ปัจจุบันนักธุรกิจและนักการตลาดสหรัฐฯ กําลังเน้นให้ความสนใจต่อผู้บริโภคที่เกิดหลังปี 2539 ที่เรียกกันว่า Gen Z หรือ Gen-Zers หรือ post-millennials หรือ iGens เนื่องจาก
[su_spacer size=”20″]
(1) มีจํานวนมากกว่าหนึ่งในห้าของประชากรสหรัฐฯ [su_spacer size=”20″]
(2) เป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและชาติพันธุ์มากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ [su_spacer size=”20″]
(3) Pew Research Center ระบุว่าเป็นกลุ่มที่เชี่ยวชาญระบบดิจิตัลอย่างแท้จริงที่มีพฤติกรรมเข้าสู่ระบบออนไลน์ในเกือบจะทันทีทันใด (นักจิตวิทยาหลายรายระบุว่า การใช้เทคโนโลยีของกลุ่มนี้กําลังก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ด้านสุขภาพจิตในสหรัฐฯ) [su_spacer size=”20″]
(4) รายงานของ International Business Machines Corp. และ the National Retail Federation ระบุว่าเกินกว่าร้อยละ 70 ของคนกลุ่มนี้มีอิทธิพลต่อการใช้จ่ายเงินของครอบครัว [su_spacer size=”20″]
(5) การศึกษาพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้โดย Jean Twenge ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่ San Diego State University พบว่า ลักษณะความสัมพันธ์กับเงินของคนกลุ่มนี้ถูกกําหนดโดยประสบการณ์จากเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ มีความคาดหวังและความมั่นใจในระดับต่ำและมีมุมมองในแง่ลบต่อโอกาสทางเศรษฐกิจและหนี้การศึกษาทําให้มีความระมัดระวังสูงมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ (play safe) และให้ความสําคัญเป็นอันดับแรกต่อความมั่งคั่งและวัตถุซึ่งหมายถึงการเห็นความสําคัญต่อคุณค่าภายนอก (เงิน ชื่อเสียง ความร่ำรวย) มากกว่าคุณค่าภายใน (ความสัมพันธ์ ความรู้สึกของชุมซน) [su_spacer size=”20″]
พฤติกรรมของกลุ่ม Gen Z และผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมบางภาค อาทิ [su_spacer size=”20″]
(1) อุตสาหกรรมค้าปลีก: การมีชีวิตอยู่ในโลกดิจิตอลอย่างแท้จริงทําให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้ต้องการประสบการณ์ในการซื้อหาสินค้าที่เป็นแบบเฉพาะบุคคลและที่ขยายออกมาจากระบบดิจิตอล การสํารวจของ Adyen NV บริษัทผู้จัดการระบบการจ่ายเงินทั่ว โลกพบว่าร้อยละ 93 ของ Gen Zers ชอบซื้อหาสินค้าโดยไม่ต้องการความช่วยเหลือจากพนักงานขาย พฤติกรรมนี้คาดว่าจะส่งผลกระทบในทางลบต่อธุรกิจร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (brick-and-mortal stores) เพิ่มมากขึ้นและสร้างความเติบโตต่อเนื่องให้แก่พาณิชย์อิเล็กโทรนิกส์ [su_spacer size=”20″]
(2) อุตสาหกรรมเสื้อผ้า: อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสหรัฐฯ กําลังตกต่ำอย่างมาก ปัจจุบันค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อเสื้อผ้ามีส่วนแบ่งร้อยละ 3.1 ในค่าใช้จ่ายครัวเรือน ลดลงจากร้อยละ 6.2 ในปี 2520 ธุรกิจร้านค้าปลีกเสื้อผ้าที่เป็นแบรนด์เน้นตลาดวัยรุ่นกําลังตกต่ำและ แม้กระทั่งร้านค้าเสื้อผ้าประเภท fast-fashion ที่เป็นตัวทําให้เสื้อผ้ามีราคาถูกมากยิ่งขึ้นยังประสบปัญหาการเติบโตของรายได้ และการกําจัดสินค้าเหลือค้างสต๊อก ทั้งนี้ เป็นเพราะผู้บริโภคกลุ่มอายุน้อย (young customers) เช่น Gen Z เน้นซื้อสินค้าทางออนไลน์ [su_spacer size=”20″]
(3) อุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์: ขณะนี้คนหนุ่มสาวสหรัฐฯนิยมใช้สื่อออนไลน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแสวงหาข้อมูลข่าวสารด้านการเมือง บริษัทสื่อต่าง ๆ เปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิตอลและสื่อสังคมออนไลน์ในการนําเสนอข่าวสารและความบันเทิงต่าง ๆ [su_spacer size=”20″]
(4) การใช้เงินสด: วัยรุ่นอเมริกันมีแนวโน้มใช้เงินสดน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ (ร้อยละ 6 ของการจ่ายชําระค่าสินค้าจะจ่ายชําระเป็นเงินสด) ซอบร้านอาหารที่มีระบบการจ่ายชําระเงินแบบอื่นที่ไม่ใช่ด้วยเงินสดหรือด้วยบัตรเครดิตการ์ดให้เลือก ส่วนใหญ่ของคนอเมริกันอายุต่ำกว่า 30 ปี ชอบใช้การ์ดมากกว่าเงินสดแม้กระทั่งในการจ่ายชําระเงินจํานวนเล็กน้อย (ต่ำกว่า 10 ดอลลาร์สหรัฐที่เป็นอัตราขั้นต่ำที่นิยมใช้สําหรับการจ่ายด้วยบัตรเครดิต) พฤติกรรมนี้ส่งผลให้แอปพลิเคชันที่เป็นระบบการโอนเงิน อาทิ (1) Venmo (2) Google Pay และ (3) Apple Wallet เติบโตอย่างเข้มแข็ง Venmo ที่เป็นการผสมผสานสื่อสังคมเข้ากับบริการจ่ายชําระเงินได้รับความนิยมมากที่สุดในหมู่วัยรุ่น บริษัท Venmo รายงานว่าในระยะ 12 เดือนที่ผ่านมา บริษัทฯ ช่วยอํานวยความสะดวกด้านการโอนจ่ายเงินมากกว่า 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เฉพาะในไตรมาสที่หนึ่งของปีนี้ ซึ่งปริมาณการโอนจ่ายเงินเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50 [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ ระบบ Cashless อาจจะมีปัญหากับกลุ่ม Gen Zers ที่เป็นวัยรุ่นและยังไม่มีบัญชีธนาคาร โดยบริษัท Amazon.com Inc. วางแผนแก้ไขปัญหานี้ด้วยการสร้าง debit cards เรียกว่า Amazon Cash ขึ้นมาตอบสนองพฤติกรรมการใช้ โดยเฉพาะ ซึ่งคาดว่าถ้าแผนการณ์นี้ประสบผลสําเร็จ Amazon.com จะสามารถจับลูกค้ากลุ่มนี้ไว้ได้ในระยะยาว [su_spacer size=”20″]
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่