สืบเนื่องจากผลประชามติของสวิตเซอร์แลนด์ในปี 2557 เรื่องพัฒนาการของการแก้ไขกฎหมายสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อกําหนดให้แรงงานสวิสได้รับการพิจารณาในการจ้างงานเป็นอันดับแรกก่อน ซึ่งเห็นชอบให้จํากัดโควต้าชาวต่างชาติที่มาทํางานและอยู่อาศัยในสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีเป้าหมายหลัก คือ การจํากัดจํานวนประชาชนจากประเทศสมาชิก EU ที่เข้ามาทํางานและอยู่อาศัยในสวิสเป็นจํานวนมาก รัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์จึงจําเป็นต้องดําเนินมาตรการให้สอดคล้องกับผลประชามติดังกล่าว ซึ่งทําให้ส่งผลกระทบต่อความตกลงว่าด้วยการเคลื่อนย้ายประชากรอย่างเสรีระหว่างสวิสเซอร์แลนด์กับ EU ทั้งนี้ เมื่อเดือน ธ.ค. 2560 รัฐสภาสวิสได้มีมติเห็นชอบให้แก้ไขมาตรา 21a ของ Federal Act on Foreign Nationals โดยให้รัฐบาลเป็นผู้กําหนดมาตรการสนับสนุนการจ้างแรงงานชาวสวิสอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น[su_spacer size=”20″]
เมื่อเดือน มี.ค. 2561 รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้แก้ไขกฎหมายแรงงานเพิ่มเติมมาตรา 53a ของ Federal Ordinance on Employment Services and Personnel Lending โดยกําหนดแนวปฏิบัติใหม่สําหรับนายจ้างในกรณีมีตําแหน่งว่างลง เพื่อส่งเสริมการจ้างแรงงานชาวสวิส และให้มาตรการดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1ก.ค. 2561 เป็นต้นไป มีสาระสําคัญ ดังนี้[su_spacer size=”20″]
1 นายจ้างในสวิตเซอร์แลนด์จะต้องแจ้งสำนักงานจัดหางานส่วนภูมิภาค (Regional Employment Agencies: RAV) เมื่อมีตําแหน่งว่างสําหรับการจ้างงานใน 19 สายอาชีพ ซึ่งกําหนดโดย State Secretariat for Economic Affairs (SECO) ประกอบด้วย (1) Agricultural helper (2) Other watchmaking professions (3) Shop Workers and manual workers (4) Other processing and manufacturing professions (5) Cement mixers and cement construction workers (6) Other professions in construction industry (7) Plasters and related activities (8) Insulation Workers (9) Public relations specialists (10) Marketing specialists (11) Messengers and errand runners (12) Telephone operators (13) Receptionists (14) Service staff (15) Maids, lingerie staff and caretakers (16) Kitchen staff (17) House workers (18) Actors และ (19) Undefined manual Workers[su_spacer size=”20″]
การกําหนด 19 สายอาชีพดังกล่าวมีพื้นฐานจากสถิติข้อมูลการว่างงานระหว่างวันที่ 1 เม.ย. 2560 – 30 มี.ค. 2561 ซึ่งพบว่าสายอาชีพดังกล่าวมีอัตราว่างงานมากกว่าร้อยละ 8 โดยมาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ ระหว่างวันที่ 1 ก.ค. 2561 – 30 ธ.ค. 2562 ทั้งนี้ ทางการสวิสเซอร์แลนด์จะพิจารณาทบทวนและอาจมีการปรับเปลี่ยนรายการสายอาชีพภายใต้มาตรการดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งสําหรับช่วงตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2562 เป็นต้นไป[su_spacer size=”20″]
2 เมื่อนายจ้างได้แจ้งตําแหน่งงานที่ว่างลงต่อสำนักงานRAV แล้ว หลังจากนั้นอีก 5 วัน นายจ้างจึงจะสามารถประกาศโฆษณาตําแหน่งงานที่ว่างดังกล่าวในเว็ปไซต์ของบริษัทหรือผ่านบริษัทตัวแทนจัดหางานได้[su_spacer size=”20″]
3 เมื่อสำนักงานRAV ได้รับข้อมูลจากนายจ้างแล้ว สำนักงาน RAV จะส่งประกาศรับสมัครงานดังกล่าวให้แก่ผู้ว่างงานชาวสวิสที่ลงทะเบียนไว้ และจะต้องส่งข้อมูลของผู้สมัครชาวสวิสที่เหมาะสมกับตําแหน่งดังกล่าวให้นายจ้างภายใน 3 วัน[su_spacer size=”20″]
4 อย่างไรก็ดี กฎหมายมิได้กําหนดบังคับให้นายจ้างต้องจ้างชาวสวิสตามที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานRAV และไม่ได้กําหนดให้นายจ้างชี้แจงเหตุผลในการปฏิเสธรับชาวสวิสเข้าทํางาน[su_spacer size=”20″]
5 หากนายจ้างไม่แจ้งตําแหน่งงานที่ว่างต่อ สำนักงาน RAV อาจถูกปรับเป็นจํานวนเงินสูงสุดถึง 40,000 ฟรังก์สวิส[su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขเพิ่มเติมของกฎหมายดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อนายจ้างในภาคอุตสาหกรรมนาฬิกา โรงแรม การก่อสร้าง อาหาร การตลาด งานประชาสัมพันธ์ และภาคการเกษตร ซึ่งจะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการจ้างงานภายใน องค์กร และต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านการบริหารจัดการที่เพิ่มขึ้น สําหรับสาขาอาชีพที่ประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบ คือ ธุรกิจร้านอาหาร โดยผู้ประกอบการร้านอาหารไทยจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายและขั้นตอนการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น หากต้องการจ้างแรงงานจากประเทศไทย ในขณะที่ปัจจุบันก็มีข้อจํากัดจากนโยบายของรัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์ ที่ให้ priority กับการจ้างงานชาวสวิส ตามด้วยชาว EU และEFTA ก่อน การจ้างงานจากประเทศที่ 3 และกฎหมายสวิสกําหนดให้เฉพาะร้านอาหารที่มีขนาดตั้งแต่ 50 ที่นั่งขึ้นไปจึงจะสามารถนําเข้าแรงงานพ่อครัวแม่ครัวจาก ต่างประเทศได้ โดยขึ้นอยู่กับการพิจารณาอนุญาตภายใต้โควต้าของทางการท้องถิ่นระดับรัฐด้วย ทั้งนี้ ปัจจุบันแรงงานไทยในร้านอาหารไทยในสวิสส่วนใหญ่เป็นชาวไทยสัญชาติสวิสหรือชาวไทยที่มีถิ่นพํานักถาวรในสวิสอยู่แล้ว[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น