Wednesday, May 21, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home รู้กฎก่อนรุก

เรียนรู้ พร้อมรับ ปรับตัว กับ 6 มาตรการการนำเข้าอาหารสู่นิวซีแลนด์

16/08/2018
in รู้กฎก่อนรุก
0
เรียนรู้ พร้อมรับ ปรับตัว กับ 6 มาตรการการนำเข้าอาหารสู่นิวซีแลนด์
0
SHARES
491
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

            อุตสาหกรรมอาหารเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทยที่ได้สร้างรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นมูลค่ากว่าหนึ่งล้านล้านบาทในปี 2560 โดยผลิตภัณฑ์อาหารภายใต้คุณภาพของคำว่า “Made in Thailand” หลากหลายประเภทได้ถูกส่งออกไปยังทุกภูมิภาคบนโลกใบนี้ ซึ่งรวมถึงประเทศนิวซีแลนด์ที่ถือเป็นอีกหนึ่งตลาดส่งออกของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ทางการนิวซีแลนด์ได้เพิ่มความเข้มงวดกับการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศมากขึ้น เนื่องด้วยต้องการยกระดับความมั่นคงทางชีวภาพของประเทศและลดความเสี่ยงจากศัตรูพืช สัตว์ และโรคต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน รัฐบาลนิวซีแลนด์จึงประกาศจัดตั้ง 4 หน่วยงานภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมพื้นฐาน (Ministry for Primary Industries) ได้แก่ (1) หน่วยความมั่นคงทางชีวภาพ (2) หน่วยประมง (3) หน่วยความมั่นคงทางอาหาร และ (4) หน่วยป่าไม้ [su_spacer size=”20″]

            หลังจากการตั้งหน่วยงานและการออกนโยบายที่เข้มงวดของนิวซีแลนด์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้เกิดเหตุการณ์สินค้าอาหารไทยบางชนิดถูกทางการนิวซีแลนด์ตีกลับและถูกทำลายทิ้ง เนื่องจากสินค้าชนิดนั้นไม่ผ่านมาตรฐานการนำเข้าอาหารของนิวซีแลนด์ ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยที่เกี่ยวข้องสูญเสียโอกาสการค้าที่สำคัญไป ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการส่งออกสินค้าอาหารไปสู่ประเทศนิวซีแลนด์ ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องรักษามาตรฐานการผลิตให้มีความสะอาด ความปลอดภัย รวมถึงศึกษาขั้นตอนการส่งออกอาหารไปสู่ประเทศนิวซีแลนด์อย่างเคร่งครัด ซึ่งมีหลักสำคัญ 6 ประการ ดังนี้ [su_spacer size=”20″]

  1. ลงทะเบียน [su_spacer size=”20″]

            สำหรับผู้ประกอบการไทยที่ประสงค์ส่งออกสินค้าอาหารมายังประเทศนิวซีแลนด์ ผู้ประกอบการไทยต้องลงทะเบียนเพื่อส่งออกอาหารด้วยตนเอง หรือใช้บริการผู้ประกอบธุรกิจนำเข้า-ส่งออก (นายหน้า) ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับทางการนิวซีแลนด์ไว้แล้ว โดยนายหน้าต้องเป็นผู้ที่มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์เท่านั้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ส่งออกอาหารด้วยตนเองและนายหน้าต้องกรอกเอกสารสมัครสำหรับลูกค้ากับศุลกากรของประเทศนิวซีแลนด์ในชื่อ TRADE SINGLE WINDOW (TSW) ให้เรียบร้อย และผู้ลงทะเบียนกับศุลกากรฯ ต้องต่ออายุการลงทะเบียนรวมทั้งปรับปรุงรายละเอียดช่องทางการติดต่อกลับให้เป็นปัจจุบันเสมอ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยต้องการใช้บริการจากนายหน้า สามารถตรวจสอบรายชื่อนายหน้าได้จากเว็บไซต์ของกระทรวงอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานที่ https://www.mpi.govt.nz/ [su_spacer size=”20″]

  1. ตรวจสอบการอนุญาตการนำเข้าและการจำหน่ายอาหาร [su_spacer size=”20″]

            อาหารบางอย่างที่มีส่วนผสมของพืชหรือสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เช่น งาช้าง ไขปลาวาฬ สมุนไพรจีนบางชนิดที่หาได้ยากในปัจจุบัน เป็นต้น รวมถึงอาหารที่มีความเสี่ยงต่อสภาพแวดล้อม พืชพันธุ์ และสัตว์หรือประชาชนของประเทศนิวซีแลนด์ เช่น อาหารที่สามารถนำเชื้อหรือสิ่งมีชีวิตจากภายนอกประเทศเข้าสู่ประเทศนิวซีแลนด์ได้ ไม่ว่าสินค้านั้นจะอยู่ในรูปแบบอาหารสด อาหารแห้ง อาหารแปรรูป หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร จะถูกพิจารณาเป็นสิ่งที่อาจมีความเสี่ยงต่อระบบนิเวศ ผู้ประกอบการและนายหน้าจะไม่สามารถส่งออกสินค้าเหล่านี้ไปยังประเทศนิวซีแลนด์ได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องตรวจสอบการอนุญาตการนำเข้าและการจำหน่ายอาหารจากบัญชีรายชื่อสินค้านำเข้าต้องห้ามจากทางเว็บไซต์ของกระทรวงอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน [su_spacer size=”20″]

  1. ตรวจสอบกฎและหลักฐานที่จำเป็นและเกี่ยวข้องอื่น ๆ [su_spacer size=”20″]

            สำหรับการเตรียมเอกสารเพื่อผ่านพิธีการศุลกากร ผู้ประกอบการต้องมีหนังสือรับรองความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับพืชและสัตว์ เช่น หนังสือรับรองการจัดการกับแมลงและเมล็ดตกค้างในผักและผลไม้ เป็นต้น และอาจต้องมีหนังสือรับรองความปลอดภัยทางอาหารสำหรับสุขภาพของประชาชนนิวซีแลนด์ด้วย ทั้งนี้ ระเบียบการตรวจสอบได้แสดงไว้ในมาตรฐานด้านสุขอนามัยในการนำเข้า (Import Health Standards – IHS) ตามปรากฏในเว็บไซต์ของกระทรวงอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน [su_spacer size=”20″]

  1. หาแหล่งอาหารที่เหมาะสม [su_spacer size=”20″]

            ผู้ประกอบการจำเป็นต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าอาหารที่จะส่งออกมานั้นมีความปลอดภัยและเหมาะสม โดยต้องมีใบรับรองที่แสดงว่าธุรกิจนั้นปฏิบัติตามโครงการความปลอดภัยด้านอาหารในประเทศนั้น ๆ มีการพิสูจน์ว่าได้ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหาร มีรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ที่แสดงถึงคุณภาพทางเคมี ทางกายภาพ และทางจุลชีววิทยา และมีฉลากสินค้าที่แสดงรายการส่วนประกอบอาหารซึ่งต้องพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ [su_spacer size=”20″]

  1. เก็บอาหารให้ปลอดภัยและเหมาะสม [su_spacer size=”20″]

            ผู้ประกอบการจำเป็นต้องดูแลการเก็บรักษาอาหารให้ปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตในชั้นแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้ายก่อนถึงมือผู้บริโภค ดังนั้น จึงต้องเก็บอาหารไว้ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิเหมาะสมและมีการควบคุมอุณหภูมิอย่างถูกต้อง เก็บอาหารให้พ้นจากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด เก็บอาหารให้ห่างจากผลิตภัณฑ์อื่นที่อาจทำให้อาหารปนเปื้อน นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์ของอาหารต้องมีความสะอาดและปลอดภัย และหากใช้ตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการต้องตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอว่าตู้ได้รับการทำความสะอาดแล้ว โดยผู้ประกอบการอาจขอข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัทขนส่ง หรือไปเยี่ยมชมบริษัทขนส่งนั้นเพื่อตรวจสอบด้วยตัวเอง [su_spacer size=”20″]

  1. จัดเก็บบันทึกและระเบียนสินค้า [su_spacer size=”20″]

            ผู้ประกอบการจำเป็นต้องทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้า และแหล่งที่จำหน่ายสินค้าของตนเองในประเทศนิวซีแลนด์ โดยสามารถเลือกวางระบบเพื่อจดบันทึกระเบียนสินค้าเอง หรือว่าจ้างบุคคลอื่นให้ดำเนินการให้ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการต้องตรวจสอบระบบที่ติดตั้งไว้ตลอดเวลาเพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบจะสามารถรายงานข้อมูลได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว [su_spacer size=”20″]

            ทั้งนี้ การผลิตอาหารในประเภทใด ๆ ก็ตาม ถึงแม้ว่าจะมีกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลมาตรฐานและความปลอดภัยไว้อย่างรัดกุมแล้ว แต่หากผู้ประกอบการไทยสร้างกระบวนการผลิตและกระบวนการควบคุมให้สูงกว่ามาตรฐานโดยทั่วไป เช่น คำนึงถึงความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมในการผลิต มีกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับที่น่าเชื่อถือ และเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก็ย่อมสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของสินค้าไทยให้เกิดขึ้นในทัศนคติของผู้บริโภคได้ ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นตัวเลือกในลำดับต้น ๆ เมื่อผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า [su_spacer size=”20″]

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์

กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน

Previous Post

รังนกกลายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารยอดนิยมในหมู่วัยรุ่นและวัยทํางานชาวจีน

Next Post

ทวาย-มะริด เมืองเศรษฐกิจในอนาคตของนักลงทุนไทยในเมียนมา

mackeyrisen

mackeyrisen

Next Post
ทวาย-มะริด เมืองเศรษฐกิจในอนาคตของนักลงทุนไทยในเมียนมา

ทวาย-มะริด เมืองเศรษฐกิจในอนาคตของนักลงทุนไทยในเมียนมา

Post Views: 1,641

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

19/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X