เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2560 นายนเรนทรา โมดี เคยประกาศในคำปราศรัยโอกาสวันครบรอบเอกราช (Independence Day) ว่าจะสร้างอินเดียใหม่ หรือ New India ภายใน ค.ศ. 2022 ซึ่งเป็นปีที่อินเดียจะครบรอบ 75 ปีแห่งการประกาศเอกราช [su_spacer size=”20″]
เวลาผ่านไป 1 ปี รัฐบาลได้มอบหมายให้สถาบัน National Institution for Transforming India – NITI Aayog (เทียบได้กับ สศช. ของไทย) เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ตามวิสัยทัศน์ ดังกล่าว โดยเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2561 สถาบัน NITI Aayog ได้เผยแพร่รายละเอียด Strategy for New India@75 ซึ่งศูนย์บริการข้อมูลธุรกิจไทย – อินเดีย ขอนำมาสรุปและวิเคราะห์ให้ทุกท่านได้รับทราบพัฒนาการที่น่าจับตามองของอินเดียในครั้งนี้ ดังนี้ [su_spacer size=”20″]
แนวคิดและเป้าหมายที่สำคัญของ Strategy for New India@75 [su_spacer size=”20″]
– ทำให้อินเดียกลายเป็น “อินเดียใหม่” ภายในปี ค.ศ. 2022 และส่งเสริมให้อินเดียมีขนาดเศรษฐกิจ 5 ล้านล้านดอลลาราสหรัฐ ภายในปี ค.ศ. 2030 (อินเดียมีขนาดเศรษฐกิจ 2.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี ค.ศ. 2018) [su_spacer size=”20″]
– เน้นการพัฒนาแบบองค์รวม ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนพร้อมกับส่งเสริมความเจริญทางเศรษฐกิจ และเน้นใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนา [su_spacer size=”20″]
– เน้นการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการวางแผนยุทธศาสตร์ โดย NITI Aayog ได้ประชุมร่วมกับผู้แทนกลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญในสังคม 7 กลุ่มคือ นักวิทยาศาสตร์และผู้คิดค้นนวัตกรรม เกษตรกร องค์กรภาคประชาสังคม think tanks ผู้แทนภาคแรงงาน ผู้แทนสหภาพการค้า และผู้แทนภาคอุตสาหกรรม และได้หารือร่วมกับทั้งหน่วยงานในรัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่น [su_spacer size=”20″]
สาระสำคัญของ Strategy for New India @ 75
ด้วยรายละเอียดกว่า 290 หน้า Strategy for New India @ 75 ได้กำหนดสาขาที่อินเดียต้องได้รับการพัฒนาไว้ 41 สาขา แบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ [su_spacer size=”20″]
(1) ปัจจัยที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (drivers)
(2) โครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure)
(3) การพัฒนาแบบองค์รวม (inclusion) และ
(4) ธรรมาภิบาล (governance) [su_spacer size=”20″]
โดยสามารถแจกแจงสาขาการพัฒนาและยกตัวอย่างโครงการที่น่าสนใจได้ ดังนี้ [su_spacer size=”20″]
(1) กลุ่มปัจจัยที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ประกอบด้วยสาขาการพัฒนา 11 สาขา คือ (1) การกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ (2) การจ้างงานและปฏิรูประบบแรงงาน (3) การพัฒนาความสามารถทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (4) การพัฒนาอุตสาหกรรม (5-7) การเพิ่มรายได้เกษตรกรด้วยเทคโนโลยี/ ปรับปรุงนโยบายด้านการเกษตร/ สร้างโครงสร้างพื้นฐานและ value chain รองรับสินค้าเกษตร (8-9) การผนวกรวมประชาชนให้เข้ามาร่วมได้รับประโยชน์จากบริการทางการเงิน (financial inclusion) และที่อยู่อาศัย (housing for all) (10) การส่งเสริมธุรกิจด้านการท่องเที่ยว และ (11) การส่งเสริมการทำเหมืองแร่ [su_spacer size=”20″]
แผนงานที่น่าสนใจ อาทิ (1) รักษาให้ GDP เติบโตร้อยละ 8 ในระหว่างปี ค.ศ. 2018-2023 และเพิ่มมูลค่าการลงทุนให้มีสัดส่วนร้อยละ 36 ของ GDP (จากเดิมคือร้อยละ 29 ในปี ค.ศ. 2018) (2) เปลี่ยนเกษตรกรให้กลายเป็นผู้ประกอบการ ด้วยการปรับปรุงเทคนิคการทำการเกษตร และขยายตลาดทั้งการค้าออนไลน์และการส่งเสริมการส่งออก (3) การสร้างงานให้มากที่สุดผ่านการปรับปรุงกฎหมายและการพัฒนาฝีมือแรงงาน และ (4) การประกาศนโยบาย “Explore in India” ส่งเสริมการทำเหมืองแร่ด้วยการปรับปรุงกฎหมายให้ง่ายเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ซึ่งจะช่วยสร้างงานจำนวนมาก (ปัจจุบันมีการทำเหมืองแร่เพียงร้อยละ 1.5 ของทรัพยากรที่มีทั้งหมด) เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
(2) กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน เน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทุกด้านที่ช่วยส่งเสริมการทำธุรกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ประกอบด้วยสาขาการพัฒนา 11 สาขา คือ (1) พลังงาน (2) ถนน (3) การรถไฟ (4) การบิน (5) การเดินเรือ/ ท่าเรือ (6) โลจิกติกส์ (7) ความเชื่อมโยงทางดิจิตอล (8) โครงการ Smart City เพื่อพัฒนาไปสู่ชุมชนเมือง (9) ความสะอาด (10) ทรัพยากรน้ำ และ (11) การสร้างสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืน [su_spacer size=”20″]
แผนงานที่น่าสนใจ อาทิ (1) เร่งจัดตั้งหน่วยงาน Rail Development Authority ที่จะช่วยพัฒนากลไกการยกระดับมาตรฐานการขนส่งทางราง (2) เพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางน้ำทั้งทางทะเลและการขนส่งทางน้ำภายในประเทศด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง และ (3) ส่งเสริมเครือข่ายอินเทอร์เนต Bharat Net ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ภายในปี ค.ศ. 2022 เพื่อให้ภาครัฐทุกหน่วยงานสามารถให้บริการแบบดิจิตัลได้เท่าเทียมกันแม้ในพื้นที่ห่างไกล เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
(3) กลุ่มการพัฒนาแบบองค์รวม เน้นแก้ปัญหาที่บั่นทอนการพัฒนาศักยภาพประชาชนโดยแบ่งเป็น 12 สาขาภายใต้ 3 ประเด็นหลักคือ (1.1) การศึกษา – (1) เน้นพัฒนาการศึกษาในโรงเรียน (2) การศึกษาขั้นสูง (3) การฝึกอบรมครู (4) การพัฒนาทักษะการทำงาน (1.2) สุขภาพ – (5) เน้นพัฒนาการจัดการสาธารณสุข (6) การให้บริการทางสุขภาพขั้นพื้นฐาน (7) ทรัพยากรบุคคลในการให้บริการด้านสุขภาพ (8) การประกันสุขภาพถ้วนหน้า (9) การโภชนาการ และ (1.3) การช่วยเหลือผู้ถูกแบ่งชนชั้นสังคม โดยให้ความสำคัญกับ (10) การสร้างความเท่าเทียมทางเพศ (11) การสร้างศักดิ์ศรีให้กลุ่มคนสูงอายุ/ คนพิการ/ คนข้ามเพศ และ (12) สร้างศักยภาพให้กลุ่มคนวรรณะชั้นต่ำ/ ชนเผ่า/ ชนกลุ่มน้อย [su_spacer size=”20″]
