บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (GULF) ของไทยได้เข้าร่วมการประมูลโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติในเขตเศรษฐกิจพิเศษเมือง Duqm และได้รับคัดเลือกจากบริษัท Oman Oil Company S.A.O.C หรือ OOC ซึ่งรัฐบาลโอมานถือครองหุ้น 100% ให้เข้าร่วมลงทุนในบริษัท Duqm Power Company LLC. ซึ่งเป็นผู้ดําเนินโครงการ Duqm Independent Power & Water ในสัดส่วน 45% [su_spacer size=”20″]
เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2561 นายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ GULF และนาย Isam Al Zadjali ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ OOC ได้ลงนามในสัญญาร่วมทุนระหว่าง บริษัท กัลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง จํากัด หนึ่งในบริษัทย่อยของบริษัท GULF (สำนักงานตั้งอยู่ที่สิงคโปร์) กับ OOC เพื่อดําเนินโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติขนาด 326 เมกะวัตต์ โดยมีกําลังการผลิตน้ำจืด 1,667 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง ในเขตเศรษฐกิจพิเศษเมือง Duqm มูลค่าโครงการรวม 483 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.58 หมื่นล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 32 บาท) [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ บริษัท GULF คาดว่าโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะเริ่มจ่ายไฟฟ้าได้ในช่วงกลางปี 2563 โดยจะผลิตและจําหน่ายไฟฟ้าและน้ำจืดตามสัญญาซื้อขาย 25 ปี และสามารถขยายอายุสัญญาต่อได้อีก 5 ปี ให้กับโรงกลั่นน้ำมันกําลังการผลิต 230,000 บาร์เรล/วัน ในเมือง Duqm ของ OOC ที่ร่วมทุนกับบริษัท Kuwait Petroleum International Ltd. โดยโรงกลั่นนี้จะผลิตปิโตรเลียมขั้นต้น อาทิ แนฟทา (Naphtha) ปิโตรเลียมเหลว (LPG) น้ำมันดีเซล และน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานเป็นหลัก เพื่อใช้ภายในประเทศและเพื่อการส่งออก [su_spacer size=”20″]
GULF เป็นภาคเอกชนรายแรกของไทยที่เข้ามาร่วมลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษเมือง Duqm ส่วนในปัจจุบันมีภาคเอกชนต่างชาติที่ได้เข้ามาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าวแล้ว อาทิ จีน อินเดีย กาตาร์ อิหร่าน ตุรกี และเบลเยียม ผู้ลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในขณะนี้ คือ จีน (บริษัท Oman Wanfang ซึ่งเป็น การรวมกลุ่มกันของภาคเอกชนจีนจากเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุยที่มีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่มากสุด เพื่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมมูลค่าการลงทุนกว่า 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ส่วนภาคเอกชนอินเดียได้เข้ามาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษเมือง Duqm ในโครงการที่สำคัญ 2 โครงการคือ (1) โครงการก่อสร้าง Integrated Tourism Complex และ (2) โรงกลั่นชีวภาพเพื่อผลิตกรด Sebacic แห่งแรกในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยโรงกลั่นดังกล่าวจะมีกำลังการผลิตประมาณ 30,000 ตัน/ปี และผลผลิตที่ได้จากการสกัด castor oil (วัตถุดิบนำเข้ามาจากรัฐคุชราตของอินเดีย) สามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของเวชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่อง นั้นหล่อลื่น และพลาสติก ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมัสกัต