏิรูปทางเศรษฐกิจมาโดยตลอด และจะยังคงดําเนินต่อไป ที่ผ่านมารัฐบาลได้ริเริ่มการจัดตั้ง special economic zones การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการให้บริการในลักษณะ one stop service ให้กับภาคเอกชน รวมทั้งการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าที่ใช้แรงงานในการผลิต (labour intensive goods) อย่างไรก็ดี ต้นทุนที่จีนต้องแบกรับจากการดําเนินนโยบายการปฏิรูปที่ผ่านมา คือ (1) การฉ้อราษฎร์บังหลวงที่ขยายตัวเป็นวงกว้าง และ (2) ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประชาชนระหว่างภูมิภาค[su_spacer size=”20″]
ขณะนี้จีนมีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปทางเศรษฐกิจที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดการสะสมของทุน (รวมถึงเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ ๆ) เพิ่มขึ้นเป็นจํานวนมาก ส่งผลให้แรงงานสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าได้มาก อย่างไรก็ดี สิ่งที่จีนยังขาดอยู่ คือ การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศกําลังพัฒนาประสบปัญหา ดังนั้น หากจะเปรียบเทียบระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกําลังพัฒนาว่ามีระดับการพัฒนาต่างกันมากน้อยเท่าไร จะต้องพิจารณาที่ช่องว่างของ GDP per capita โดยในปี ค.ศ. 2008 GDP per capita ของจีนคิดเป็นเพียงร้อยละ 21 ของ GDP per capita ของสหรัฐฯ ซึ่งเทียบเท่ากับญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1951 สิงคโปร์ ในปี ค.ศ. 1969 และเกาหลีใต้ในปี ค.ศ. 1977 ทั้งนี้ หากจีนสามารถมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ร้อยละ 8-9 ต่อปี ไปได้อีก 10 ปี ก็น่าจะสามารถแซงสหรัฐฯ ขึ้นเป็นมหาอํานาจทางเศรษฐกิจอันดับ 1 ของโลกได้ในปี ค.ศ. 2028 เนื่องจากปัจจุบันสหรัฐฯ มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงร้อยละ 2.5 (ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ มีอัตราการเติบโตทาง เศรษฐกิจเพียงร้อยละ 1.4) ซึ่งต่ำกว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยของประเทศพัฒนาแล้วที่ร้อยละ 3-3.5 [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ ญี่ปุ่นและประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศกําลังประสบปัญหาด้านโครงสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศ จึงควรต้องปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยการลดสิทธิประโยชน์ทางด้านสวัสดิการ และลดการตั้งงบประมาณแบบขาดดุลของรัฐ เพื่อให้ประชาชนลดรายจ่าย อย่างไรก็ดี รัฐบาลอาจไม่สามารถทําได้ในทางปฏิบัติเนื่องจากจะส่งผลกระทบกับฐานเสียงทางการเมืองจํานวนมาก ในช่วงที่ผ่านมา เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจกัประเทศกําลังพัฒนา IMF มักจะแนะนําให้ประเทศเหล่านั้นลดค่าเงิน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก แต่ประเทศพัฒนาแล้วกลับเลือกใช้วิธีผ่อนปรนทางการเงินและลดอัตราดอกเบี้ยลงให้อยู่ในระดับที่ต่ำมาก (บางแห่งติดลบ) เพื่อเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในตลาดแทน ส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับที่ต่ำและฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจได้ช้า จึงส่งผลเสียต่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้มีรายได้น้อย และส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ระหว่างคนรวยและคนจนขยายตัวสูงขึ้นจนอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา [su_spacer size=”20″]
สิ่งที่จีนต้องดําเนินการต่อไป คือ การลดการปกป้อง (protectionism) ในสินค้า labour intensive ซึ่งขณะนี้มีการจ้างงานถึง 124 ล้านคน เพื่อโยกย้ายฐานการผลิตสินค้าเหล่านี้บางส่วนไปยังประเทศกําลังพัฒนาอื่น ๆ และใช้นโยบายการคลังส่งเสริมให้มีการขยายการลงทุน เพื่อเพิ่มการจ้างงานและรายได้ให้กับประชาชน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศ และการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไป โดยคาดการณ์ว่า จีนจะกลายเป็นประเทศที่มีรายได้สูง (High Income)ภายในปี ค.ศ. 2025 และขณะนี้มีประชากรจีนประมาณ 700 ล้านคนที่หลุดพ้นออกจากสถานะความยากจน ทั้งนี้ ในการพัฒนาประเทศจําเป็นต้องมีรัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล ส่งเสริมให้ประชาชนมีการศึกษาที่ดี และสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างทั่วถึง [su_spacer size=”20″]
ปัจจุบัน จีนได้เปลี่ยนสถานะของประเทศไปสู่การเป็นผู้ให้ในสังคมโลกมากขึ้น โดยมองว่า การช่วยเหลือประเทศกําลังพัฒนา จําเป็นต้องเริ่มจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นสําคัญ โดยจีนมีความพร้อมทั้งในด้าน (1) เงินทุน ซึ่งมีเงินทุนสํารองระหว่างประเทศสูงถึง 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2) ทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะด้านวิศวกรโยธา และ (3) วัตถุดิบ ได้แก่ เหล็กและซีเมนต์ จึงได้จัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank – AIB) ขึ้นมา เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนกู้ยืมให้กับประเทศกําลังพัฒนา ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้วย [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต