Friday, May 23, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

ทำความรู้จักตลาดข้าวในสเปน และโอกาสของข้าวไทย โดยเฉพาะข้าวไรซ์เบอร์รี่

12/12/2018
in ทันโลก, ยุโรป
0
ทำความรู้จักตลาดข้าวในสเปน และโอกาสของข้าวไทย โดยเฉพาะข้าวไรซ์เบอร์รี่
0
SHARES
295
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

             แม้สเปนจะเป็นประเทศที่ปลูกข้าวมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของสหภาพยุโรป (อียู) และเป็นประเทศ ผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญประเทศหนึ่ง ซึ่งข้าวที่ปลูกและส่งออกร้อยละ 59 คือข้าวสายพันธุ์ Indica แต่ก็เป็นประเทศที่นำเข้าข้าวมาจากต่างประเทศเข้ามาเช่นกัน ปริมาณเฉลี่ยการนำเข้าข้าวในรอบ 5 ฤดูกาลเพาะปลูก (2554/2555 – 2558/2559) อยู่ที่ 81,432 ตัน โดยนำเข้าข้าวขาว ข้าวกล้อง ข้าวหอมมะลิ และข้าวเหนียวจากไทย ข้าวบาสมาติจากอินเดีย ข้าวเหนียวเขียวจากเวียดนาม ข้าวญี่ปุ่นสำหรับทำซูชิจากญี่ปุ่น และข้าวหอมมะลิจากกัมพูชา เป็นต้น [su_spacer size=”20″]

             สเปนนำเข้าข้าวจากต่างประเทศทั้งข้าวที่ใช้เพื่อการบริโภคและใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น อาทิ ใช้เป็นอาหารสัตว์และผลิตพลังงานชีวภาพ ทั้งนี้ ในส่วนของไทย เมื่อปี 2560 สเปนนำเข้าข้าวจากไทยมากที่สุด และสูงกว่าคู่แข่งอื่น ๆ รวมปริมาณ 36,328.07 ตัน หรือมีสัดส่วนร้อยละ 33.32 จากการนำเข้าข้าวทั้งหมดของสเปน (109,033.86 ตัน) โดยเป็นข้าวที่ใช้เพื่อการบริโภคและเป็นอาหารสัตว์ แบ่งเป็นข้าวเปลือก (0.30 ตัน) ข้าวกล้อง (2,981.69 ตัน) ข้าวขัดสี (29,038.14 ตัน) และข้าวหัก (4,307.92 ตัน) ส่วนใหญ่ขนส่งไปยังสเปนทางทะเลเข้าสู่ท่าเรือบาเลนเซีย ท่าเรือบาร์เซโลนา ท่าเรือเมลีญา (เมืองสเปนที่ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกา) และท่าเรือซานตา ครูซ เด เตเนริเฟ (เมืองเอกของหมู่เกาะแคนารี) นอกจากนี้ เมื่อปี 2560 สเปนยังได้นำเข้าอาหารและเครื่องดื่มจากไทยรวมมูลค่า 93.77 ล้านยูโร อาทิ ข้าว อีกด้วย [su_spacer size=”20″]

             คนสเปนคุ้นเคยกับการบริโภคข้าว โดยอาหารหลักที่เป็นที่นิยมคือปาเอญ่า (Paella) หรือข้าวผัดสเปน และข้าวไข่ดาวราดซอสมะเขือเทศ (Arroz a la cubana) ทั้งนี้ กระแสนิยมการบริโภคข้าวในครัวเรือนสเปนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1-2 โดยในปี 2559 การบริโภคข้าวในครัวเรือนอยู่ที่ 171,787 ตัน ปริมาณการบริโภคต่อคนอยู่ที่ 3.91 กิโลกรัม/ปี และรายจ่ายค่าข้าวต่อหัวอยู่ที่ 6.02 ยูโร/ปี ซึ่งเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละร้อยละ 2-3 และเมื่อประกอบกับกระแสรักสุขภาพที่กำลังมาแรง จากสถิติซึ่งชาวสเปนร้อยละ 1 เป็นโรคเซลิแอค (Celiac) และร้อยละ 6 มีอาการแพ้กลูเตน ส่งผลให้ข้าวไทย โดยเฉพาะข้าวไรซ์เบอร์รี่ ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูงและผลิตภัณฑ์จากข้าวเป็นอีกทางเลือกของอาหารสำหรับชาวสเปน [su_spacer size=”20″]

