ธนาคารโลกระบุว่า อัตราการเติบโตของ GDP คาซัคสถานในปี 2561 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 ลดลงจากร้อยละ 4.1 ในปี 2560 โดยอัตราการเติบโตของภาคการผลิตลดลงประมาณร้อยละ 2 ต่อปี ระหว่างปี 2557 – 2559 [su_spacer size=”20″]
ที่ผ่านมารัฐบาลคาซัคสถานได้พยายามปฏิรูปภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ภาคราชการ นิติบัญญัติ การกระจายอํานาจ และการสร้างบรรยากาศการค้า การลงทุน อย่างไรก็ตาม ธุรกิจขนาดใหญ่ที่รัฐเป็นเจ้าของ ยังคงควบคุมตลาดและรัฐมีมาตรการปกป้องธุรกิจดังล่าว ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของเอกชนโดยเฉพาะธุรกิจรายย่อย [su_spacer size=”20″]
Kazakh Invest (หน่วยงานส่งเสริมการลงทุน) เชื้อเชิญนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนด้านการเกษตร การคมนาคม และโลจิสติกส์ โดยให้เหตุผลว่า แม้เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว เกิดสงครามการค้า แต่คาซัคสถานพร้อมจะเป็นแหล่งลงทุนของนักลงทุนต่างชาติเพราะมีความมั่นคงทั้งด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติ โดยธนาคารโลกประเมินว่าคาซัคสถานมีปริมาณแร่ธาตุสํารองมูลค่าประมาณ 46 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแร่ธาตุหลายชนิดใช้เป็นวัตถุดิบสําหรับอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี [su_spacer size=”20″]
คาซัคสถานประกาศแผนพัฒนา Agro-Industrial Complex 2017-2021 โดยบูรณาการภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในด้านการเกษตรและการวิจัยและพัฒนาที่เน้นเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าด้วยกัน ได้แก่ บรรษัทแห่งชาติ KazAgro หอการค้า สถาบันวิจัย และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับภาคธุรกิจ IT และ เชิญชวนนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมการเกษตร โดยจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ 10 ปี และยกเว้นภาษีนําเข้าเครื่องมือและวัตถุดิบการเกษตร [su_spacer size=”20″]
คาซัคสถานมีเป้าหมายจะสร้าง digital farms ให้ได้ 20 แห่ง และ advanced farms 4,000 แห่งทั่วประเทศภายในปี ค.ศ. 2022 ทั้งนี้ คาซัคสถานจําแนกการทําเกษตรออกเป็น 3 ประเภท ตามระดับของ การใช้เทคโนโลยี คือ (1) basic farm (2) advanced farm และ (3) digital farm ซึ่งรัฐบาลจะสนับสนุน เกษตรกรให้พัฒนาไปสู่การทําเกษตรแบบดิจิทัลเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและลดต้นทุนการผลิตตั้งแต่ระยะเริ่มต้นไปจนถึงกระบวนการผลิตและการตลาด โดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในแต่ละระดับจากแคนาดา ตุรกี ออสเตรเลีย และเยอรมนี นอกจากนี้ ภาคเอกชนคาซัคสถานยังร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Waganingen ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีชื่อเสียงด้านการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อนําไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรด้วย [su_spacer size=”20″]
ในปี 2561 คาซัคสถานส่งออกเนื้อวัว 18,800 ตัน ซึ่งสูงกว่าที่กระทรวงเกษตรประมาณการไว้ร้อยละ 25 โดยจังหวัด Turkestan ส่งออกราวครึ่งหนึ่งของปริมาณการส่งออกทั้งหมด ในปี 2561 รัฐบาลได้ให้ เงินกู้แก่เกษตรกรรายย่อยกว่า 700 ราย สําหรับฟาร์มขนาดเล็กและกลาง เพื่อจัดซื้อวัวกว่า 55,000 ตัว และแกะกว่า 170,000 ตัวภายใต้โครงการ Altyn Asyk (โครงการเงินกู้เพาะพันธุ์แกะ) ทั้งนี้ รัฐบาลมีแผนเพาะพันธุ์ปศุสัตว์ให้ได้ 1 ล้านตัว ปัจจุบันประสบผลสําเร็จแล้วกว่าร้อยละ 98 [su_spacer size=”20″]
ประธานาธิบดีคาซัคสถานตั้งเป้าหมายให้คาซัคสถานเป็นประเทศผู้ส่งออกธัญพืชที่ใหญ่ที่สุดของโลกโดยเน้นการปลูกแบบออร์แกนิก ผลผลิตธัญพืชของปี 2561 มีประมาณ 22.8 ล้านตัน (อัตราการผลิต 1.25 ตันต่อเฮกตาร์) เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 3 และผลิตเมล็ดพืชที่ให้น้ำมัน 2.3 ล้านตัน [su_spacer size=”20″]
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 ธนาคารชาติคาซัคสถานได้ลงทุน 4.5 แสนล้านเต็งกี (ประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท) ในพันธบัตรของ KazAgro (หน่วยงานหลักด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่ง กระทรวงเกษตรเป็นผู้ถือหุ้นรายเดียว) ระยะเวลา 15 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี ทั้งนี้ KazAgro ได้รับการจัดระดับ BBB- โดย Fitch Ratings [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า 1) การปกป้องธุรกิจขนาดใหญ่ที่รัฐเป็นเจ้าของยังเป็นอุปสรรคต่อนโยบายสร้างความหลากหลายในภาคธุรกิจของคาซัคสถาน หากรัฐบาลต้องการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนก็ต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจเอกชนขนาดกลางและเล็กให้มากขึ้น และควรเปิดให้มีการแข่งขันทางธุรกิจอย่างเสรี 2) รัฐบาลคาซัคสถานบูรณาการเรื่อง Agro-Industrial Complex ให้เป็นวาระแห่งชาติโดยการนําภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาร่วมมือกันและจัดสรรงบประมาณตามแผนงานอย่างเป็นระบบนําเทคโนโลยีจาก ต่างประเทศมาใช้ในการวิจัยและพัฒนาร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่ นอกจากนี้ ยังปรับปรุงกฎระเบียบต่าง ๆ และจัดตั้งหน่วยงานดูแลให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงข้อมูล แหล่งความรู้ แหล่งทุน และการตลาดได้ง่ายขึ้น และ 3) คาซัคสถานยกระดับการทําเกษตรแบบดั้งเดิมโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและให้ความสําคัญกับการสร้างเกษตรกรรายใหม่ เน้นการเกษตรออร์แกนิกส์ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดโลก เพิ่มศักยภาพให้แก่เกษตรกรด้วยการให้องค์ความรู้ด้านวิชาการ การเข้าถึงแหล่งทุน เทคโนโลยี และการตลาด [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอัสตานา