ปัจจุบัน EU มีกรอบการดําเนินการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้ชื่อ 2030 Climate & Energy Framework และ EU ได้กําหนดกรอบการดําเนินการเพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคอุตสาหกรรมภายใน EU อย่างต่อเนื่อง โดยประเทศสมาชิก EU จะต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 40% (เทียบกับระดับของปี 2533) ภายในปี 2573 โดยแผนดําเนินงานดังกล่าว ได้ระบุกลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่ภายใต้การควบคุม ได้แก่ 1) กลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่ภายใต้ระบบEUETS ได้แก่ อุตสาหกรรมเคมีและเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมการบิน อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมกระดาษและเยื่อกระดาษ และอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า และ 2) กลุ่มอุตสาหกรรมที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ระบบ EUETS ได้แก่ การ คมนาคมขนส่ง (ยกเว้นการบิน) การเคหะ การเกษตรกรรม และการจัดการของเสีย โดยทั้ง 2 กลุ่ม อุตสาหกรรมจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 43% และ 30% ภายในปี 2573 ตามลําดับ (เทียบกับ ระดับของปี 2548) [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ ภาคการขนส่งทางบก (road transport) ของ EU ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด ส่งผลให้ EU ออกมาตรการจํากัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์เป็นอันดับต้น จากรายงานขององค์กร European Environment Agency (EEA) เมื่อปี 2557 ระบุว่า ภาคการขนส่งทางบกของ EU ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาก ที่สุดถึง 72.8% เมื่อเทียบกับการภาคการขนส่งอื่นๆ ได้แก่ ทางน้ำ 13% ทางอากาศ 13.1% ทางรถไฟ 0.69% และอื่นๆ 0.5% ผนวกกับปัญหาละเมิดมาตรฐานการปล่อยไอเสียเครื่องยนต์ดีเซลของบริษัท Volkswagen ผู้ผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปเมื่อปี 2558 หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “คดี Dieselgate” ส่งผลให้ EU เร่งออก มาตรการแก้ไขปัญหาทั้งด้านมาตรฐานการตรวจสอบการปล่อยไอเสียจากเครื่องยนต์ ไปจนถึงการกําหนด ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้น EU ได้เสนอร่างปรับปรุงกฎระเบียบด้านมาตรฐานการปล่อยก๊าซ CO2 เร่งส่งเสริมรถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 คณะกรรมาธิการยุโรปได้เสนอปรับปรุงกฎระเบียบว่าด้วยมาตรฐานการปล่อยก๊าซของรถโดยสารส่วนบุคคลและรถตู้ที่ผลิตใหม่ (new passenger cars and new light Commercial vehicles) เพื่อกําหนดเป้าหมายสําหรับอุตสาหกรรมยานยนต์หลังปี 2563 โดยเน้น 2 มาตรการ หลัก คือ 1) การกําหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซCO ให้ได้ 30% ภายในปี 2573 (เมื่อเทียบกับระดับ ของปี 2564) และ 2) กําหนดมาตรการส่งเสริมการผลิตรถที่ไม่มีการปล่อยก๊าซหรือปล่อยก๊าซต่ำ (Zero and Low Emission Vehicles: ZLEV) เช่น การผ่อนปรนเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซสําหรับบริษัทผู้ผลิตที่สามารถผลิตรถประเภท ZLEV ได้เกินเป้าหมาย (15% ในปี 2568 และ 30% ในปี 2573 ของการผลิตทั้งหมด) ซึ่งล่าสุดคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมของสภายุโรป (ENV) ได้เสนอให้เพิ่มเป้าหมายการปล่อยก๊าซ CO2 เป็น 20% ภายในปี 2568 และ 45% ภายในปี 2573 ตลอดจนเพิ่มสัดส่วนรถยนต์ประเภท ZLEV เป็น 20% ภายในปี 2568 และ 40% ภายในปี 2573 [su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ตาม บริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ในยุโรปไม่เห็นด้วยกับเป้าหมายที่สูงมากจนเกินไป และเรียกร้องให้EU ผ่อนคลายเป้าหมายเพื่อให้เวลากับภาคอุตสาหกรรมในการปรับตัว เพราะอาจส่งให้มีผู้ตกงานจํานวนมาก และผู้บริโภคเองยังไม่พร้อมที่จะเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าที่มีราคาแพง โดยจากสถิติขององค์กร European Alternative Fuels Observatory ระบุว่า ปัจจุบันยอดขายใน EU ของรถยนต์ไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ (BEV) และแบบ Plug-in คิดเป็น 1.75% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมดเท่านั้น เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเพียง 0.75% โดยบริษัทผู้ผลิตมองว่ามาตรการอุดหนุดของรัฐ และจํานวนสถานีชาร์จไฟ (charging stations) เป็นปัจจัยสําคัญในการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้ ร่างกฎระเบียบฉบับนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสภายุโรปสมัยสามัญในวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ก่อนส่งกลับไปที่คณะกรรมาธิการยุโรปปรับแก้และเสนอต่อคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปให้ความเห็นชอบร่วมกับสภายุโรปก่อนบังคับใช้ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีการแก้ไขรายละเอียดของร่างกฏระเบียบเพิ่มเติม [su_spacer size=”20″]
การปรับเป้าหมายการปล่อยก๊าซและการเพิ่มสัดส่วนการผลิตรถยนต์ประเภท ZLEV เป็นมาตรการส่งเสริมให้มีสัดส่วนรถยนต์ไฟฟ้าในตลาด EU มากขึ้น เป็นสัญญาณให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยต้องปรับตัว เพราะไม่ว่าเป้าหมายที่ EU กําหนดจะเป็นเท่าไหร่ ก็จะส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตหันมาผลิตรถยนต์ประเภท ZLEV เช่น รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles) หรือรถเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Vehicles) มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ปัจจุบันไม่ได้มีเพียงแค่ยุโรปที่ออกนโยบายสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า แต่ยังรวมถึงตลาดใหญ่อื่นๆ อย่างเช่น สหรัฐฯ และจีน ที่มีทิศทางนโยบายเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการไทยที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิต รถยนต์ของโลก เพราะความต้องการชิ้นส่วนประเภทที่เกี่ยวข้องกับระบบเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง และระบบระบาย ไอเสีย ก็จะกลายเป็นสิ่งที่ไม่จําเป็นอีกต่อไป [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ / คผท. ประจําสหภาพยุโรป