เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ทำเนียบขาวได้เผยแพร่ข่าวสารนิเทศว่า ประธานาธิบดีทรัมป์ได้บรรลุความตกลงฉบับใหม่กับแคนาดาและเม็กซิโก ภายใต้ชื่อ “United States-Mexico-Canada Agreement” (USMCA) โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญภายใต้ความตกลงดังกล่าวเมื่อเทียบกับ NAFTA ดังนี้ [su_spacer size=”20″]
- อุตสาหกรรมยานยนต์มีการกำหนดสัดส่วนอะไหล่และส่วนประกอบรถยนต์ที่ต้องผลิตภายใน 3 ประเทศ เพิ่มเป็นร้อยละ 75 ขององค์ประกอบรถยนต์ (จากเดิมร้อยละ 62.5) จึงจะได้รับสิทธิภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ และเพิ่มค่าแรงในภาคการผลิตรถยนต์ โดยกำหนดสัดส่วนว่าอย่างน้อยร้อยละ 30 ของแรงงานที่ผลิตรถยนต์จะต้องได้ค่าแรงไม่ต่ำกว่า 16 ดอลลาร์สหรัฐต่อชั่วโมง ในปี ค.ศ. 2020 [su_spacer size=”20″]
- แรงงานปรับปรุงข้อกำหนดด้านแรงงานให้มีมาตรฐานสากลเทียบเท่ากับ ILO มีข้อห้ามเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าที่ผลิตโดยแรงงานบังคับ และส่งเสริมการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวตามกฎหมาย [su_spacer size=”20″]
- ผลิตภัณฑ์นมความตกลงดังกล่าวเปิดทางให้สหรัฐฯ เพิ่มสัดส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์นม ไข่ และเป็ด ไก่ ในตลาดแคนาดามากขึ้น โดยที่ผ่านมา แคนาดาปกป้องอุตสาหกรรมนี้อย่างมากและเป็นประเด็นสุดท้ายที่สหรัฐฯ กับแคนาดาตกลงกันได้
- ทรัพย์สินทางปัญญากำหนดมาตรฐานที่สูงขึ้นเพื่อปกป้องและบังคับใช้กฎหมายสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาทิ สินค้าเวชภัณฑ์ขยายเวลาคุ้มครอง IP เป็น 10 ปี [su_spacer size=”20″]
- อุตสาหกรรมดิจิทัลมีข้อกำหนดเพื่อคุ้มครองการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล ได้แก่ การโอนถ่ายข้อมูลข้ามประเทศ การจัดเก็บข้อมูล และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การเก็บภาษีสินค้าดิจิทัลที่ไม่เป็นธรรม ส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะของรัฐบาลเพื่อให้ภาคเอกชนนำไปใช้พัฒนานวัตกรรมด้านการค้าและบริการ และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ [su_spacer size=”20″]
- บริหารด้านการเงินมีข้อกำหนดเพื่อคุ้มครองสถาบันการเงิน นักลงทุน และผู้ให้บริการด้านการเงินของสหรัฐฯ มีข้อห้ามเกี่ยวกับการบังคับจัดเก็บข้อมูลในท้องถิ่นและปรับปรุงกฎระเบียบด้านการเข้าถึงตลาด [su_spacer size=”20″]
- สิ่งแวดล้อมมีข้อกำหนดเพื่อคุ้มครองสัตว์ป่าและสัตว์น้ำใกล้สูญพันธุ์ ต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) ส่งเสริมการปรับปรุงคุณภาพอากาศ และความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม [su_spacer size=”20″]
- ค่าเงินเป็นครั้งแรกที่มีการบรรจุ chapter “Macroeconomic Policies and Exchange Rate Matters” ไว้ในความตกลงการค้าเสรี เพื่อให้เกิดความโปร่งใสทางการเงินและหลีกเลี่ยงการบิดเบือนค่าเงิน [su_spacer size=”20″]
- กลไกระงับข้อพิพาทได้แก่ (1) กลไกระงับข้อพิพาทรัฐ – เอกชน (Section B) ภายใต้ Chapter 11 ของ NAFTA เรื่องการลงทุน) เพื่อให้นักลงทุนสามารถมีช่องทางในการต่อสู้กับนโยบายรัฐบาลได้ถูกตัดออกไปเหลือไว้เพียงเฉพาะอุตสาหกรรมสำคัญ อาทิ พลังงาน และโทรคมนาคม (2) กลไกทบทวนและระงับข้อพิพาท “Review and Disputes Settlement in Antidumping/Countervailing Duty Matters” (Chapter 19 ของ NAFTA) ยังคงอยู่เช่นเดิม แม้ว่าสหรัฐฯ ได้ผลักดันให้ตัดทิ้งระหว่างการเจรจา [su_spacer size=”20″]
- การทบทวนและขยายเวลา USMCA (Sunset Clause)ระบุให้มีการทบทวนความตกลงใน 6 ปี ภายหลังความตกลงมีผลบังคับใช้ โดยหากทั้ง 3 ประเทศ ไม่มีข้อแก้ไข ความตกลงก็จะมีผลบังคับใช้ต่อจนครบ 16 ปี และสามารถขยายเวลาต่อไปได้อีก 16 ปี [su_spacer size=”20″]
- Non-market clauseArticle 32.10 (Non-Market Country FTA) ระบุว่า หากประเทศใดประเทศหนึ่งจะเจรจา FTA กับ “non-market country” ประเทศนั้นจะแจ้งประเทศสมาชิกภายใต้ USMCA 3 เดือนก่อนการเจรจา และก่อนการลงนามไม่น้อยกว่า 30 วัน จะต้องให้โอกาสอีกสองประเทศทบทวนเนื้อหาของความตกลงดังกล่าว และประเมินว่ามีผลกระทบกับ USMCA หรือไม่ นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่า “Entry by any party into free trade agreement with a non-market country, shall allow other Parties to terminate this Agreement with an agreement as between them (bilateral agreement).” ซึ่งฝ่ายต่าง ๆ ในสหรัฐฯ มองว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ผลักดันประเด็นนี้โดยมีจีนเป็นเป้าหมายในใจ และจะทำให้สหรัฐฯ สามารถมีอำนาจต่อรองกับแคนาดาและเม็กซิโกมากขึ้นในส่วนความสัมพันธ์การค้ากับจีน [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน