เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 59 World Bank เผยแพร่รายงาน Myanmar Economic Monitor December 2018 ระบุว่า แม้ว่าเศรษฐกิจเมียนมายังมีอัตราการเติบโตที่สูงเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ของประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก อย่างไรก็ดี ความไม่แน่นอนและความผันผวนของ เศรษฐกิจมหภาคมีมากขึ้น สืบเนื่องจากความไม่แน่นอน (uncertainty) และความเสี่ยงจากปัจจัยภายในและภายนอก [su_spacer size=”20″]
World Bank คาดการณ์ว่า GDP ของเมียนมาจะลดลงจากร้อยละ 6.8 ใน ปีงบประมาณ 60 – 61 เหลือร้อยละ 6.2 ในปีงบประมาณ 61 – 62 โดยการเติบโตของภาคเกษตรอยู่ในระดับที่ดีที่ร้อยละ 1.2 เมื่อคํานึงถึงอุทกภัยในพื้นที่เกษตรและมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น เนื่องจากอุปสงค์จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ภาคโทรคมนาคมกําลังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง (growing strongly) อย่างไรก็ดี การเติบโตในภาคการผลิต การก่อสร้าง และการขนส่ง ชะลอตัว เนื่องจากการลงทุนที่ชะลอตัว ค่าต้นทุนสูง และอุปสงค์ภายในประเทศอ่อนตัวลง เงินจั๊ตอ่อนตัวลงร้อยละ 18 ในช่วง เม.ย. – ต.ค. 59 ซึ่งส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ โดย World Bank คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นจากร้อยละ 5.4 ในปี งปม. 60 – 61 เพิ่มเป็นร้อยละ 8.8 ในปีงบประมาณ 61 – 62 [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเมียนมาจะฟื้นตัวและเติบโตได้ร้อยละ 6.6 ภายในปีงบประมาณ 63 – 64 เนื่องจากการลงทุนจากภายในประเทศและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจที่ผ่านมา อาทิ การเปิดให้ต่างชาติเข้าไปลงทุนในสาขาค้าปลีกและขายส่ง การเปิดให้ต่างชาติเข้าไปลงทุนภาคบริการมากขึ้น การอนุญาตให้ธนาคารต่างชาติปล่อยเงินกู้แก่บริษัทท้องถิ่น และการบังคับใช้กฎหมายบริษัทเมียนมา (Myanmar Companies Law) เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ ความเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจเมียนมา ได้แก่ ผลกระทบจากสถานการณ์ในรัฐยะไข่ การที่สหภาพยุโรปอาจพิจารณาถอนสิทธิ GSP และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ World Bank คาดการณ์ว่าการขาดดุลงบประมาณของเมียนมาจะสูงขึ้นจากร้อยละ 2.7 ของ GDP ในปีงบประมาณ 60 – 61 เพิ่มเป็นร้อยละ 4 – 4.5 ของ GDP ใน 2 ปี ข้างหน้า [su_spacer size=”20″]
โดยที่เมียนมามีศักยภาพสูงด้าน e-commerce เนื่องจากการก้าวกระโดด (leapfrog) ยุคของ ห้างสรรพสินค้าไปสู่ยุคดิจิตอลและชาวเมียนมาเริ่มสนใจการซื้อของออนไลน์มากขึ้น ซึ่งหากเมียนมาสามารถพัฒนากฎหมายให้สอดคล้องกับความตกลง ASEAN e-commerce ซึ่งประเทศสมาชิกลงนามเมื่อเดือน พ.ย. 61 ได้แล้ว e-Commerce ในเมียนมาจะเติบโตเร็วขึ้น เนื่องจากความตกลงดังกล่าวจะอํานวยความสะดวกด้านธุรกรรมระหว่างประเทศเพื่อรองรับ e-commerce [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง