เมียนมาเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนที่น่าจับตามองในทางเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในปัจจุบัน เมียนมากำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อบูรณาการเศรษฐกิจของประเทศเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของภูมิภาค และของโลก ภายหลังจากที่ปิดประเทศมานานหลายสิบปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐบาลเมียนมาได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษใหม่ ๆ อาทิ เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา (Thilawa SEZ) เขตเศรษฐกิจเจ้าผิว (Kyaukphyu SEZ) และเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (Dawei SEZ) ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติต่างต้องการเข้าไปจับจองพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในเมียนมา [su_spacer size=”20″]
ที่ผ่านมา เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายได้รับการจับตามองจากนักลงทุนไทยอย่างมากเนื่องจากทวายเป็นเมืองที่มีที่ตั้งทางยุทศาสตร์ที่ดี อีกทั้งยังอยู่ไม่ไกลจากไทย หากมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขึ้นมารองรับก็จะยิ่งทำให้การเดินทางมีความสะดวกมากขึ้น ด้วยเหตุดังกล่าวหน่วยงานภาครัฐของเมียนมากำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนนเพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ตัวอย่างเช่น [su_spacer size=”20″]
- เส้นทางถนนจากเมืองทวายไปเมืองมะริด ระยะทาง 260 กม. เป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมโยงเมืองทวายกับเมืองมะริด ซึ่งเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจของตะนาวศรี โดยรัฐบาลท้องถิ่นอยู่ระหว่างการปรับปรุงเส้นทาง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 3 ปี ทั้งนี้ เมืองมะริดเป็นที่ตั้งของท่าเรือหลักของภาคตะนาวศรีนอกเหนือจากท่าเรือทวายและท่าเรือเกาะสอง รวมทั้งมีศักยภาพและโอกาสการลงทุนสูงในด้านการประมง ฟาร์มกุ้ง การท่องเที่ยว และไฟฟ้า [su_spacer size=”20″]
- การปรับปรุงถนน 2 เลน (เชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย กับด่านพุน้ำร้อน จ. กาญจนบุรี) ระยะทาง 146 กม. ใช้เวลาเดินทาง 4 ชม. 30 นาที (และจากด่านพุน้ำร้อนไปกรุงเทพฯ ใช้เวลาอีกประมาณ 2 ชม.) ซึ่งปัจจุบันยังคงเป็นสภาพถนนเป็นดินลูกรัง [su_spacer size=”20″]
นาย Phyo Win Tun รัฐมนตรีวางแผนและการคลัง แห่งรัฐบาลภาคตะนาวศรี และรองประธานคนที่ 1 ของคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (Dawei SEZ Management Committee – DSEZMC) ได้นำคณะสำรวจถนน 2 เลนดังกล่าว เพื่อเตรียมปรับปรุง โดยจะให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อสร้างและปรับปรุง คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี และเมื่อแล้วเสร็จ จะใช้เวลาเดินทางจาก DSEZ ไปกรุงเทพฯ เพียง 4 ชม. ครึ่ง เท่านั้น [su_spacer size=”20″]
ถนนทั้งหมดดังกล่าวเมื่อก่อสร้างปรับปรุงเสร็จสิ้นจะถือเป็นถนนที่จะขยายโอกาสการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับเมียนมาจำนวนมหาศาล ช่วยผลักดันความร่วมมือระหว่างไทยกับเมียนมาด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะนาวศรีที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทยตามแนวชายแดน โดยประชากรร้อยละ 70 ของภาคตะนาวศรีทำธุรกิจด้านยาง น้ำมันปาล์ม เหมืองแร่ และการประมง ส่วนร้อยละ 30 ทำธุรกิจด้านการท่องเที่ยว การค้า และอื่น ๆ ปัจจุบัน มีรถประจำทางระหว่างทวายกับด่านทิกิ-พุน้ำร้อน และสินค้าส่วนใหญ่ที่ภาคตะนาวศรีก็มาจากไทย นอกจากนี้ เมียนมาเตรียมที่จะปรับปรุงท่าอากาศยานตะนาวศรีให้เป็นท่าอากาศยานนานาชาติด้วย เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงทางอากาศระหว่างไทยกับเมียนมา [su_spacer size=”20″]
จากพัฒนาการข้างต้น ภาคตะนาวศรีจึงกำลังได้รับการจับตามองจากนักลงทุนหลายฝ่าย เนื่องจากมีโอกาสทางด้านการค้าการลงทุน และสามารถสร้างความร่วมมือได้ในหลายสาขา อาทิ สาขาไฟฟ้า การประมง การท่องเที่ยว และโลจิสติกส์ โดยผู้ที่สนใจเข้ามาลงทุนสามารถเข้ามาลงทุนได้โดยรัฐบาลท้องถิ่นสามารถอนุมัติโครงการการลงทุนที่มีมูลค่าไม่เกิน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และโครงการไฟฟ้าที่ไม่เกิน 30 MW เข้ามาลงทุนได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้ [su_spacer size=”20″]
- สาขาไฟฟ้า เนื่องจากไฟฟ้าในภาคตะนาวศรียังไม่เพียงพอ และยังมีความต้องการจากทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน หากนักธุรกิจไทยสนใจลงทุนด้านไฟฟ้า ก็สามารถเข้าไปลงทุนได้โดยเฉพาะในพื้นที่ขาดแคลน
- สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว การพัฒนาถนนและโครงสร้างพื้นฐานในอนาคตจะทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น แต่ในปัจจุบันภาคตะนาวศรียังมีโรงแรมที่สามารถรองรับได้ไม่เพียงพอ ทำให้โอกาสการลงทุนทางด้านโรงแรมคุณภาพ 2 – 4 ดาว สามารถเข้าไปลงทุนได้ ขณะนี้ ภาคตะนาวศรีมีโรงแรม 1,437 ห้อง ในขณะที่เดือน ม.ค. – พ.ย. 2560 มีนักท่องเที่ยวจำนวน 134,000 คน นอกจากนี้ รัฐบาลท้องถิ่นได้อนุมัติการลงทุนบนเกาะ 9 แห่งแล้ว จากทั้งหมด 800 เกาะที่มะริดและเกาะสอง จึงเป็นโอกาส
ที่นักลงทุนไทยสามารถพิจารณาเลือกพื้นที่สำหรับการลงทุนได้ ทั้งนี้ ภาคตะนาวศรียังขาดความรู้ด้านการบริหารโรงแรมอยู่มาก จึงถือเป็นโอกาสที่ภาคเอกชนไทยควรเข้าไปสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการในพื้นที่ - สาขาการประมง รัฐบาลภาคตะนาวศรีมีนโยบายอนุรักษ์พันธุ์ปลา รวมทั้งรัฐบาลกลางเมียนมา
มีความต้องการความร่วมมือด้านการประมงกับไทย โดยภาคตะนาวศรีมีฟาร์มกุ้งที่ใช้เทคโนโลยีจากไทยและไทยสามารถเข้าไปลงทุนด้านฟาร์มกุ้งได้ [su_spacer size=”20″]
ปัจจุบัน การค้าชายแดน ณ จุดผ่านปรนพิเศษด่านสิงขร มีมูลค่าการค้าในปี 2560 รวม 510.58 ล้านบาท ซึ่งแม้ว่าจะยังมีไม่มากนัก แต่ก็เพิ่มขึ้นจากปี 2559 มากถึง 2 เท่า โดยมีสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ อาหารทะเล และสินค้าส่งออก ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค วัสดุก่อสร้าง อาหารกระป๋องอาหารสัตว์ ยางมะตอยน้ำ และผลไม้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่สดใสในด้านการค้าและการลงทุนในอนาคต ทั้งนี้ ภาคเอกชนไทยที่สนใจเข้าไปดำเนินการค้าและการลงทุนในภาคตะนาวศรี สามารถขอรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสความร่วมมือด้านธุรกิจได้จากสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมภาคตะนาวศรี (Tanintharyi Region Chembers of Commerce and Industry-TCCI)
ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์
กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
สถานเอกอัครราขทูต ณ กรุงย่างกุ้ง