หลังจากที่ EU ได้เผยแพร่เอกสาร Preparedness Noticesตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2561เพื่อเป็นข้อมูลสําหรับภาคเอกชนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในการเตรียมพร้อมสําหรับกรณี BREXIT ล่าสุด เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561 ฝั่งสหราชอาณาจักรก็ได้ออกมาเผยแพร่เอกสารเพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ภาคเอกชนเตรียมความพร้อมในกรณีที่ไม่สามารถเจรจาข้อตกลงร่วมกับEU ได้ หรือที่เรียกกันติดปากว่า กรณี “No Deal” (Guidance on how to prepare if the UK leaves the EU with no deal) โดยระบุแนวปฏิบัติในด้านต่าง ๆ เช่น การรับทุนวิจัย R&D ภายใต้ Horizon 2020การเกษตร แนวปฏิบัติสําหรับพืชGMOs ภาษีอุปกรณ์การแพทย์ การอุดหนุนโดยรัฐ (State Aid) การศึกษา สิทธิแรงงาน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้อ่านสามารถอ่าน รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.gov.uk/government/collections/how-to-prepare-ifthe-uk-leaves-the-au-with-hO-lea#Overview
[su_spacer size=”20″]
เอกสาร Guidance on how to prepare if the UK leaves the EU with no deal มีสาระสําคัญที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้ [su_spacer size=”20″]
1. ระบบศุลกากรและการค้า
· การที่สหราชอาณาจักรออกจาก EU หมายความว่า สหราชอาณาจักรจะไม่ใช้มาตรการทางภาษีศุลกากรเดียวกันกับ EU อีกต่อไป โดยในกรณีที่ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ การค้า ระหว่างสหราชอาณาจักรกับ EU จะใช้อัตราภาษีขาเข้าตามกรอบ MEN (Most-Favoured-Nation) โดยจะเรียกเก็บภาษีศุลกากร หรือค่าธรรมเนียมในการนําเข้าใด ๆ จากทุกประเทศในอัตราเดียวกัน ตามข้อผูกพันที่ต้องปฏิบัติภายใต้ความตกลงขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization – WTO)
· สหราชอาณาจักรจะยังคงให้สิทธิพิเศษทางภาษีฝ่ายเดียว (Unilateral Preferences) กับประเทศกําลังพัฒนา และจะพิจารณาช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน (transition period) สําหรับการให้สิทธิพิเศษทางภาษีภายใต้ FTAต่างๆ ที่จัดทําโดย EU
· อย่างไรก็ดี ยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับการค้าข้ามพรมแดนไอร์แลนด์-ไอร์แลนด์เหนือ [su_spacer size=”20″]
2. ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
· สินค้าที่นําเข้าจาก EU จะใช้ระบบเดียวกับสินค้าที่นําเข้ามาจากประเทศที่สาม
· ยกเลิกกฎ Low Value Consignment Relief (LVCR)ดังนั้น สินค้าที่ส่งจาก EUมายังสหราชอาณาจักร ที่มีมูลค่าต่ำกว่า 15 ปอนด์ จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับการนําเข้า (import VAT) จากเดิมที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
· สินค้าที่มีมูลค่าตั้งแต่ 135 ปอนด์ ผู้ขายจะต้องลงทะเบียนกับ HM Revenue &Customs (HMRC) [su_spacer size=”20″]
3. แนวปฏิบัติรายอุตสาหกรรม
3.1 อุตสาหกรรมยาและอุปกรณ์การแพทย์
· มีการคาดการณ์ว่า ความต้องการยาจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ภาคเอกชนจะต้องเตรียมสั่งซื้อยาเพื่อเก็บสะสมในคลังสินค้า
· หน่วยงาน Healthcare Products Regulatory Agency (MHRA) จะเป็นหน่วยงานที่กํากับดูแลสินค้าประเภทยา สินค้าเพื่อสุขภาพอื่น ๆ และอุปกรณ์การแพทย์ที่ขายในตลาดสหราชอาณาจักร โดยผู้ประกอบการที่ต้องการขายสินค้าดังกล่าวในสหราชอาณาจักรจะต้องขออนุญาตจากหน่วยงานMHRA
3.2 อุตสาหกรรมการเงิน
· การโอนเงินระหว่างสหราชณาจักรและ EU จะมีค่าใช้จ่ายในการโอนเพิ่มเติม และอาจใช้ระยะเวลานานขึ้น เพราะสหราชอาณาจักรจะไม่สามารถใช้ระบบการชําระเงินของ EU เช่นTARGET2 และ Single Euro Payments Area (SEPA) ได้
· การชําระเงินผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตระหว่างสหราชอาณาจักรและ EUอาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น เพราะสหราชอาณาจักรจะไม่ได้อยู่ภายใต้กฎของ EUที่ผ่อนปรนค่าธรรมเนียมระหว่างประเทศ
3.3 อุตสาหกรรมยาสูบ
· กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสินค้ายาสูบ คือTabacco and Related Products Regulations 2016 จะมีผลบังคับใช้แทนข้อบังคับเดิมของ EU (Tobacco ProductsDirective 2014/40/EUและ Tobacco Advertising Directive 2003/33/EC)
· สหราชอาณาจักรจะออกแบบสัญลักษณ์แจ้งเตือนอันตรายจากบุหรี่ใหม่ เพราะสัญลักษณ์ปัจจุบันเป็นลิขสิทธิ์ของ EU
3.4 สินค้าเกษตร
· การส่งออกสินค้า GMOไปยัง EU จะต้องอยู่ในรายการสินค้าที่ได้รับอนุญาตจาก EU เท่านั้น
