คูเวต ซาอุดีอาระเบีย และ UAE ได้มีการลงนามสัญญาความช่วยเหลือทางการเงินแก่จอร์แดน ณ กรุงอัมมัน เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งทั้ง 3 ประเทศ จะนําเงินจํานวน 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เข้าฝากในธนาคารกลางจอร์แดน โดยคูเวตนำเงินเข้าฝากจำนวน 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซาอุดีอาระเบียและ UAE นำเงินเข้าฝากประเทศละ 333 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพยุงเศรษฐกิจจอร์แดน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรอบการให้ความช่วยเหลือทางการเงินรวม 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามที่มีการประกาศไว้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2561 ภายหลังจากที่รัฐบาลจอร์แดนได้ใช้มาตรการรัดเข็มขัดตามที่ IMF เสนอจนก่อให้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ขึ้นในจอร์แดน นอกเหนือจากเงินส่วนนี้ ซาอุดีอาระเบีย และ UAE ยังจะให้ความช่วยเหลืออีกประเทศละ 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนด้านงบประมาณของจอร์แดนในระยะ 5 ปีข้างหน้า ขณะที่คูเวตจะให้ความช่วยเหลืออีก 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในรูปแบบของเงินกู้สนับสนุนโครงการต่าง ๆ ระยะ 5 ปี [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ คูเวต ซาอุดีอาระเบีย และ UAE ตกลงที่จะให้การสนับสนุนทางการเงินแก่บาห์เรนจํานวน 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในรูปแบบเงินกู้ระยะยาวไม่มีดอกเบี้ยซึ่งจะทะยอยส่งมอบตามเวลาที่ตกลงกัน เพื่อสนับสนุนแผนด้านการคลังของบาห์เรน ซึ่งมุ่งจะขจัดการขาดดุลงบประมาณภายในปี 2565 หลังจากที่สถานะทางการคลังของบาห์เรนได้รับผลกระทบอย่างหนักจากผลของราคาน้ำมันตกต่ำลงตั้งแต่ปี 2557 ทําให้บาห์เรนจําเป็นต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อป้องกันไม่ให้ภาระหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นมากลุกลามจนก่อให้เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจ ซึ่งค่าเงินดีน่าร์บาห์เรนที่พังลงจะส่งผลกระทบด้านความเชื่อมั่นไปทั่วทั้งภูมิภาค ทั้งนี้ นักการธนาคารหลายรายกล่าวว่า การที่บาห์เรนมีขนาดทางเศรษฐกิจเล็กทําให้ไม่ยากนักที่ประเทศเพื่อนบ้านจะช่วยกันดึงออกจากวิกฤติ (bait out) เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจของตนเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบไปด้วย [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ คูเวต