เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2561 สภาอุตสาหกรรมไต้หวัน (Chinese National Federation of Industries – CNFI) ได้เผยแพร่รายงานเศรษฐกิจ (หนังสือปกขาว) “นโยบายอุตสาหกรรม 2018” โดยนายหวาง เหวินเยียน (EVEH) ประธานสภาอุตสาหกรรมไต้หวัน ระบุว่า นโยบายประชานิยมไม่เป็นมิตรต่อภาคอุตสาหกรรมในไต้หวัน นอกจากนี้ ยังได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับนโยบาย New Southbound ของไต้หวันว่า เป็นนโยบายที่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไต้หวันย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอาเซียน
หนังสือปกขาวดังกล่าวได้เสนอแนะแนวความคิดเห็นรวม 9 ด้าน ได้แก่
(1) ด้านภาษี ควรส่งเสริมการลงทุนนวัตกรรมและละทิ้งนโยบายต่อต้านธุรกิจ
(2) การปันผลกําไรเป็นหุ้นให้แก่พนักงาน ควรจัดเก็บภาษีตามค่าหุ้น (ปัจจุบัน เก็บภาษีปั่นหุ้นจากราคาตลาด แต่รัฐบาลระบุว่า มีมาตรการหักลดหย่อนภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้ว)
(3) นโยบายพลังงาน ควรมีการทบทวนนโยบายพลังงาน
(4) แหล่งน้ำ ขยายการให้คําจํากัดความของการรีไซเคิลน้ำให้กว้างขึ้น และประกาศเขตขาดแคลนน้ำตามเวลาที่กําหนดไว้
(5) ด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมประสิทธิภาพกระบวนการพิจารณาผลกระทบ สิ่งแวดล้อม และอํานาจชี้ขาดควรเป็นของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง
(6) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างช่องแคบไต้หวัน พิจารณาหาทางปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างช่องแคบไต้หวันให้ดีขึ้น
(7) เศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ เร่งการเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรเศรษฐกิจ และการค้าระหว่างประเทศ เช่น CPTPP และ RCEP
(8) ปัญหาเงินเดือนและการตกงาน ผ่อนปรนระเบียบเกี่ยวกับการสนับสนุนนวัตกรรมของเยาวชน รวมทั้งผลักดันการปฏิรูปการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาของภาคอุตสาหกรรม
(9) การปรับตัวสู่ระบบสากลและส่งเสริมวิสัยทัศน์ โดยให้มีการบรรจุให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 หรือภาษาทางการ
นอกจากนี้ รองโฆษกไต้หวัน ยังระบุเพิ่มเติมอีกว่า อัตราการว่างงานในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 17 ปี อัตราการว่างงานของคนหนุ่มสาวก็ต่ำกว่าของคณะผู้นำชุดก่อน การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำอย่างเหมาะสมจึงไม่ใช่ประเด็นที่จะทําให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น และย้ำว่าไต้หวันไม่ได้ต่อต้านภาคธุรกิจ โดยมีการผ่อนปรนกฎหมายที่เกี่ยวกับการลงทุนของภาคเอกชนแล้วกว่า 300 ฉบับ