กระทรวงเศรษฐการไต้หวัน (Ministry of Economic Affairs) รายงานสถานการณ์การลงทุนในไต้ หวันล่าสุดว่า ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2561 มูลค่ารวมของโครงการลงทุ นขนาดใหญ่ในไต้หวัน (โครงการที่มีมูลค่าการลงทุนเกิ นกว่า 500 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน) มีทั้งหมด 1.71 ล้านล้านดอลลาร์ไต้หวัน อัตราการเติบโตต่อปีถึงร้อยละ 31.54 และคาดการณ์ว่าตลอดทั้งปี 2561 จะมีมูลค่าการลงทุนดังกล่ าวรวมแล้วเกินกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ไต้หวัน โดยการลงทุนส่วนใหญ่เป็ นประเภทของการลงทุนตามนโยบายพั ฒนาอุตสาหกรรม 5+2 ของรัฐบาล และอุตสาหกรรมจำพวกอิเล็กทรอนิ กส์ ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรม Internet of Things (IoT) อุตสาหกรรม AI อุตสาหกรรม Cloud Computing และอุตสาหกรรมผลิตกระแสไฟฟ้ าจากพลังงานลม ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนิ นนโยบายพลังงานสีเขียวของรั ฐบาล [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรม 5+2 (5+2 Industrial Innovation Plan) ดังกล่าว จำแนกออกได้เป็น 5 อุตสาหกรรมแห่งอนาคตของไต้หวัน ได้แก่ (1) เทคโนโลยีชีวภาพ (2) อุตสาหกรรมเทคโนโลยีเพื่อการอนุ รักษ์สิ่งแวดล้อม (3) อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลอัจฉริ ยะ (4) อุตสาหกรรมอวกาศและกลาโหม (5) อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Internet of Things (IoT) เพื่อการพัฒนาให้ไต้หวันมี ความล้ำหน้าทางด้านอิเล็กทรอนิ กส์เสมือน Silicon Valley แห่งเอเชีย และพ่วงอีก 2 แนวทาง ได้แก่ เกษตรกรรมแผนใหม่ (New Agriculture) และแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่กำลังจะก้าวเข้ามามี บทบาทในระบบอุ ตสาหกรรมและภาคการผลิตนับจากนี้ [su_spacer size=”20″]
ในส่วนการลงทุนของไต้หวันในจีน ข้อมูลสถิติจากคณะกรรมการส่ งเสริมการลงทุน (Investment Commission) ของกระทรวงเศรษฐการไต้หวันระบุ ว่า 8 เดือนแรกของปี 2561 ไต้หวันมีการลงทุนในจีนไม่ถึง 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นอัตราที่ลดลงร้อยละ 1 จากช่วงเดียวกันในปี 2560 และหากแนวโน้มยังคงเป็นไปในลั กษณะเช่นนี้ คาดการณ์ว่าปี 2561 จะเป็นปีที่ 3 ที่การลงทุนในจีนของไต้หวั นลดลงอย่างต่อเนื่อง และเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2561 นายเฉิน เหลียงจี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยี ไต้หวันได้ตอบข้อซั กถามของคณะกรรมาธิการการศึ กษาและวัฒนธรรม สภานิติบัญญัติ ระบุว่าในขณะนี้มีผู้ ประกอบการไต้หวันในจีนประมาณ 10 รายแสดงความประสงค์ที่จะกลั บมาลงทุนในไต้หวัน พร้อมกับประสานงานไปยังนิคมวิ ทยาศาสตร์ (Science Park) ในไต้หวัน ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับการพั ฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสู งภายในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่ อการวิจัยและพัฒนา โดยมีเงื่อนไขแตกต่างกันไปตามนิ คมวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ เพื่อให้ผู้ประกอบการพิ จารณาความเหมาะสมของการลงทุน [su_spacer size=”20″]
สำหรับสถานการณ์เศรษฐกิจของไต้ หวันในปัจจุบัน สถาบันประเมินเครดิต Fit Ratings ได้ประเมินอัตราการเจริญเติ บโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไต้หวันว่าจะปรับตั วลดลงจากอัตราการขยายตัวร้อยละ 2.7 ในปี 2561 เหลือร้อยละ 2.4 ในปี 2562 จากสถานการณ์สงครามการค้าระหว่ างจีนกับสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่ งออกไต้หวันที่อยู่ในห่วงโซ่อุ ปทานของจีน และการส่งออกสินค้าไปยังจี นและฮ่องกงมีมากกว่าร้อยละ 40 รวมถึงคาดการณ์ว่าความสัมพันธ์ ระหว่างช่องแคบไต้หวันจะอยู่ ในสภาพคลุมเครือเช่นนี้ต่ อไปจนถึงการเลือกตั้งประธานาธิ บดีไต้หวันครั้งต่อไปในปี 2563 จากที่ในปัจจุบันความสัมพันธ์ ของจีนและไต้หวันเสื่อมถอยลงนั บตั้งแต่การเข้าดำรงตำแหน่ งของประธานาธิบดีไช่อิงเหวิ นในปี 2559 ซึ่งมีแนวทางส่งเสริมการแยกตั วเป็นเอกราชของไต้หวัน [su_spacer size=”20″]
สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย