เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2561 หนังสือพิมพ์ Business Times ได้เสนอข่าวในหัวข้อ “Singapore November manufacturing beats forecasts with 7.6% year-on-year growth” โดยสํานักงานพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์ (Singapore Economic Development Board) รายงานผลผลิตมวลรวมภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์เมื่อเดือน พ.ย. 2561 ว่าเติบโต 7.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปี 2560 ซึ่งสูงกว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้ที่ 4.2% ในขณะที่การเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมการผลิตเดือน ต.ค. 2561 สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปี 2560 อยู่ 5.5% [su_spacer size=”20″]
แต่อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ชาวสิงคโปร์ อาทิ นาย Vishnu Varathan จาก Mizuho Bank เห็นว่าตัวเลขดังกล่าวไม่น่าจะเป็นเรื่องที่น่ายินดีจนเกินไปนัก เนื่องจากเป็นการเจริญเติบโตซึ่งเปรียบเทียบกับสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซาเมื่อปีก่อนและเมื่อแยกภาคอุตสาหกรรมการผลิตด้านชีวการแพทย์ (biomedical) ซึ่งเติบโตขึ้น 18.5% ซึ่งเป็นตัวที่ดึงตัวเลขการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมการผลิตโดยรวมออกแล้ว ตัวเลขการเจริญเติบโตจะอยู่ที่ 5.3% ขณะที่เมื่อปรับตัวเลขตามฤดูรายเดือน (seasonally adjusted month-on-month) แล้ว ตัวเลขการเจริญเติบโตจะอยู่ที่ 2.8% ทั้งนี้ สาขาวิศวกรรมทางเรือ (Marine and ofshore) เป็นสาขาที่มีการเติบโตสูงสุดที่ 26.6% [su_spacer size=”20″]
นาย Tan Khay Boon อาจารย์มหาวิทยาลัย SIM เห็นว่าแม้ตัวเลขการเจริญเติบโตภาคอุตสาหกรรมจะสูงขึ้นก็ตามแต่เมื่อราคาน้ำมันมีแนวโน้มที่ลดลงเรื่อย ๆ การเจริญเติบโตในภาคอุตสาหกรรมไม่น่าจะยั่งยืน [su_spacer size=”20″]
ด้านนาย Alvin Liew นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของธนาคาร UOB วิเคราะห์ว่าการที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เติบโตขึ้น 11.2% เกิดจากการเร่งผลิตเพื่อตอบสนองการที่สหรัฐฯ ชะลอแผนการเพิ่มอัตราภาษีจากจีนเป็นเวลา 3 เดือน ด้านสาขาชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (ที่เติบโตขึ้น 9.5% เกิดจากการเร่งผลิตก่อนที่จะครบกําหนดดังกล่าวในวันที่ 1 มี.ค. 2562 ซึ่งนาย Liew วิเคราะห์ว่าหากการเจริญเติบโตทางภาคอุตสาหกรรมการผลิตเกิดจากปัจจัยระยะสั้นเช่นนี้แล้ว คาดว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในปี 2562 จะเพิ่มขึ้นเพียง 2.5% เท่านั้น ในขณะที่หมวดอุตสาหกรรมการผลิตทั่วไป (general manufacturing) และวิศวกรรมความแม่นยํา (precision engineering) รวมถึงการพิมพ์ที่มีแนวโน้มการเจริญเติบโตที่ลดลงจะนําไปสู่การเจริญเติบโตที่ลดลงของภาคอุตสาหกรรมการผลิตในปีหน้าเมื่อมีการบังคับใช้ภาษีระหว่างสหรัฐฯ กับจีน [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ นาย Liew แจ้งว่าธนาคาร UOB ได้วิเคราะห์ว่าตัวเลขในการเจริญเติบโตในอุตสาหกรรมการผลิตในปี 2561 จะอยู่ที่ 7.7% ส่วนของเดือน ธ.ค. 2561 จะอยู่ที่ 6.2% ส่วนการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product-GDP) ในปี 2561 จะอยู่ที่ 3.4% [su_spacer size=”20″]
โดยรวมแล้ว นักเศรษฐศาสตร์ของสิงคโปร์เห็นว่าตัวเลขเติบโตของภาคอุตสาหกรรมการผลิตในช่วงนี้ไม่ได้เกิดจากการแรงกระตุ้นด้านเศรษฐกิจใด ๆ มากไปกว่าการตอบสนองต่อพัฒนาการทางการค้าสหรัฐฯ และจีน [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์