วันที่ 20 ธ.ค. 2561 กระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง (Ministry of Economy and Finance – MOEF) ของเกาหลีใต้ได้เผยแพร่ เอกสารเกี่ยวกับทิศทางการดำเนิ นนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลในปี 2562 ซึ่งจะมุ่งเน้นการดำเนินการใน 4 ด้านหลัก ประกอบด้วย [su_spacer size=”20″]
1. การกระตุ้นเศรษฐกิจ
1.1 การส่งเสริมการลงทุนภาครั ฐและเอกชน โดยจะปรับลดอุปสรรค/ผ่ อนคลายกฎระเบียบ การลงทุน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมการลงทุน จัดสรรงบประมาณสำหรับการพั ฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ผลักดันให้ภาคเอกชนร่วมพั ฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ ประกอบการ SMEs เพื่อชักจูงการลงทุน [su_spacer size=”20″]
1.2 การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กั บผู้ประกอบการ โดยจะออกมาตรการสนับสนุนแก่ผู้ ประกอบการในแต่ละระดับขั้ นของการพัฒนาธุรกิจ ได้แก่ (1) ขั้นเริ่มต้น (startup) การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ ผู้ประกอบการในขั้นเริ่มต้น (2) ขั้นขยายธุรกิจ (scale up) การสนับสนุนกลไกการระดมทุน อาทิ Small Scale IPO และ crowd funding การสนับสนุนเงินกู้/จัดตั้ งกองทุนอุดหนุนบนฐานของทรัพย์สิ นทางปัญญาและเทคโนโลยี (3) ขั้นสิ้นสุด (business exit) การลดหย่อนภาษีควบโอนกิ จการสำหรับบริษัทที่ซื้ อเทคโนโลยีจาก SMEs และ (4) ขั้นพลิกฟื้น (re-bound) การขยายระยะเวลาผ่อนผั นการชำระหนี้ (grace period) สำหรับผู้ประกอบการที่ต้ องการทดลองเริ่มต้นธุรกิ จสาขาใหม่ ๆ หลังจากประสบกับภาวะล้มเหลว [su_spacer size=”20″]
1.3 การกระตุ้นการบริโภคและการท่ องเที่ยว โดยจะออกมาตรการลดหย่อนภาษี สำหรับผู้ซื้อรถยนต์ ผลักดันการจัดโปรแกรมท่องเที่ ยวซึ่งรวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรม Korea Sales Festa (เทศกาลช้อปปิ้งประจำปี ของเกาหลีใต้ ซึ่งจัดในช่วงฤดูใบไม้ร่วง) และการแสดงของศิลปิน K-Pop พัฒนาสถานที่ทางธรรมชาติให้ กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวั ฒนธรรม รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบเพื่ ออนุญาต/ผ่อนผันให้สามารถตั้งร้ านจำหน่ายสินค้าปลอดภาษี ในใจกลางกรุงโซลได้เพิ่มขึ้น [su_spacer size=”20″]
1.4 การกระตุ้นการส่งออก โดยจะจัดสรรเงินทุนสนับสนุ นการก่อสร้างโครงสร้างพื้ นฐานในต่างประเทศ ขยายวงเงินสินเชื่อเพื่อการส่ งออก ส่งเสริมการขยายตลาดส่งออกไปยัง “New South” (ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้) และ “New North” (ประเทศในเอเชียกลาง) รวมทั้งจะสนับสนุนงบประมาณสำหรั บการควบรวมกิจการ และการก่อสร้างโรงงานผลิต/ศูนย์ กระจายสินค้าในพื้นที่ดังกล่าว [su_spacer size=”20″]
1.5 การเฝ้าระวัง/บริหารจั ดการความเสี่ยงของเศรษฐกิจระดั บมหภาค โดยจะระดมเม็ดเงินเพื่อกระตุ้ นการจ้างงานและการเติ บโตทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่ งแรกของปี 2562 เฝ้าระวัง/บริหารจัดการความเสี่ ยงที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจั ยภายนอก โดยเฉพาะสงครามการค้าระหว่ างสหรัฐกับจีน รวมทั้งเฝ้าระวั งผลกระทบของการปรับขึ้นอั ตราดอกเบี้ยที่อาจมีต่อปริ มาณหนี้ครัวเรือน และตราสารหนี้ภาคเอกชน [su_spacer size=”20″]
2. การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม
2.1 การปรับปรุงกฎระเบียบที่เป็นอุ ปสรรคต่อบริการประเภทใหม่ ๆ โดยจะผลักดันการขยายขอบเขตธุรกิ จประเภทการแบ่งปันที่พัก (home sharing) อาทิ Airbnb ให้ครอบคลุมชาวเกาหลีใต้ ริเริ่มระบบติดตาม/เฝ้าระวั งอาการผู้ป่วยทางไกล และริเริ่มโครงการนำร่องสำหรั บการแบ่งปันรถกันใช้ (car sharing) [su_spacer size=”20″]
2.2 การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กั บอุตสาหกรรมหลัก/ดั้งเดิม โดยจะออกมาตรการเพื่อเสริมสร้ างขีดความสามารถด้านนวัตกรรมให้ กับอุตสาหกรรมหลัก (ยานยนต์ ต่อเรือ จอภาพ และปิโตรเคมี) ออกมาตรการสนับสนุนบริษัทผู้ผลิ ตชิ้นส่วนรถยนต์ สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี ยานยนต์แห่งอนาคต อาทิ รถยนต์ไฟฟ้า ยานยนต์ไร้คนขับ รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายการส่ งเสริมการปรับโครงสร้างบรรษัท [su_spacer size=”20″]
2.3 การพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ โดยจะออกมาตรการ/สิทธิประโยชน์ ทางภาษีที่ส่งเสริมการพัฒนาอุ ตสาหกรรมประเภทใหม่ ๆ 4 สาขา ได้แก่ (1) smart factories (2) future cars (3) fintech และ (4) biohealth พัฒนาตัวแบบทางธุรกิจใหม่ ๆ ซึ่งใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชั้ นสูง อาทิ หุ่นยนต์, IoT และ AI รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมื อระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพั ฒนา platform economy [su_spacer size=”20″]
2.4 การพัฒนาอุตสาหกรรมภาคบริการ โดยจะผลักดันการผ่านร่ างกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาภาคบริ การในไตรมาสแรกของปี 2562 ส่งเสริมการนำนวัตกรรมมาพัฒนาธุ รกิจบริการที่เกาหลีใต้มี ความแข็งแกร่ง อาทิ การท่องเที่ยว บริการสุขภาพ คอนเทนต์ โลจิสติกส์ สนับสนุนการเติบโตของอุ ตสาหกรรมซอฟต์แวร์และเกมส์ และส่งเสริมการสร้ างงานในสาขาใหม่ ๆ อาทิ Green Care Specialist [su_spacer size=”20″]
2.5 การส่งเสริมการจ้างงานที่ยั่งยื น โดยพัฒนาตัวแบบการจ้างงานที่เป็ นธรรม/เท่าเทียม และเอื้อประโยชน์กับทั้งภาคอุ ตสาหกรรมและแรงงาน เพิ่มสวัสดิการของแรงงาน SMEs และลดหย่อนภาษีแก่บริษัทที่บริ จาคเงินเข้ากองทุนสวัสดิการ SMEs [su_spacer size=”20″]
3. การสร้างการเติบโตที่ครอบคลุม
3.1 การให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้ ใช้แรงงานและเจ้าของกิ จการขนาดเล็ก โดยจะออกมาตรการเพื่อปกป้ องและลดภาระในการดำเนินธุรกิ จของ SMEs อาทิ การลดค่าธรรมเนียมสำหรับการทำธุ รกรรม/ชำระเงินออนไลน์ กำหนดให้ธุรกิจบางประเภทถู กสงวนไว้สำหรับผู้ประกอบการ SMEs และให้ความช่วยเหลือทางการเงิ นแก่เจ้าของกิจการที่ประสบกั บภาวะหนี้สิน [su_spacer size=”20″]
3.2 การให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่ มเปราะบาง โดยจะส่งเสริมการจ้างงานและอุ ดหนุนค่าจ้างแก่กลุ่มเปราะบาง สนับสนุนให้กลุ่มเปราะบาง/ เยาวชนจากครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ ได้รับโอกาสทางการศึกษา อาทิ การกำหนดโควตานักศึกษาแพทย์ และนักศึกษาวิชากฎหมายสำหรับกลุ่ มเปราะบาง เพิ่มการจ้างแรงงานสตรี กลุ่มวัยกลางคน และกลุ่มผู้สูงอายุ เพิ่มเงินช่วยเหลือ/มาตรการเยี ยวยาสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับ ผลกระทบจากนโยบายขึ้นค่าจ้างขั้ นต่ำและนโยบายกำหนดชั่ วโมงการทำงานไม่เกิน 52 ชั่วโมง รวมทั้งสนับสนุนการเติบโตของวิ สาหกิจชุมชน (social enterprise) [su_spacer size=”20″]
3.3 การยกระดับคุณภาพชีวิต โดยจะเพิ่มจำนวนบ้านเช่า ปรับปรุง/เพิ่มโครงข่ ายทางหลวงในกรุงโซล ขยายขอบเขตของระบบประกันสุ ขภาพแห่งชาติ เพิ่มเงินอุดหนุนค่าเล่าเรียน และออกมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่ นมลพิษในอากาศ (fine dust) อาทิ การเพิ่มสัดส่วนการใช้รถเมล์ ไฟฟ้า และการเพิ่มมาตรการ สนับสนุนสำหรับการใช้รถกวาด/ ทำความสะอาดถนน [su_spacer size=”20″]
3.4 การเสริมสร้างความเข้มแข็ งของโครงข่ายความคุ้มครองทางสั งคม (social safety nets) โดยจะขยายเพดาน/ปรับปรุงเงื่ อนไขเงินคืนภาษีสำหรับบุคคลที่ มีรายได้ต่ำหรือรายได้ปานกลาง (Earned Income Tax Credit – EITC) ขยายความช่วยเหลือแก่ผู้ว่ างงานที่ไม่ได้รับสิทธิ ตามโครงการประกันการว่างงาน ขยาย/เพิ่มสิทธิต่าง ๆ สำหรับแรงงาน อาทิ สิทธิประกันสังคม เงินบำนาญ สวัสดิการที่อยู่อาศัย และปรับปรุงกองทุนบำเหน็จบำนาญ [su_spacer size=”20″]
3.5 การสร้างเศรษฐกิจที่เป็นธรรม โดยจะแก้ไขกฎระเบียบทางเศรษฐกิ จที่ไม่เป็นธรรม อาทิ การกำหนดให้บริษัทขนาดใหญ่ต้ องเปิดเผยข้อมูลการชำระเงินแก่ บริษัทผู้รับเหมา เพิ่มบทลงโทษบริษัทขนาดใหญ่ที่ ขโมยเทคโนโลยีของบริษัท SMEs ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงาน/ ธรรมาภิบาลของบริษัทขนาดใหญ่ และส่งเสริมความร่วมมือระหว่ างบริษัทขนาดใหญ่กับ SMEs [su_spacer size=”20″]
4. การรับมือกับความท้ าทายทางเศรษฐกิ จในระยะกลางและระยะยาว
4.1 การเตรียมความพร้อมสำหรับยุ คการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 โดยจะส่งเสริมการลงทุนและปรั บปรุงงบประมาณด้าน R&D และจัดตั้งกองทุนสนับสนุน R&D เพิ่มเติม พัฒนา platform economy ส่งเสริมการหลอมรวมทางอุ ตสาหกรรม (industrial convergence) รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาศั กยภาพแรงงาน โดยปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา และเพิ่มการฝึกอบรม/พัฒนาฝีมื อแรงงาน [su_spacer size=”20″]
4.2 การเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้ าสู่สังคมสูงอายุและการรับมือกั บปัญหาอัตราการเกิดต่ำ โดยจะปรับปรุงแผน/ยุทธศาสตร์พั ฒนาประเทศให้สอดคล้องกับการเปลี่ ยนแปลงโครงสร้างประชากร ปรับปรุงสวัสดิการ/ความคุ้ มครองสิทธิสตรีคลอดบุตร (maternity benefit) เพิ่มค่าจ้าง/ค่าล่วงเวลาสำหรั บแรงงานสตรีที่มีภาระในการดู แลบุตร สนับสนุนการเปิดศูนย์ดูแลเด็ กในที่ทำงานและให้สวัสดิการแก่ แรงงานที่เป็นพ่อ [su_spacer size=”20″]
4.3 การเตรียมความพร้อมสำหรับความร่ วมมือทางเศรษฐกิจกับเกาหลีเหนือ [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล