จากรายงานประจําปี Review of Maritime Transport 2018 ของ UNCTAD ซึ่งเผยแพร่เมื่อปลายเดือนตุลาคม 2561 ระบุว่า บังกลาเทศยังคงเป็นศูนย์กลางการยุบเรือเป็นเศษเหล็กที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เป็นรองอินเดียเท่านั้น โดยในปี 2560 มีเรือถูกส่งมายุบในบังกลาเทศจํานวน 6.26 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 27.32 ของเรือที่ถูกยุบทั่วโลก ซึ่งมีปริมาณ 22.91 ล้านตัน อย่างไรก็ดี ปริมาณเรือที่ถูกส่งมายุบในบังกลาเทศในปีที่แล้วได้ลดลงจาก 8.24 ล้านตันในปี 2559 ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มทั่วโลกที่ปริมาณเรือที่ถูกยุบลดลง เนื่องจากอัตราการใช้ประโยชน์สูงสุดจากเรือดีขึ้น (improved market optimism) แนวโน้มดังกล่าวเป็นผลมาจากต้นทุนการยุบเรือสูงขึ้นทั่วโลก [su_spacer size=”20″]
เรือที่ถูกยุบในปี 2560 ส่วนใหญ่เป็นเรือบรรทุกน้ำมัน ในขณะที่การยุบเรือขนส่งคาร์โกและเรือบรรทุกสินค้าเทลําลดลง ซึ่งสะท้อนอัตราการใช้ประโยชน์สูงสุดจากเรือที่ดีขึ้น ทั้งนี้ เรือบรรทุกน้ำมันกว่าร้อยละ 54 ถูกส่งมายุบทําลายในบังกลาเทศ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลสถิติของทางการบังกลาเทศที่ระบุว่า เรือส่วนใหญ่ที่มีการถูกยุบในประเทศเป็นเรือบรรทุกน้ำมัน [su_spacer size=”20″]
จากการเปิดเผยของ Bangladesh Ship Breakers and Recyclers Association ปัจจุบัน ต้นทุนในการยุบเรือสูงขึ้นกว่าก่อนหน้านี้ โดยอยู่ระหว่าง 400-450 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ทั้งนี้ ลูกค้าหลักในประเทศที่รับซื้อเศษเหล็กจากเรือที่ถูกยุบคือโรงงานผลิตเหล็กกล้าและโรงงานผลิตเหล็กเส้นประเภทรีดซ้ำ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างและยานยนต์ อย่างไรก็ดี ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ อินเดียและจีนได้กลายเป็นแหล่งนําเข้าทางเลือกที่สําคัญขึ้น เนื่องจากมีราคาถูกกว่า [su_spacer size=”20″]
อนึ่ง อุตสาหกรรมยุบเรือในบังกลาเทศมักถูกตรวจสอบเรื่องมาตรฐานแรงงานและมาตรฐานสิ่งแวดล้อมจาก NGOs ทั้งในและต่างประเทศ ดังเช่นเมื่อต้นปีที่ผ่านมา Shipbreaking Platform ได้ออกรายงานประจําปีซึ่งระบุว่า อุตสาหกรรมดังกล่าวในบังกลาเทศยังมีสภาพการทํางานที่สกปรกและอันตราย รวมทั้งแสดงความกังวลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางทะเลที่ถูกทําลาย การกําจัดของเสียที่เป็นอันตราย สภาพการทํางานที่เลวร้ายที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงและถึงแก่ชีวิต และการใช้แรงงานเด็กอย่างผิดกฎหมาย อย่างไรก็ดี Bangladesh Ship [su_spacer size=”20″]
Breakers and Recyclers Association ยืนยันว่า ในช่วงในกี่ปีที่ผ่านมา สภาพการทํางานในอุตสาหกรรมนี้ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยงานหลายอย่างที่เคยใช้มือทําได้ถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงให้แก่คนงาน [su_spacer size=”20″]
นอกจากการยุบเรือแล้ว อุตสาหกรรมต่อเรือก็เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่รัฐบาลบังกลาเทศให้ความสําคัญในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นอกเหนือจากอุตสาหกรรมยา เพื่อสร้างความหลากหลายในสินค้าส่งออก จากสถิติของ Export Promotion Bureau ระหว่างปี 2552 – 2560 บังกลาเทศมีรายได้จากการส่งออกเรือ รวมทั้งสิ่งก่อสร้างลอยน้ำอื่น ๆ รวมประมาณ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2561 (ก.ค. 2560 – มี.ค. 2561) มีรายได้ประมาณ 30.12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ บังกลาเทศมุ่งเจาะตลาดเรือขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งมีมูลค่ากว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันกับประเทศผู้ต่อเรือรายใหญ่ [su_spacer size=”20″]
ปัจจุบัน บังกลาเทศมีอู่เรือที่มีขีดความสามารถในการผลิตเรือที่ได้มาตรฐานระหว่างประเทศ และส่งออกประมาณ 7 อู่ อาทิ Ananda Shipyard Ltd. Chittagong Dry Dock Ltd. FMC Dockyard Ltd. Khulna Shipyard Ltd. Western Marine Shipyard Ltd. โดย Western Marine Shipyard Ltd.และ Ananda Shipyard Ltd. เป็นผู้นําในการส่งออกอันดับ 1 และ 2 ตามลําดับ ตลาดส่งออกสําคัญมีทั้งในยุโรป (เดนมาร์ก ฟินแลนด์ และเยอรมนี) ใน เอเชียและแปซิฟิก (ปากีสถาน อินเดีย และนิวซีแลนด์) และในแอฟริกา (เคนยา แทนซาเนีย แกมเบีย โมซัมบิก และ อูกานดา) ล่าสุด เมื่อปลายเดือนสิงหาคม ปี 2560 Western Marine Shipyard Ltd. เพิ่งส่งมอบเรือตรวจการณ์นอกชายฝั่ง MV Doria มูลค่า 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับ กระทรวงประมง ปศุสัตว์และเกษตรของเคนยา ขณะนี้ WMSL กําลังต่อเรือประมงที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงมูลค่าประมาณ 12 ล้านยูโรให้แก่บริษัทประมงนอร์เวย์ H Østervold AS ซึ่งคาดว่าจะส่งมอบได้ในปี 2562 [su_spacer size=”20″]
รัฐบาลบังกลาเทศได้รับเงินช่วยเหลือจาก ADB จํานวน 350 ล้าน USD ในการพัฒนาทักษะแรงงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมต่อเรือด้วย ภายใต้ Skills for Employment Investment Programme (SEIP) โดยในสาขาการต่อเรือ รัฐบาลบังกลาเทศร่วมกับ Association of Export Oriented Shipbuilding Industries of Bangladesh (AEOSIB) สถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง และอู่ต่อเรือดําเนินการฝึกอบรมแรงงานซึ่งหลักสูตรมีระยะเวลา 3 เดือน ในเฟสแรก (2558-2561) มีผู้สมัครเข้ารับการอบรม 7,328 คน ในเฟสที่ 2 มีเป้าหมายจะผลิตอีก 5,000 คน ภายในปี 2563 และในเฟสที่ 3 อีก 9,000 คนภายในปี 2567 ทั้งนี้ ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมภายใต้โครงการดังกล่าวจะได้รับประกาศนียบัตรจาก DNV-GL (Det Norske Veritas-Germanischer Lloyd) ซึ่งเป็นบริษัทรับรองมาตรฐานชั้นนําแห่งหนึ่งของโลกในอุตสาหกรรมการเดินเรือ และจาก Bangladesh Technical Education Board (BTEB) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐในการกํากับดูแลและพัฒนาอาชีวศึกษาในบังกลาเทศ ซึ่งในเฟสแรกมีผู้ผ่านหลักสูตรและได้รับประกาศนียบัตรแล้ว 4,981 คนในจํานวนนี้กว่าร้อยละ 80 ได้รับการจ้างงานในประเทศ ในขณะที่บางคนที่เหลือได้งานในต่างประเทศ [su_spacer size=”20″]
อนึ่ง อุตสาหกรรมต่อเรือในบังกลาเทศมีประวัติความเป็นมาค่อนข้างยาวนาน เนื่องจากเป็นประเทศที่มีแม่น้ำใหญ่ ๆ ไหลผ่านหลายสายและมีชายฝั่งทะเลยาวกว่า 580 กิโลเมตร เรือต่าง ๆ ที่ใช้ในการคมนาคมและขนส่งตามลําน้ำภายในประเทศและตามแนวชายฝั่งส่วนใหญ่ต่อขึ้นภายในประเทศ จึงมีการสั่งสมความรู้ด้านเทคนิคประสบการณ์และความชํานาญในระดับหนึ่ง ปัจจุบัน มีอู่ต่อเรือและอู่ซ่อมบํารุงเรือที่ดําเนินกิจการอยู่กว่า 60 คู่ ทั่วประเทศ ในจํานวนนี้ เกือบร้อยละ 70 ตั้งอยู่ใกล้กรุงธากา และเมือง Narayanganj ตามริมฝั่งแม่น้ำ Buriganga และ Meghna ร้อยละ20 อยู่ ริมฝั่งแม่น้ำ Karnapali ที่เมืองจิตตะกอง ร้อยละ 6 อยู่ที่เมือง Khulna ริมฝั่งแม่น้ำ Pushur และที่เหลืออีกร้อยละ 4 อยู่ในภูมิภาค Barisal อย่างไรก็ดี ความท้าทายของอุตสาหกรรมต่อเรือในบังกลาเทศมีอาทิ การขาดแคลนเงินทุน เงินกู้จากธนาคารมีดอกเบี้ยสูงการขาดเงินอุดหนุนจากรัฐ เครือข่ายการตลาดยังไม่ดี โครงสร้างพื้นฐานยังไม่เพียงพอ การขาดความคิดสร้างสรรในการออกแบบ การก้าวให้ทันเทคโนโลยี และขีดความสามารถในการสร้างเรือขนาดใหญ่ [su_spacer size=”20″]
ในบังกลาเทศ มีการจัดงาน Bangladesh International Marine and Offshore Expo ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าอุปกรณ์เครื่องจักร และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมทางทะเล (maritime industry) ทั้งการเดินเรือ การต่อเรือ การยุบทําลายเรือการขุดลอกร่องน้ำ งานวิศวกรรมนอกชายฝั่ง การบริหารจัดการท่าเรือ และโลจิสติกส์ทางทะเล ที่ผ่านมา จัดขึ้นที่เมืองจิตตะกอง โดยในปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 – 8 ก.ย. มีบริษัทเข้าร่วมแสดงในงาน 114 บริษัท มีผู้เข้าชมงานกว่า 8,000 คนตลอด 3 วัน ในจํานวนนี้ เป็นผู้แทนต่างชาติกว่า 300 คนจาก 14 ประเทศ อย่างไรก็ดี งาน BIMOX2019 จะย้ายไปจัดที่กรุงธาการะหว่างวันที่ 19-21 ก.ย. 2562 ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.marine-bangladesh.com หรือ www.savorbd.com/Bimox-2019.php
[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงธากา