เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2561 สถาบันเกาหลีศึกษา (The Academy of Korean Studies) ได้จัดการบรรยายพิเศษในหัวข้อ“ Making Money Out of State: The Pseudo-State Enterprises in NorthKorean Economy” โดยมีนาย Andrei Lankov อาจารย์ประจํามหาวิทยาลัย Kookmin ชาวรัสเซีย เป็นผู้บรรยาย ที่ Korea Press Center กรุงโซล โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจ ดังนี้ [su_spacer size=”20″]
ระบบเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือเป็ นแบบสังคมนิยม ซึ่งรัฐเข้าไปควบคุมการดําเนิ นกิจกรรมทางเศรษฐกิจทรัพย์สินทุกอย่างในประเทศเป็ นของรัฐ ทรัพย์สินส่วนบุคคล/วิสาหกิ จเอกชนเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายและการจัดสรรทรัพยากรใช้ระบบปั นส่วน (ration) ทั้งนี้ เศรษฐกิจเกาหลีเหนือในช่ วงทศวรรษที่1950 – 1990 คงอยู่ได้ด้วยความช่วยเหลื อทางการเงินจากประเทศร่วมอุ ดมการณ์
อาทิ สหภาพโซเวียต และจีน โดยในช่วงทศวรรษต่อมาได้เกิดหน่ วยทางธุรกิจที่ผู้บรรยายเรียกว่ า“วิสาหกิจกึ่งรัฐกึ่งเอกชน” (Pseudo-State Enterprise: PSE) ขึ้นในเกาหลีเหนือ [su_spacer size=”20″]
การจดทะเบียนกิจการเป็น PSE ส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถดํ าเนินกิจการ/เปิดร้านค้าได้ โดยอิสระโดยมีหน่วยงานภาครัฐให้ความคุ้ มกันทางกฎหมาย อย่างไรก็ดีผู้ประกอบการจําเป็นต้องนําส่ งรายได้ส่วนหนึ่งให้กับรั ฐบาลเกาหลีเหนือเป็นประจําทุ กเดือน
เพื่อแลกกับความคุ้มกันดังกล่าว รวมถึงต้องจ่ายสินบนให้กับข้ าราชการท้องถิ่นที่มีอํ านาจควบคุมดูแล PSE และสามารถสั่งปิดกิจการหรือจั บกุมผู้ประกอบการด้วยทั้งนี้ จํานวนเงินรายได้ที่ผู้ ประกอบการ PSE ต้องนําส่งให้รัฐบาลเกาหลีเหนื อจะถูกกําหนดไว้เป็นอัตราคงที่ไม่คิดตามสัดส่วนของรายรับที่ แท้จริงของผู้ประกอบการ เพื่อป้องกันปัญหาผู้ ประกอบการแจ้งตัวเลขรายรับต่ำ กว่าความเป็นจริง [su_spacer size=”20″]
PSE ในเกาหลีเหนือแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ (1) บริษัทการค้าต่างประเทศ (Foreign Trade Company: FTC) ซึ่งหน่วยงานของรัฐบาลหรือรัฐวิ สาหกิจของเกาหลีเหนือ ก่อตั้งขึ้นเพื่อทําการค้ากับต่ างประเทศ (2) วิสาหกิจเอกชนที่จดทะเบียนเป็ นกิจการของรัฐและ (3) ฝ่ายผลิตย่อยของรัฐวิสาหกิ จเกาหลีเหนือซึ่งทําหน้าที่ผลิตอาหารและสิ นค้าอุปโภคพื้นฐานเพื่อป้อนให้ กับหน่วยงานรัฐวิสาหกิ จของเกาหลีเหนือ ทั้งนี้ ประเภทของ PSE ที่แพร่หลายมากที่สุดในเกาหลี เหนือคือร้านอาหาร [su_spacer size=”20″]
การก้าวขึ้นสู่อํานาจของคิ มจองอึนในปี ค.ศ. 2011 ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิ จแบบตลาดและผู้ประกอบการ PSE โดยคิมจองอึนถือเป็นผู้นํ าเกาหลีเหนือที่มีนโยบายเปิดกว้ างและเป็นมิตรต่อระบบเศรษฐกิ จแบบตลาดมากที่สุดในรอบ 80 ปี ภายหลังจากก้าวขึ้นสู่อํานาจ คิมจองอึนได้เริ่มนโยบายปฏิรู ปเศรษฐกิจและสนับสนุนความร่วมมื อทางเศรษฐกิจระหว่างหน่วยงาน รัฐบาลกับธุรกิจเอกชนมากขึ้น [su_spacer size=”20″]
ในปี ค.ศ. 2015 รัฐบาลเกาหลีเหนือได้ ออกกฎหมายวิสาหกิจสังคมนิยม (Socialist Enterprise Law) ระบุว่ารัฐวิสาหกิจเกาหลีเหนื อสามารถรับเอา/ใช้เงินทุ นของภาคเอกชนเพื่อนํามาปรับปรุ งหรือพัฒนาองค์กรได้ซึ่งทําให้สถานะของ PSE ได้รับการยอมรับมากขึ้น อย่างไรก็ดีผู้บรรยายประเมินว่ารัฐบาล เกาหลีเหนือจะยังไม่ให้การรั บรองระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุ คคลในระยะเวลาอันใกล้
เนื่องจากการกระทําดังกล่าวถื อเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงอุ ดมการณ์ที่รวดเร็วเกินไปซึ่งอาจนํามาซึ่งความวุ่นวาย/ การไร้เสถียรภาพในทางการเมื องและรัฐบาลเกาหลีเหนื อสามารถควบคุม PSE ได้ง่ายกว่าภายใต้ระบบปัจจุบัน [su_spacer size=”20″]
ปัจจุบันเศรษฐกิจเกาหลีเหนื อภายใต้การปกครองของคิมจองอึ นเติบโตอย่างก้าวกระโดดโดยรายได้เฉลี่ ยของประชาชนเกาหลีเหนือเพิ่มขึ้ นจากเดือนละ 30 ดอลลาร์สหรัฐต่อครอบครัวในสมั ยคิมจองอิลเป็นเดือนละ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อครอบครัว เกาหลีเหนือเข้าใกล้การเป็ นประเทศที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ในด้านการผลิตอาหาร(food self-sufficiency) ประชาชนเกาหลีเหนือไม่ได้ตกอยู่ ในภาวะอดอยาก/แร้นแค้นอย่างที่ สื่อตะวันตกหรือคนส่วนใหญ่เข้ าใจ [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้อุปสรรคสําคัญของเศรษฐกิจเกาหลี เหนือได้แก่ การขาดการลงทุนจากต่างประเทศอันเป็นผลสืบเนื่ องจากมาตรการลงโทษของประชาคมระห ว่างประเทศ ดังนั้นเป้าหมายทางการเมืองที่ผู้นํ าเกาหลีเหนือต้องการบรรลุมากที่ สุดในขณะนี้จึงได้แก่การโน้มน้ าวให้ประชาคมระหว่างประเทศผ่ อนปรนหรือยกเลิกมาตรการลงโทษดั งกล่าว [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล