เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2561 สำนักพิมพ์ The Business Times รายงานข่าว “Chinese investments in S-E Asia – should there be a relook? (การลงทุนของจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งอาจมีความเปลี่ยนแปลง)” ภายหลังการเยือนจีนอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย มหาเธร์ โมฮัมหมัด เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งนักวิเคราะห์ทั่วไปเห็นว่า นายกรัฐมนตรีมาเลเซียจะต้องมีท่าที่ผ่อนปรนความร่วมมือกับจีนลง เนื่องจากนโยบายหลักที่ทำให้นายกรัฐมนตรีมหาเธร์ฯ ชนะการเลือกตั้งก็คือ การลดหนี้ของประเทศประมาณ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรีมหาเธร์ฯ ได้ประกาศระงับโครงการใหญ่มูลค่ารวม 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่จีนสนับสนุน ซึ่งรวมถึงโครงการเส้นทางรถไฟชายฝั่งตะวันออก (East Coast Rail Link – ECRL) และโครงการท่อส่งพลังงาน [su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ดี ในช่วงการเยือนจีนนายกรัฐมนตรีมหาเธร์ฯ ได้เยือนบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ต่าง ๆ อาทิ บริษัท Alibaba เว็บไซต์ค้าปลีก บริษัท DFJ ผู้ผลิตโดรน บริษัท Geely ผู้มีหุ้นส่วนกับบริษัทผลิตรถ Proton เป็นต้น โดยพยายามดึงดูดการลงทุนโดยตรง (FDI) จากบริษัทใหญ่ ๆ เข้าสู่มาเลเซีย โดยได้กล่าวกับบริษัทเหล่านี้ว่า โดยที่มาเลเซียต้องการหลุดออกจาก middle-income trap มาเลเซียเห็นความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น [su_spacer size=”20″]
อนึ่ง อิทธิพลของจีนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ มาเลเซียมีชาวจีนโพ้นทะเล อาศัยอยู่ในประเทศมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากไทย นอกจากนี้ ตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังต้องการเงินทุนจากจีน เนื่องจากมีโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องพัฒนาอีกจำนวนมาก อย่างไรก็ดี เงินทุนจากจีนก็มีข้อแม้บางอย่างเช่นกัน ในมาเลเซียเงินทุนส่วนใหญ่สําหรับ Belt and Road initiatives (สําหรับทางรถไฟมูลค่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และสําหรับท่อส่งพลังงาน มูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ก็ได้รับจาก Export-Import Bank of China ซึ่งเป็นธนาคารที่รัฐบาลจีนเป็นเจ้าของ และบริษัทของรัฐบาลจีนก็เป็นบริษัทรับเหมาหลักของโครงการเหล่านี้ หากมาเลเซียระงับโครงการก็จะส่งผลกระทบต่อบริษัทจีน เหตุการณ์ในลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นทั้งในเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ ล่าสุดจีนได้รับช่วงต่อโครงการท่าเรือน้ำลึกของศรีลังกาไป เนื่องจากรัฐบาลศรีลังกาไม่สามารถชำระหนี้ได้[su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ดี ระบบเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างสิงคโปร์หรือมาเลเซีย มีความ เกี่ยวข้องกับจีนไม่เพียงแต่ภาครัฐเท่านั้น เพราะภาคเอกชน/ธุรกิจจีน เช่น Alibaba และ Tencent เข้ามาลงทุนจํานวนมาก และภาคธุรกิจเหล่านี้ได้นําเอานวัตกรรมเข้ามาและพัฒนาทักษะ ตลอดจนเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามา อย่างเช่น การมี Huawei Innovation Hub และ Digital Free Trade Zone ในมาเลเซีย [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ แนวโน้มของสังคมโลกในการเป็นสังคมไร้เงินสด ประกอบกับการมีประชากรสูงอายุ เพิ่มขึ้นและต้นทุนการผลิตจากแรงงานมีมูลค่าสูงขึ้น ทำให้ในปัจจุบันเศรษฐกิจจีนได้เปลี่ยนจากการผลิตแบบเน้นแรงงานมนุษย์มาเป็นการผลิตแบบเน้นนวัตกรรม ปัจจุบันจีนมีสินค้าที่มีคุณภาพสูงมากขึ้น โดยเปลี่ยนจากตัวแบบ “Made in China” ที่ผลิตสินค้าจำนวนมาก/คุณภาพต่ำมาเป็น “Created in China” ซึ่งผลิตสินค้าที่มีนวัตกรรม/คุณภาพสูง ปัจจุบัน บริษัท Huawei เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ บริษัท JD.com บริษัท Tencent บริษัท Alibaba และบริษัท Baidu เป็นบริษัทที่ติด 10 อันดับแรกของโลกที่มีรายได้สูงที่สุด [su_spacer size=”20″]
กลุ่ม RHL Ventures ได้พบกับบริษัทจีนแห่งหนึ่งที่ทำปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถใช้ในนโยบาย Smart City ระบบจัดการการจราจร และรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ซึ่งบริษัทฯ เห็นว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีศักยภาพและต้องการจะร่วมมือกับ RHL ในการเข้าสู่ตลาด ทั้งนี้ บริษัทฯ จะต้องเจอกับการแข่งขันกับบริษัทใหญ่ ๆ ในจีนอย่าง Baidu Alibaba และ Tencent อย่างมาก แต่ปัจจุบัน บริษัทอเมริกันเลือกที่จะไม่ร่วมมือกับบริษัทใหม่ ๆ ของจีนเหล่านั้น แต่เลือกที่จะร่วมมือกับบริษัทด้านเทคโนโลยีของเอเชียที่มีขนาดเล็กแทน เพื่อเข้าถึงตลาดท้องถิ่นได้ง่ายกว่า [su_spacer size=”20″]
การเยือนจีนของนายกรัฐมนตรีมหาเธร์ฯ ชี้ให้เห็นถึงความห่วงกังวลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อลัทธิอาณานิคมแบบใหม่ (neo-colonialism) ที่ประเทศยากจนไม่สามารถแข่งขันกับประเทศที่ร่ำรวยกว่าได้ นายกรัฐมนตรีมหาเธร์ฯ เน้นย้ำว่า ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไม่ควรเป็นความสัมพันธ์ที่มีผู้ได้ประโยชน์-เสียประโยชน์แบบ zero-sum game แต่ควรเป็นความสัมพันธ์ที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์