             ปัจจุบัน ได้มีการจำหน่ายข้าวไรซ์เบอร์รี่ในสเปนแล้ว แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก ด้วยเล็งเห็นถึงโอกาสในการเติบโตของตลาดข้าวไรซ์เบอร์รี่ในสเปน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เดินทางเยือนสเปนเมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 เพื่อศึกษาลู่ทางการขยายตลาดการค้าสินค้าไทยในสเปน โดยเฉพาะข้าวไรซ์เบอร์รี่ และในเวลาต่อมา สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริด ได้ต่อยอดการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว โดยการนำคณะผู้แทนจากหน่วยงานสเปนจากกระทรวงเกษตร กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ (ICTAN-CSIC) เดินทางไปศึกษาดูงานที่ประเทศไทย ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารระหว่างไทยกับสเปนเมื่อเดือนกันยายน 2561 เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับคณะผู้แทนจากสเปนเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรของไทย โดยเฉพาะข้าวไรซ์เบอร์รี่ และเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมอาหาร ซึ่งจะปูทางไปสู่ความร่วมมือในสาขาดังกล่าว ระหว่างไทยกับสเปนในอนาคต โดยไม่เพียงแต่ในแง่การค้าขาย เพื่อเปิดตลาดสินค้าข้าวไรซ์เบอร์รี่ของไทยในสเปนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโอกาสในการพัฒนาความร่วมมือด้านการศึกษาวิจัย อาทิ การศึกษาค้นคว้าวิจัยคุณสมบัติด้านโภชนาการและการรักษาโรคของข้าวไรซ์เบอร์รี่ จากกระบวนการงอกของข้าว (Germination process) เป็นต้น ซึ่งจะช่วยผลักดันให้สินค้าไทยเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในกลุ่มผู้บริโภคสเปนมากขึ้น นอกจากนี้ เพื่อให้ข้าวไทยเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในสเปน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริด ได้จัดการสาธิตการประกอบอาหารไทย โดยมีข้าวเป็นส่วนประกอบหลัก เช่น การสาธิตอาหารไทยในงาน Bazar Kermes Diplomatico 2018 กรุงมาดริด  การสาธิตอาหารไทยในงาน Expo Halal Alimentaria  2018 นครบาร์เซโลนา  โครงการเผยแพร่อาหารไทยที่หมู่เกาะ บาเลอาริกของสเปน  โดยการสาธิตการทำอาหารไทยที่สถาบันการโรงแรมแห่งหมู่เกาะบาเลอาริก (Escola d’Hoteleria de les Illes Balears-EHIP) และการสาธิตการทำอาหารไทยในรายการ Cinc Dies ของสถานีโทรทัศน์ช่อง IB 3 แห่งหมู่เกาะบาเลอาริก เป็นต้น [su_spacer size=”20″]

             นอกจากนี้ ด้วยทำเลที่ตั้งของสเปน จึงเป็นประตูการค้าสู่ยุโรปใต้ แอฟริกา และลาตินอเมริกา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการบริโภคข้าวด้วยเช่นกัน ผู้ประกอบการที่สนใจขยายตลาดสินค้าอาหารและเกษตรของไทยในสเปน โดยเฉพาะสินค้าข้าว อาจพิจารณาเข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาหารและเกษตรที่สำคัญ ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ได้ทำความรู้จักกับตลาดสเปน รวมถึงคู่ค้าในตลาดแห่งนี้ให้มากขึ้น อาทิ งาน Fruit Attraction ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่กรุงมาดริด (http://fruitattraction.com/en/home/) และงาน Alimentaria ซึ่งจัดขึ้นทุก 2 ปีที่นครบาร์เซโลนา (ครั้งต่อไปมีกำหนดจัดในปี 2563) (http://www.alimentaria-bcn.com/en/home) ผู้ประกอบการที่สนใจออกคูหาภายใต้คูหาประเทศไทยในงาน Alimentaria สามารถขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (http://www.ditp.go.th/) หรือที่สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมาดริด ได้ที่อีเมล์ in**@************in.com [su_spacer size=”20″]

             นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจยังสามารถเปิดตลาดสินค้าข้าวไทยผ่านผู้นำเข้าข้าวไทยในสเปน อาทิ 1) บริษัท Herba Ricemills ซึ่งมีบริษัท Herba Bangkok จัดตั้งในไทย (http://www.ebrofoods.es/en/) 2) บริษัท Iberochina (https://www.orientalmarket.es/shop/) 3) บริษัท S. Colomer Casas (http://www.scolomercasas.es)/ และ 4) บริษัท La Perla (http://www.laperlavalles.cat/) เป็นต้น [su_spacer size=”20″]

ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสเปน

Previous Post

ลู่ทางเปิดตลาดสินค้าเทคโนโลยีการเกษตรไทยในไนจีเรีย

Next Post

นครหยินชวนเป็นเจ้าภาพจัด 2018 Global Smart City Summit เร่งเปลี่ยนชนบทสู่เมืองดิจิทัล

mackeyrisen

mackeyrisen

Next Post
นครหยินชวนเป็นเจ้าภาพจัด 2018 Global Smart City Summit เร่งเปลี่ยนชนบทสู่เมืองดิจิทัล

นครหยินชวนเป็นเจ้าภาพจัด 2018 Global Smart City Summit เร่งเปลี่ยนชนบทสู่เมืองดิจิทัล

Post Views: 911

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

เขต YRD ทะยานสู่ผู้นำโลกหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ และโอกาสความร่วมมือกับไทย ตอนที่ 3

เขต YRD ทะยานสู่ผู้นำโลกหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ และโอกาสความร่วมมือกับไทย ตอนที่ 3

22/05/2025
เจาะตัวเลขการค้าหูหนาน ไตรมาสแรก 2568

เจาะตัวเลขการค้าหูหนาน ไตรมาสแรก 2568

22/05/2025
ทิศทางความเคลื่อนไหวด้านพลังงานนิวเคลียร์ของไต้หวัน

ทิศทางความเคลื่อนไหวด้านพลังงานนิวเคลียร์ของไต้หวัน

22/05/2025
“โปรตีนทางเลือก” โอกาสสำหรับธุรกิจอาหารเพื่อความยั่งยืนในสิงคโปร์

“โปรตีนทางเลือก” โอกาสสำหรับธุรกิจอาหารเพื่อความยั่งยืนในสิงคโปร์

22/05/2025
สรุปข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาเดิน-เวือรืทเทิมแบร์ค

สรุปข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาเดิน-เวือรืทเทิมแบร์ค

22/05/2025
จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

19/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X