ค่าสัมประสิทธิ์ Gini (ดัชนีที่ใช้วัดความเหลื่อมล้ำในสังคมที่นิยมใช้เป็นตัวบ่งชี้ปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้) ในเดือนมิถุนายน 2561 ของฮ่องกงอยู่ที่ 0.539 ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 45 ปี สูงกว่าสหรัฐฯ (0.411) และสิงคโปร์ (0.4579) โดยในปี 2559 ค่ากลาง (median) ของรายได้ครัวเรือนกลุ่มคนรายได้สูงที่สุดในฮ่องกงร้อยละ10 แรก (Decile 10) มีค่ากลางรายได้เฉลี่ย 112,450 ดอลลาร์ฮ่องกง คิดเป็น 43.9 เท่าของร้อยละ 10 ของกลุ่มคนรายได้ต่ำที่สุด (Decile 1) ที่มีรายได้เฉลี่ย 2,560 ดอลลาร์ฮ่องกง โดยกลุ่มคนที่มีฐานะยากจนจะต้องทํางาน 3 ปี 8 เดือนโดยเฉลี่ยเพื่อที่จะมีรายได้เท่ากับการทํางานเพียงเดือนเดียวของกลุ่มคนที่มีฐานะดี [su_spacer size=”20″]
ข้อมูลในเดือนเมษายน 2561เปิดเผยว่า มหาเศรษฐี 21 รายแรกของฮ่องกงมีสินทรัพย์รวมกันเท่ากับเงินสํารองระหว่างประเทศของฮ่องกง (1.83 ล้านล้านฮ่องกงดอลลาร์) โดยมหาเศรษฐี 5 รายแรกได้เงินปันผลจากหุ้นเพียงอย่างเดียวคิดเป็นรายได้ถึง 2.36 หมื่นล้านฮ่องกงดอลลาร์ ในปี 2559 และ 2560 ซึ่งรายได้ดังกล่าวไม่ต้องเสียภาษีเนื่องจากฮ่องกงไม่เก็บภาษีเงินปันผลจากหุ้น เพื่อคงสถานะการดําเนินนโยบายเศรษฐกิจเสรี [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ การศึกษาโดยองค์กรการกุศล Oxfam ระบุว่ากลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากความยากจนที่สุด 6 กลุ่ม ได้แก่ ผู้พักอาศัยในห้องแบ่งเช่า แรงงานรายได้ต่ำ สตรี เด็ก คนชรา และชนกลุ่มน้อยต่างชาติ โดย Oxfam เสนอให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมอีก 3.67 หมื่นล้านฮ่องกงดอลลาร์ เพื่อไม่ให้มีผู้ยากจนเพิ่มขึ้นในปีหน้า [su_spacer size=”20″]
ที่ผ่านมา รัฐบาลฮ่องกงถูกโจมตีว่าไม่จัดสรรงบประมาณในเรื่องนี้อย่างเพียงพอ แม้ว่างบประมาณจะมากถึง 6.9แสนล้านฮ่องกงดอลลาร์ โดยการใช้จ่ายด้านสาธารณสุขคิดเป็นเพียงร้อยละ 14 ของการใช้จ่ายของรัฐบาล ขณะที่ในแคนาดาคิดเป็นร้อยละ 18.1 และในเกาหลีใต้คิดเป็นร้อยละ 19.2 [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง