ปัจจุบันจํานวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในเวียดนามมีประมาณ 50 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 54 ของประชากรทั้งหมด ข้อมูลจาก Statista.com ระบุว่า ในจํานวนนี้ประมาณ 35.4 ล้านคนเป็นผู้ใช้ E – Commerce และในปี 2561 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 37.3 ล้านคน โดยอาจเพิ่มเป็น 42 ล้านคนในปี 2564 ค่าใช้จ่ายในการซื้อของบริการออนไลน์โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 62 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี ในปี 2560 และอาจสูงถึง 92 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2564 [su_spacer size=”20″]
กรมการค้าออนไลน์และเทคโนโลยีสารสนเทศเวียดนาม (Vietnam E – Commerce and Digital Economy Agency) สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม ประมาณการว่าในช่วงปี 2559 – 2563 ธุรกิจ E-Commerce ในเวียดนามจะเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 20 และจะมีรายได้จากธุรกิจ E-Commerce มูลค่า 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2563 โดยในปี 2560 รายได้จากธุรกิจ E – Commerce มีมูลค่า 6.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 จากปี 2559 ซึ่งธุรกิจ E-Commerce ในเวียดนามมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว [su_spacer size=”20″]
บริษัทที่ปรึกษา Kantar Worldpanel รายงานว่าในปี 2561 จํานวนผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าออนไลน์ใน 4 เมืองใหญ่ในเวียดนามเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8.8 จากร้อยละ 5.4 ในปี 2560 ทําให้นักลงทุนต่างชาติหลายรายสนใจมาลงทุนด้าน E – Logistics เพื่อตอบสนองการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจ E-Commerce โดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้ารายย่อยและมีจํานวนมาก เช่น เมื่อเดือน พฤศจิกายน 2560 บริษัท DHL E – Commerce เริ่มสร้างเครือข่ายจุดให้บริการทั่วประเทศและมีเป้าหมายขยายเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 จุดภายในสิ้นปี 2562 [su_spacer size=”20″]
สินค้าและบริการที่ผู้บริโภคซื้อผ่านช่องทางออนไลน์มากที่สุด ได้แก่ (1) เครื่องแต่งกายและผลิตภัณฑ์ความงามร้อยละ 59 (2) อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 47 (3) เครื่องใช้ในครัวเรือนร้อยละ 47 (4) การจองที่พักและตัวเครื่องบินร้อยละ 31 (5) อุปกรณ์สํานักงานและของขวัญร้อยละ 31 โดยจะซื้อผ่านเว็บไซต์ร้อยละ 68 โซเชียลมีเดีย เช่น เฟสบุ๊ค ร้อยละ 51 [su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคมักเลือกชําระเงินปลายทางเมื่อได้รับสินค้า หรือ Cash on Delivery (CoD) ถึงร้อยละ 82 เนื่องจากการชําระเงินด้วยเงินสดยังคงเป็นวิธีการชําระเงินที่แพร่หลาย สะดวกและเชื่อถือได้มากที่สุดในเวียดนาม นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังสามารถตรวจสอบสินค้าก่อนชําระเงินและสามารถขอเปลี่ยนหรือคืนสินค้า และปฏิเสธที่จะชําระเงินได้ทันทีหากไม่พอใจในสินค้านั้น โดยในเว็บไซด์สินค้าออนไลน์ในเวียดนามจะมีช่องให้เลือกจ่าย 3 แบบ คือ CoD credit/debit card หรือ ATM card [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ ในปี 2560 มูลค่าการชําระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 มีมูลค่า 6.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นสองเท่าภายใน ปี 2565 บริษัท Criteo ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาเทคโนโลยีการตลาด ได้สํารวจพฤติกรรมผู้บริโภคพบว่า เมื่อซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ผู้บริโภคชําระเงินปลายทาง (CoD) ร้อยละ 37 ชําระเงินโดยโอนผ่านธนาคาร ร้อยละ 18 ชําระเงินผ่านบัตรเอทีเอ็มร้อยละ18 ชําระเงินผ่านบัตรเครดิต ร้อยละ 11 และช่องทางอื่น ๆ เช่น E – Wallet ร้อยละ 10 นอกจากนี้ ธนาคารกลางเวียดนามมีข้อมูลว่ากว่าร้อยละ 90 ของบัตรที่ออกให้โดยธนาคารเป็นบัตรเดบิต/ ATM ซึ่งเท่ากับว่าสัดส่วนของผู้ใช้บัตรเครดิตในเวียดนามยังมีจํานวนน้อย [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นคร โฮจิมินห์