· การส่งออกสินค้าอินทรีย์จากสหราชอาณาจักรไปยังEU จะต้องได้รับการรับรองจาก EU ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะต้องใช้เวลาประมาณ 9 เดือน [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ เอกสารฉบับนี้จะใช้เป็นแนวปฏิบัติในกรณีที่สหราชอาณาจักรไม่สามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกับ EU ได้เท่านั้น โดยทั้งสองฝ่ายต่างเน้นย้ำที่จะบรรลุข้อตกลงให้ได้ก่อนสหราชอาณาจักรออกจาก EU อย่างเป็นทางการในคืนวันที่ 29 มีนาคม 2562 โดยสหราชอาณาจักรได้ระบุในเอกสารว่า การออกจาก EU ในลักษณะ no deal นั้นไม่น่าจะเป็นไปได้ (unlikely) เพราะทั้งสองฝ่ายได้เจรจาข้อตกลงมาอย่างต่อเนื่องละสามารถเจรจาไปได้กว่า 80% แล้ว ขณะที่ทางฝั่ง EU ได้ออกแถลงการณ์ต่อการเผยแพร่เอกสารในครั้งนี้ว่า การออกจาก EU ของสหราชอาณาจักรส่งผลให้ธุรกิจและการค้าได้รับผลกระทบอยู่แล้ว ไม่ว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถบรรลุข้อตกลงได้หรือไม่ก็ตาม ภาคเอกชนจึงควรเตรียมความพร้อม และเน้นย้ำว่า EU มีความตั้งใจที่จะบรรลุ ความตกลงกับสหราชอาณาจักรเช่นกัน [su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ดี ความขัดแย้งภายในพรรค conservative ของสหราชอาณาจักรส่งผลให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการเจรจา โดยหลังจากมีการเผยแพร่เอกสารดังกล่าว นาย Philip Hammond รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังของสหราชอาณาจักร ได้ยื่นหนังสือถึงนางNicky Morgan ประธาน Treasury Select Committee ว่า หากทั้งสองฝ่ายไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ จะส่งผลให้ GDP ของสหราชอาณาจักรลดลง 7.7% และจะทําให้สหราชอาณาจักรต้องกู้เงินเพิ่มมากขึ้นถึง 8 หมื่นล้านปอนด์ต่อปี ภายในระยะเวลา 10 ปี อย่างไรก็ดี นาย Dominic Raab รัฐมนตรีExiting the European Union ตอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าวว่า การคาดการณ์ในหลาย ๆ กรณี ก็ไม่ได้กลายเป็นจริงตามคาดการณ์ นอกจากนี้ นาง Theresa Mayกล่าวว่า การออกจาก EU ในลักษณะ no deal ดีกว่าการบรรลุข้อตกลงที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย (leaving EU without a deal is better than a bad deal) [su_spacer size=”20″]
การเผยแพร่เอกสารดังกล่าวไม่ได้เป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ภาคเอกชนเท่าใดนักและยังเป็นการส่งสัญญาณว่า อาจมีความเป็นไปได้ที่ทั้งสองฝ่ายอาจไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ โดยสํานักข่าวIndependent รายงานปฏิกิริยาของภาคเอกชนในสหราชอาณาจักรว่า หลังจากที่สหราชอาณาจักรได้เผยแพร่เอกสารฉบับดังกล่าว ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐและยูโร โดยอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ ระดับ 1.2835 ดอลล่าร์สหรัฐ และ 1.1103 ยูโร เมื่อวันที่23 สิงหาคม 2561 ทั้งนี้ การเผยแพร่เอกสารฉบับนี้ ทําให้ภาคเอกชนไม่มั่นใจว่าสหราชอาณาจักรจะสามารถบรรลุข้อตกลงได้ อีกทั้งเอกสารดังกล่าวก็ไม่ได้ให้แนวทางที่ชัดเจนมากเพียงพอสําหรับภาคเอกชน โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่จะได้รับผลกระทบอย่างมาก เพราะไม่ได้มีศักยภาพในการปรับตัวได้มากเท่าบริษัทขนาดใหญ่ [su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ดี ล่าสุดท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับกระแส no dealวันที่ 29 สิงหาคม 2561 นายMichael Barnier หัวหน้าคณะเจรจาของ EU ให้ความเห็นว่า การเจรจาใกล้บรรลุข้อตกลงแล้ว โดยได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า รูปแบบข้อตกลงระหว่าง EU และสหราชอาณาจักรจะเป็นรูปแบบที่แตกต่างจากข้อตกลงที่ EU เคยจัดทํากับประเทศที่สามมาก่อน โดยสหราชอาณาจักรจะต้องยอมรับกฎระเบียบที่เกี่ยวกับระบบตลาดเดียว (Single Market) ของ EU ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินปอนด์กลับมาแข็งค่าอยู่ที่ระดับ 1.30 ดอลล่าร์สหรัฐ [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ ประเทศไทยยังคงต้องติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเจรจาของทั้งสองฝ่ายต่อไป โดยรัฐสภาสหราช อาณาจักรจะมีการประชุมปิดสมัยประชุมฤดูร้อนระหว่างวันที่ 30 กันยายน – 3ตุลาคม 2561 รวมทั้งจะมีการ ประชุม EU Summit ระหว่างวันที่18 – 19 ตุลาคม 2561 ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า อาจจะได้เห็นการบรรลุข้อตกลงระหว่างทั้งสองฝ่าย [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์