แผนงานที่น่าสนใจ อาทิ (1) การยกระดับคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงานด้วยการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมผ่านการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ Atal Tinkering Laboratories ในโรงเรียนต่าง ๆ 10,000 แห่งทั่วประเทศภายในปี ค.ศ. 2020 (2) การสร้างศูนย์ประสานงานเพื่อการสาธารณสุขในพื้นที่ห่างไกลให้ครอบคลุม และความสำเร็จของอินเดียในการประกาศนโยบายประกันสุขภาพประชาชนของนายกรัฐมนตรี – Pradhan Mantri Jan Arogya Abhiyaan (หรือที่รู้จักในนาม Modicare) และ (3) การให้ความสำคัญกับคนชายขอบด้วยการให้การศึกษา ปรับเปลี่ยนกฎระเบียบให้คนชายขอบได้รับการยอมรับและมีส่วนร่วม และส่งเสริมความตระหนักรู้ในสังคม เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
(4) กลุ่มธรรมาภิบาล ประกอบด้วยการพัฒนา 7 สาขาหลักคือ (1) การรักษาสมดุลการพัฒนาในระดับภูมิภาค (2) การพัฒนาภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย (3) การปฏิรูปกฎหมายและการพิพากษาคดี (4) การปฏิรูประบบราชการ (5) การยกระดับการบริหารงานในชุมชนเมือง (6) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดิน และ (7) การกำหนดนโยบายและการบริหารราชการบนพื้นฐานของข้อมูลจริง [su_spacer size=”20″]
แผนงานที่น่าสนใจ อาทิ (1) การเชื่อมโยงฐานข้อมูลจากพื้นที่ห่างไกลเพื่อให้ผู้มีอำนาจในระดับนโยบายสามารถอนุมัติงบประมาณแก้ปัญหาได้ตามข้อเท็จจริงที่มีฐานข้อมูลรองรับ (2) เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น (3) เร่งกระบวนการการพิจารณาทางกฎหมายโดยเฉพาะกรณีที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจที่จะส่งผลกระทบต่อ Ease of Doing Business เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
ความเป็นไปได้ที่จะเห็นอินเดียใหม่ภายในปี ค.ศ. 2022 (พ.ศ. 2565) [su_spacer size=”20″]
ยุทธศาสตร์อินเดียใหม่นี้ได้ตั้งเป้าหมายการพัฒนาอย่างครอบคลุมและชัดเจน เน้นสานต่อนโยบายเดิมโดยระบุข้อบกพร่องและเสนอแนวทางแก้ไข และรัฐบาลได้ดำเนินงานตามทิศทางที่ระบุในยุทธศาสตร์จริง โดยเฉพาะด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเกษตร และการปฏิรูประบบธรรมาภิบาลที่ช่วยส่งเสริมการทำธุรกิจ [su_spacer size=”20″]
หากพรรค Bharatiya Janata Party (BJP) ซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาลชุดปัจจุบัน ได้รับเลือกตั้งกลับมา[1] และมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ก็คาดการณ์ได้ว่าอินเดียจะสามารถพัฒนาและเข้าใกล้ความเป็น New India ได้จริงตามกรอบเวลาที่กำหนด หรือมีการพัฒนาคืบหน้าอย่างชัดเจนภายในกรอบเวลาดังกล่าว [su_spacer size=”20″]
อินเดียใหม่ ส่งผลดีผลร้ายอย่างไรต่อประเทศไทย [su_spacer size=”20″]
(1) ไทยต้องเตรียมการรับมือด้านการเกษตร อินเดียตั้งเป้าหมายที่จะเติบโตขึ้นเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของโลก ซึ่งไทยควรศึกษา ติดตาม และเตรียมการรับมือ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://thaiindia.net/information/in-focus/item/3509-agriculture-export-policy_india.html) [su_spacer size=”20″]
(2) ไทยมีโอกาสในการมาลงทุนบริการด้านการท่องเที่ยวและการสาธารณสุข อินเดียยังคงขาดความเชี่ยวชาญในภาคบริการทั้งสองดังดล่าว ฉะนั้น การมีนโยบายมุ่งพัฒนาการให้บริการด้านการท่องเที่ยวและการสาธารณสุขของอินเดียอาจเป็นโอกาสทางธุรกิจที่ดีสำหรับผู้ประกอบการไทยได้ ทั้งนี้ ปัจจุบัน IHH Healthcare Berhad ซึ่งเป็นธุรกิจด้านสุขภาพของมาเลเซีย ได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่มีอำนาจควบคุม (Controlling Shareholders) ใน Fortis Healthcare Limited ซึ่งเป็นธุรกิจโรงพยาบาลรายใหญ่ของอินเดียแล้ว นอกจากนั้น ฝ่ายอินเดียยังเคยเสนอให้ธุรกิจโรงแรมไทยเข้ามาพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวของอินเดียในหลายโอกาสอีกด้วย [su_spacer size=”20″]
(3) การพัฒนาภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (North Eastern Region – NER) ของอินเดีย หรือ อีสานอินเดีย อาจเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทย อินเดียกำหนดให้ส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอีสานอินเดีย (ประกอบด้วย 8 รัฐ โดยรัฐมณีปุระมีเขตแดนติดกับประเทศเมียนมาและเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางถนนสามฝ่ายไทย – อินเดีย – เมียนมา) และตั้งเป้าหมายจะเปิดเส้นทางการบินจากเมืองกูวาฮาติ รัฐอัสสัม ไปยังประเทศในภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี ประเมินว่า ในระยะยาวเมื่อโครงสร้างพื้นฐานภายในภูมิภาคดังกล่าวได้รับการพัฒนา อีสานอินเดียจะกลายเป็นตลาดการค้าชายแดนและพื้นที่ทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ ธุรกิจการบินของไทยจึงอาจพิจารณาติดตามและประเมินศักยภาพเส้นทางการบินดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนั้น ยังอาจพิจารณาประโยชน์ในด้านการค้าชายแดนผ่านถนนสามฝ่าย ไทย-อินเดีย-เมียนมา และโครงการความเชื่อมโยงอื่น ๆ เช่น Kaladan Multi-Modal Transit Transport Project การส่งเสริมความเชื่อมโยงในกรอบความร่วมมือ BIMSTEC และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับอินเดียโดยเฉพาะในด้านความเชื่อมโยง [su_spacer size=”20″]
(4) อินเดียจะเป็นประเทศที่เหมาะสมต่อการลงทุนมากขึ้น หากดำเนินตามยุทธศาสตร์ New India ได้อย่างต่อเนื่องและจริงจัง อินเดียก็จะกลายเป็นประเทศที่มีตลาดขนาดใหญ่ และมีกำลังบริโภคของชนชั้นกลาง ชุมชนเมือง และประชาชนที่มีอายุเฉลี่ยต่ำมาก เพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาล มีโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการทำธุรกิจ มีแรงงานฝีมือราคาต่ำ มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ดีในราคาประหยัด และมีกระบวนการทางกฎหมายที่ช่วยให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปตามสัญญาและคาดเดาได้ ซึ่งจะช่วยให้อินเดียมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น [su_spacer size=”20″]
(5) ไทย อินเดีย และ APEC Strategy for New India@75 มีเป้าหมายในการบรรลุภายในปี ค.ศ. 2022 หรือ 2565 ซึ่งเป็นปีที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APEC 2022 Thailand ตลอดปีด้วย ซึ่งหากทั้งสองฝ่ายสามารถประสานงานและสานต่อเจตนารมณ์ของอินเดียที่จะเข้าเป็นสมาชิกเอเปคให้สำเร็จในปีดังกล่าว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ความภูมิใจในชาติของอินเดียจะถึงจุดสูงสุดวาระหนึ่ง โดยมีไทยเข้าไปมีส่วนร่วมในภาพนั้นด้วย ก็จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศให้ดียิ่งขึ้นไปอีก [su_spacer size=”20″]
อินเดียกำลังเดินหน้าไปสู่ความเป็นอินเดียใหม่อย่างเป็นรูปธรรม คนไทยจึงควรมองอินเดียใหม่ และเห็นศักยภาพและโอกาสที่แท้จริงในประเทศแห่งอนาคตนี้ ก่อนที่จะถูกธุรกิจชาติอื่น ๆ แซงไปจนไทยตามไม่ทัน [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี