เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2561 นาย WiLiam Ruto รองประธานาธิบดีเคนยาได้เป็นประธานพิธีเปิดตัวแผนพัฒนาช่วงกลางเทอมที่ 3 (ค.ศ. 2018-2022) ของเคนยา (Third Medium Term Plan 2018-2022) ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติ เคนยัตตา ซึ่งแผนพัฒนาดังกล่าวมีความสําคัญต่อการกําหนดทิศทางการพัฒนาของเคนยาในระยะอีก 5 ปีข้างหน้า โดยแนวคิดหลักของแผนพัฒนาช่วงกลางเทอมที่ 3 คือ Transforming lives: advancing socioeconomic development through the “Big Four” ซึ่งมีเป้าหมายที่จะให้ความสําคัญแก่การบรรลุเป้าหมายตาม Big Four Initiatives ดังนี้ (1) Enhancing Manufacturing เพิ่มสัดส่วนภาคอุตสาหกรรมใน GDP จากร้อยละ 9.2 เป็นร้อยละ 15 (2) Affordable Housing: จัดสรรที่พักแก่ประชาชน โดยสร้างบ้าน 500,000 หลังภายใน 5 ปี ทั่วประเทศ (3) Food Security and Nutrition: ส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร โดยสร้างแหล่งเก็บกักน้ำ เพื่อการชลประทาน คลังอาหาร และปรับปรุงด้านโภชนาการ และ (4) Universal Health Coverage: ปรับปรุงการบริการด้านสาธารณสุข โดยให้หลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า (Universal Health Coverage – UHC) ร้อยละ 100 [su_spacer size=”20”]
แผนพัฒนาฯ กําหนดให้พัฒนา 9 ด้าน ดังนี้ (1) โครงสร้างพื้นฐาน (2) เทคโนโลยีสารสนเทศ (3) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (4) การปฏิรูปที่ดิน (5) การปฏิรูประบบราชการ (6) แรงงานและการจ้างงาน (7) คุณค่าและคุณธรรมแห่งชาติ (8) การแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และ (9) ความมั่นคง การสร้างสันติภาพ และการแก้ไขความขัดแย้ง [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีโครงการที่สําคัญ อาทิ (1) พัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติเคนยัตตา ให้รองรับผู้โดยสารได้ถึง 9 ล้านคน (2) พัฒนาท่าเรือ Mombasa ท่าเรือ Dongo Kundo และท่าเรือ Lamน (3) ขยายทางรถไฟรางมาตรฐานระยะที่ 2 กรุงไนโรบี-มาลาบา ซึ่งติดกับชายแดนยูกันดา (4) สร้างถนนลาดยาง 10,000 กิโลเมตร เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
แผนพัฒนาฯ กําหนดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.5 ในช่วงแผนพัฒนาช่วงกลางเทอมที่ 2 เป็นร้อยละ 5.9 ในช่วงปี 2561/ 2562 และร้อยละ 7 ในช่วงสิ้นปี 2022 นอกจากนี้ ต้องการเพิ่มเงินออมในประเทศจากร้อยละ 18.8 เป็นร้อยละ 23.2 ของ GDP และการลงทุนเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 24.4 เป็นร้อยละ 27.2 ของ GDP ซึ่งสาขาการพัฒนาเศรษฐกิจที่ให้ความสําคัญมี 8 ด้าน ได้แก่ [su_spacer size=”20″]
(1) เกษตรกรรมและปศุสัตว์ จะพัฒนาระบบชลประทานเพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูก 1.2 ล้านเอเคอร์ และจะให้ การสนับสนุนปุ๋ยแก่เกษตรกร 200,000 ตันต่อปี
(2) อุตสาหกรรม จะให้การสนับสนุนทางการเงินและมาตรการจูงใจต่าง ๆ เพื่อเพิ่มการลงทุนใหม่ในด้านอุตสาหกรรม 3,800 แห่ง โดยเน้นเพิ่มการส่งออกผ้าและเครื่องนุ่งห่มจาก 80 พันล้านชิลลิงเคนยา ในปี 2560 เป็น 200 พันล้านชิลลิงเคนยา ในปี 2565
(3) การท่องเที่ยว ต้องการเพิ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติจาก 1.3 ล้านคนในปี ค.ศ. 2016 เป็น 2.5 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2022
(4) การค้า
(5) การดําเนินธุรกิจ
(6) การเงิน
(7) น้ำมันก๊าซ สินแร่ ในด้านการผลิตน้ำมันดิบ จะเพิ่มกําลังการผลิตจาก 989,000 Cubic Meters เป็น 1,222,000 Cubic Meters
(8) Blue Economy [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ มีแผนจัดตั้ง Konza Technopolis City เป็นเมืองแห่งนวัตกรรม และตั้ง Nairobi International Financial Centre เพื่อเป็นศูนย์บริการทางการเงินในภูมิภาค [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ ทิศทางการพัฒนาตามแผนดังกล่าว อาจจะเป็นช่องทางให้ภาคเอกชนไทยเข้ามาดําเนินธุรกิจในเคนยามากขึ้น โดยเฉพาะในด้านการก่อสร้างที่อยู่อาศัย การลงทุนด้านอุตสาหกรรม และธุรกิจด้านการท่องเที่ยว [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต/ คณะผู้แทนถาวร ณ กรุงไนโรบี